Skip to main content
เข้าสู่ระบบ
|
สมัครสมาชิก
หมวดหมู่:
- ทั้งหมด -
ดัชนีสิ่งมีชีวิต
พิมพ์คำที่ต้องการค้นหา:
กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
Home
Article
Species Index
Webboard
Documents
Quizzes
หน้าแรก
»
บอร์ดพูดคุย
»
Fish : ปลา
»
ขอชื่่อปลาพวกนี้ด้วยครับ
เลือกหมวดหมู่
All Category : ทั้งหมด
Bird : นก
Crustacean : ปูและกุ้ง
Environment : สิ่งแวดล้อม
Fish : ปลา
Fungi : เห็ดรา
Herp : เลื้อยคลานและครึ่งบกครึ่งน้ำ
Insect : แมลง
Mammal : เลี้ยงลูกด้วยนม
Mollusk : หอย
Other Arthropods : สัตว์ขาข้ออื่นๆ
Plant : พืช
Travel : ท่องเที่ยว
Others : อื่นๆ
ขอชื่่อปลาพวกนี้ด้วยครับ
เขียนโดย Mandarin
Authenticated user
เมื่อ 21 สิงหาคม 2554
มีโอากาสได้ไปลากอวนทับตลิ่งที่อ่ามะนาวมาครับ แต่ปลาบางส่วนซื้อที่ตลาดอ.เมือง ประจวบ
บางส่วนจาก ท่าเทียบเรืออ่าวมะนาว แต่ก็เอามาถามรวมๆเลยละกันครับ
‹ ปลาที่เป็นข่าว
ปลามั่งครับ ›
Fish : ปลา
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
อ่าน 8703 ครั้ง
Comments
ความเห็นที่ 1
เขียนโดย Mandarin
Authenticated user
เมื่อ 21 สิงหาคม 2554
ถ้าใครมี key ของปลาพวกนี้ก็รบกวนขอด้วยนะครับ เผื่อจะได้ลองเอามา ID เอง
ตอนนี้ไม่มีคู่มืิดูประกอบเลย เลยไม่รู้จะ ID ยังดีน่ะครับ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 2
เขียนโดย นณณ์
Authenticated user
เมื่อ 21 สิงหาคม 2554
เซียนปลาทะเลหนีเข้าป่าลาวไปหลายคนเลยครับช่วงนี้....
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 3
เขียนโดย นณณ์
Authenticated user
เมื่อ 21 สิงหาคม 2554
Lutjanus
สองชนิดน่าจะมีภาพใน SI แล้วทั้งสองชนิดลองเทียบดูนะครับ
ปล. หนังสือที่ใช้คีย์ปลาชายฝั่งแบบคร่าวๆได้ดีที่สุดที่ผมมีคือ "ปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองสิเกา จังหวัดตรัง ภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย" ผมซื้อที่ศูนย์หนังสือจุฬาหลายปีแล้ว ไม่รู้ป่านนี้ยังมีอยู่ไหม จัดพิมพ์โดย Nagao Natural Environmental Foundation ครับ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 4
เขียนโดย Leviathan
Authenticated user
เมื่อ 21 สิงหาคม 2554
ยังไม่เข้านี่พี่ ยังอยู่หลายหน่อ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 4.1
เขียนโดย Mandarin
Authenticated user
เมื่อ 21 สิงหาคม 2554
ท่านพี่มีคีย์ให้น้องบ้างเปล่าครับบ?
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 4.1.1
เขียนโดย Leviathan
Authenticated user
เมื่อ 22 สิงหาคม 2554
มีแต่ในแนวปะการัง พวกนี้ไม่เคยดู
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 5
เขียนโดย ไอ้ลูกทุ่ง
Authenticated user
เมื่อ 22 สิงหาคม 2554
ปลาครีบกางสวยดีจัง ทำไงครับเนี่ย
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 5.1
เขียนโดย aqueous_andaman
Authenticated user
เมื่อ 22 สิงหาคม 2554
ฟอร์มาลีนเซ็ทเอาไงครับพี่ท่าน ^^
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 5.2
เขียนโดย Mandarin
Authenticated user
เมื่อ 22 สิงหาคม 2554
เซ็ตปลาบนโฟมก่อนครับ คือเอาปลามาวางบนแผ่นโฟม แล้วใช้เข็มหมุดดันก้านครีบให้กางออก
แล้วก็ค้ำเอาไว้ จากนั้นก็เอาฟอร์มาลีนมาทาที่ก้านครีบกับฐานครีบ ทิ้งไว้ซัก 10 นาที ครีบปลาก็จะ
แข็งค้างอยู่ในท่าที่เราเซ็ตไว้ครับ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 6
เขียนโดย ypun
Authenticated user
เมื่อ 22 สิงหาคม 2554
1. ปลาเห็ดโคนลาย
Sillago Aeolus
2.ปลากระบอก?
