รวมหัวเรื่องพืชต่างถิ่นกันหน่อยครับ

สามชนิดนี้เป็นตัวรุกหลักๆที่เจอบริเวณไฟไหม้ของลานหินปุ่ม ผู้ใดมีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับมันหรือหาอะไรที่เกี่ยวกับการรุกรานของมันได้ ฝากหน่อยเถิดครับ จะทำเป็นรายงานส่งให้กับทางอุทยานและจะเขียนเป็นบทความเผยแพร่ด้วย

1. Ageratum conyzoides
2. Tridax procumbens
3. Crassocephalum crepidioides

ทั้งหมดเป็นวงศ์ Asteraceae นาจากฝั่งอเมริกาครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

คุณนณณ์ มันมีชื่อไทยไหมครับ หาชื่ออังกฤษ แล้วไม่มีข้อมูลเลย หรือคอมผมเจ๊งหว่า

ความเห็นที่ 2

อ้าวเข้าใจว่าเป้นพืชของไทยเรามาตั้งนาน

ความเห็นที่ 3

ดอกที่ 2 บางแห่งเรียกดอกตีนตุ๊กแก บางแห่งเรียกดอกทหารกล้า ตอนเด็กๆเคยได้ยินคนข้างบ้านเรียกว่าดอกพรุนธนู?

ความเห็นที่ 4

งานใหญ่นะเนี่ย ถึงขั้นต้องศึกษาถึงผลกระทบทางนิเวศในพื้นที่ด้วยเปล่าครับ

แต่ตะขบฝรั่งอร่อยที่ซู๊ด!

ความเห็นที่ 5

ขอวางแปลงศึกษาได้ไหมครับนี่?  แบบทำสองแปลงให้มันใกล้ๆกัน แปลงหนึ่งถกพืชต่างถิ่นออกให้หมดคอยเก็บซ้ำเวลามันขึ้น อีกแปลงปล่อยไว้งั้น อยากรู้ว่ามันจะเป็นอย่างไร

ความเห็นที่ 6

ภาพที่ 2 บ้านผมเรียกว่า  "เหลนนกไซ่" ครับ
คำว่า  "ไซ่"  ในภาคเหนือแปลว่า  "ไซร้"  ครับ  ซึ่งคงต้องใช้เวลา "ไซร้" กันนานพอสมควร  หากเราเดินฝ่าดงมันเข้า  สิ่งที่เราต้อง "ไซร้"  ออกคือ  เมล็ดของมันที่ติดตามเสื้อผ้า  เหมือนหญ้าเจ้าชู้
อย่าเอามาปลูกเลยจะดีกว่าครับ  เพราะแค่เมล็ดมันไม่กี่เมล็ดที่ติดตามเสื้อผ้าของเรา  ก็ทำให้มันสามารถเเพร่พันธุ์ได้อย่างมากมาย  ในเวลาแค่ไม่นาน   มันจัดเป็นวัชพืชที่สำคัญของชวนสวนชาวไร่ในภาคเหนือครับ  ขนาดยาฆ่าหญ้าที่ว่าแรงอาจจะไม่ตายดีนัก  และพร้อมที่จะงอกขึ้นมาใหม่ได้ทุกเมื่อ   ลักษณะลำต้นจะขึ้นเป็นพุ่มครับ  ลำต้นหากอยู่ติดพื้นดินสามารถงอกรากออกมาได้  เป็นปัญหาให้ชวนสาวนชาวไร่แถวบ้านต้องปวดหัวกันครับ  เพราะกำจัดยังไงก็ไม่ยอมหมด  แถมปล่อยไว้ก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ  

ความเห็นที่ 7

เพิ่งเข้ามาดู web นี้ครั้งแรก เห็นชื่อแล้วดีใจ ทีมีผู้สนใจเรื่องนี้รวมตัวกัน

แต่เห็นภาพและชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชคาดเคลื่อน จึงขอออกความเห็นดังนี้
ภาพที่  Ageratum conyzoides สาบแร้งสาบกา แต่ภาพนี้ไม่ชัดเจนนัก อาจเป็น Praxelis clematidea ซึ่งตอนนี้ระบาดไปทั่วประเทศแล้ว เนื่องจากติดไปกับกล้ายางพาราและปาล์ม

ภาพที่ 2 เป็นภาพของ Bidens pilosa L. ชื่อไทย ปืนนกไส้ ก้นจ้ำ
ส่วนภาพที่ 3 คือหญ้าคอนอ่อ

ความเห็นที่ 8

เพิ่งเข้ามาดู web นี้ครั้งแรก เห็นชื่อแล้วดีใจ ทีมีผู้สนใจเรื่องนี้รวมตัวกัน

แต่เห็นภาพและชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชคาดเคลื่อน จึงขอออกความเห็นดังนี้
ภาพที่  Ageratum conyzoides สาบแร้งสาบกา แต่ภาพนี้ไม่ชัดเจนนัก อาจเป็น Praxelis clematidea ซึ่งตอนนี้ระบาดไปทั่วประเทศแล้ว เนื่องจากติดไปกับกล้ายางพาราและปาล์ม

ภาพที่ 2 เป็นภาพของ Bidens pilosa L. ชื่อไทย ปืนนกไส้ ก้นจ้ำ
ส่วนภาพที่ 3 คือหญ้าคอนอ่อ