3. ปลาขี้จีน
Ambassis urotaenia
4
. Lutjanus lutjanus
5. ปลากระดี่ทะเล
Pempheris moluca
(Cuvier) Moluccan Sweeper
6.
Lutjanus russelli
7. ปลาสีกุนทองตาโต
Selar crumenophthalaus
8. ปลาข้างลาย
Terapon theraps
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 6.1
เขียนโดย Mandarin
Authenticated user
เมื่อ 22 สิงหาคม 2554
ผมได้แบบนี้นะครับ
ตัวแรก รู้แค่ว่าเป็น
Sillago
sp.
ตัวที่ 2
Liza vaigiensis
ตัวที่ 3 ยังไม่ได้
ตัวที่ 4 เป็น
Lutjanus lutjanus
เหมือนกัน
ตัวที่ 5 ผมได้เป็น
Pempheris oualensis
ตัวที่ 6 ผมดูเป็น
Lutjanus johnii
น่ะครับ รบกวนขอจุดจำแนกระหว่าง 2 ตัวนี้ได้ไหมครับ ผมดูไม่ออกเลย
สองตัวหลังนี่รู้แต่ชื่อไทยที่ชาวบ้านเรียก ซึ่งก็เหมือนกับที่คุณ ypun บอกครับ แต่ชื่อวิทย์นี่บอดสนิท
ผมดูใน Fishbase.org ได้มาเท่านี้เองครับ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 7
เขียนโดย TA (ไม่ได้ล๊อคอิน)
Anonymous user
เมื่อ 22 สิงหาคม 2554
(
IP:
58.137.231.207)
เรียน คุณ
Mandarin
ในวิชาเรียนและในห้องเรียนก็มีหนังสือที่ใช้ได้นะครับ
ผมว่าการทำรายงานควรจะพยายามใช้เอกสารด้วยตัวเองจะดีที่สุดครับ
(ความเห็นส่วนตัว)
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 7.1
เขียนโดย Mandarin
Authenticated user
เมื่อ 22 สิงหาคม 2554
ครับผม
ผมได้ทำเองในส่วนที่ผมสามารถแล้วครับ
ที่ผมเข้ามาถาม เพราะต้องการตรวจทานว่า ปลาที่ผมจำแนกด้วยตัวเองนั้น ผมไอดีได้ถูกต้องหรือไม่
และถ้าผมจำแนกผิด ก็จะได้สอบถามผู้รู้ถึงจุดจำแนกว่ามีข้อสังเกตอย่างไร จะได้ถกกัน และจำจุดสังเกต
เหล่านั้นไว้เป็นความรู้ต่อไป
และในต้นกระทู้ผมก็บอกไว้ว่าต้องการจะหาเอกสารเพื่อนำไปจำแนกชนิดด้วยตัวเองอยู่แล้วครับ
ด้วยความเค้ารพ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 7.1.1
เขียนโดย TA (ไม่ได้ล๊อคอิน)
Anonymous user
เมื่อ 22 สิงหาคม 2554
(
IP:
58.137.231.207)
ครับผม
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 8
เขียนโดย coneman
Authenticated user
เมื่อ 22 สิงหาคม 2554
ก็ขอให้กำลังใจกับน้อง Mandarin ในการพยายามค้นคว้า และค้นหาข้อมูลต่อไปครับ อยากให้จดจำกระบวนการเหล่านี้ไว้ ว่านี่คือกระบวนการศึกษาที่ถูกต้องการจะระบุชนิดกลุ่มสัตว์ใดๆนั้นจะต้องใช้
ลักษณะเป็นตัวบอกกลุ่มสัตว์ หรือมีเหตุผลว่าที่ระบุว่าเป็นชนิดนั้นๆเพราะอะไร มันก็จะนำไปสู่ความ
เห็นทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยโดยมีเหตุผล ก็จะนำไปสู่การต่อยอดความรู้ของเราต่อไป คราวหน้า
เอารูปลงแล้วใส่ข้อมูลที่เราหาได้พร้อมใส่เหตุผลไว้ด้วยเลย จะได้ไม่เหมือนเอาการบ้านมาถาม
การศึกษาทางอนุกรมวิธานเอกสารเป็นสิ่งสำคัญมากยิ่งมีมากยิ่งได้เปรียบ อย่างตัวที่ 6 ที่น้องบอกว่า
หาความต่างไม่ได้ ลองหาเอกสารคำบรรยายของเจ้าสองตัวนี้มาเทียบกันดูรับรองว่าจะเจอข้อแตกต่าง
แน่นอน และถ้าให้แน่ใจยิ่งขึ้นหรืออยากเห็นชัดเจนก็ถือปลาเข้ามาเปรียบเทียบกับตัวอย่างอ้างอิงใน
museum เลย รับรองได้คำตอบแน่นอนครับ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความเห็นที่ 9
เขียนโดย สมหมาย
Authenticated user
เมื่อ 31 สิงหาคม 2554
ทีแรกนั่งดูอยู่ คุ้นๆเหมือนกับว่าเป็นนักเรียนวิชาิอนุกรมวิธานของปลาก็เลยไม่ตอบ ตกลงคุณเจ้าของกระทู้ต้องการเอกสารเพื่อช่วยจำแนกหรือว่าต้องการเอกสารทีี่มีรูปปลาแล้วชี้เปรี้ยงไปเลยว่ามันเป็นชนิดอะไร
จริง ๆ คุณ coneman ก็ได้บอกเคล็ดวิชาไปแล้วว่า มันต้องเทียบตัวอย่าง สมัยก่อนที่ผมเรียนวิชานี้ เอารูปไปถามพระอาจารย์รุ่นเก่าๆ ท่านก็บอกอย่างเดียวว่า ตัวอย่างอยู่ไหน หรือได้ใช้ key จนแยกได้ชนิดออกมาแล้ว ยังโดนถามย้อนไปอีกว่าคุณแน่ใจเหรอว่ามันเป็นอย่างที่คุณแยก คุณได้ตรวจกับ description อย่างถ้วนถี่แล้วหรือ? มันเป็นกรรมที่สมัยนั้นมีห้อง lab มีแต่หนังสือคู่มือวิเคราะห์พรรณปลาที่ไม่ีมีรูปอะไร แยกได้ปลาตัวไหนก็ต้องไปดุเทียบกับคำบรรยายจาก text ในห้องสมุด ผิดกับสมัยนี้มี fishbase มี SI ในสยามเอ็นซิส และมีผู้ชำนาญการในเวปนี้ตอบให้อย่างรวดเร็ว
ิอย่างที่คุณ TA บอกว่าในห้อง lab นั้นมีเอกสารเืพื่อช่วยจำแนกไว้เยอะ โดยเฉพาะชุด the Living Marine Resources of Western Central Pacific ที่มี key ให้อย่างละเอียด แต่มันเป็นภาษาอังกฤษเ่ท่านั้น (ซี่งมันเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กไทยทั่วๆไป)
เอาหละ คนแก่บ่นมากเกินไปแล้ว ขอเฉลยให้แล้วกัน
ตัวแรก รู้แค่ว่าเป็น
Sillago
sp.
- คุณ ypun ตอบถูกมันเป็น
S. aeolus
เห็ดโคนลาย เมื่อก่อน เราเคยใช้ชื่อว่า
Sillago maculatus
(Key อยู่ในหนังสือ ที่พูดถึงข้างบน volume 4 หน้า 2615-6)
ตัวที่ 2
Liza vaigiensis
-
อันนี้ถูก คุณบอกได้ไหมว่าลักษณะเด่นของมันคืออะไร มันเป็นปลากระบอกท่อนใต้ เป็นชนิดเดียวที่มีครีบอก และครีบหลังเป็นสีดำ
ตัวที่ 3 ยังไม่ได้
คุณ ypun ถูก คิดว่าเป็นแค่ สกุล Ambassis เท่านั้นส่วนชนิดต้องดูจากตัวอย่างอีกที เพราะว่าภาพถ่ายไม่สามารถแสดงให้เห็นหนามที่ตาได้อย่างเด่นชัด
(หนังสือ เล่มเดิม volume 4 หน้า 2434-35)
ตัวที่ 4 เป็น
Lutjanus lutjanus
เหมือนกัน น่าจะถูก บอกได้ไหม อะไรที่ทำให้มั่นใจว่าเป็นปลาชนิดนี้?
(หนังสือชุดเดิม แต่เป็น volume 5 หน้า 2842-2849 สกุล Lutjanus อยู่หน้าท้ายๆ)
ตัวที่ 5 ผมได้เป็น
Pempheris oualensis
คิดว่าถูกตัวนี้เป็นปลาที่พบได้ง่ายชนิดหนึึ่ง วิธีแยกชนิดดูจากหนังสือชุดเดิม volume 5 หน้า3202-04)
ตัวที่ 6 ผมดูเป็น
Lutjanus johnii
น่ะครับ รบกวนขอจุดจำแนกระหว่าง 2 ตัวนี้ได้ไหมครับ ผมดูไม่ออกเลย
วิธีดูให้ดูว่า แนวเส้นข้างลำตัวว่าผ่านจุดดำตรงส่วนไหน ตรงกลางหรือค่อนลงมาทางด้านล่าง ส่วนคีย์ ดูได้เหมือนกับตัวที่4 ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือเวลาทำงานพวกนี้ ปลาสกุลเดียวกันควรเอามาไว้ใกล้ๆ กัน เวลาเปิดคีย์จะได้จำได้ง่ายว่ามันต่างกันอย่างไร
ตัวที่ 7 และ 8 คุณ ypun ถูกนะครับ ส่วน key
ตัวที่ 7 ดูจากหนังสือชุดเดิม volume 4 หน้า2672-74 ถ้าแยกจากคีย์จะยากมาก เพราะว่ามันจะซับซ้อนและมีปลามากชนิด ตัวนี้มีข้อเด่นตรงที่ตาโต (ชื่อสามัญคือสีกุนตาพอง เป็นชื่อที่บอกลักษณะเด่นของมันในตัว)
ตัวที่ 8 หนังสือขุดเดิม volume 5 หน้า่ 3306 ลักษณะเด่นดูที่ลาย ตัวนี้ลายตรง มีคู่แฝดอีกชนิดลายโค้ง...อีกอย่างตัวนี้ชื่อสกุลจำได้ง่ายเพราะว่าน่าจะเป็นคนไทย เพราะชื่อสกุลแอบอ่านได้ว่า ที-ละ-พน (ธีระพล-ชื่อคน)
แสดงว่าตอนอยู่ในห้องเรียนไม่ค่อยหยิบปลามาแล้วใช้คีย์ค่อยๆ จำแนกไปจนถึงชนิด ทำให้ปลาจำปลาง่าย ๆพวกนี้ไม่ค่อยได้ หรือไม่ก็มัวแต่ไปพะวงกับการวาดรูปลายเส้นอยู่ เพราะกลัวว่าเดี๋ยวจะโดนอาจารย์ประจำวิชาดุเอาว่า ลูกสาวท่านวาดได้งดงามกว่าพวกคุณ
ล็อกอิน
หรือ
ลงทะเบียน
เพื่อแสดงความคิดเห็น
Comments
ความเห็นที่ 1
ตอนนี้ไม่มีคู่มืิดูประกอบเลย เลยไม่รู้จะ ID ยังดีน่ะครับ
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
ปล. หนังสือที่ใช้คีย์ปลาชายฝั่งแบบคร่าวๆได้ดีที่สุดที่ผมมีคือ "ปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองสิเกา จังหวัดตรัง ภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย" ผมซื้อที่ศูนย์หนังสือจุฬาหลายปีแล้ว ไม่รู้ป่านนี้ยังมีอยู่ไหม จัดพิมพ์โดย Nagao Natural Environmental Foundation ครับ
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 4.1
ความเห็นที่ 4.1.1
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 5.1
ความเห็นที่ 5.2
แล้วก็ค้ำเอาไว้ จากนั้นก็เอาฟอร์มาลีนมาทาที่ก้านครีบกับฐานครีบ ทิ้งไว้ซัก 10 นาที ครีบปลาก็จะ
แข็งค้างอยู่ในท่าที่เราเซ็ตไว้ครับ
ความเห็นที่ 6
2.ปลากระบอก?
3. ปลาขี้จีน Ambassis urotaenia
4. Lutjanus lutjanus
5. ปลากระดี่ทะเล Pempheris moluca (Cuvier) Moluccan Sweeper
6. Lutjanus russelli
7. ปลาสีกุนทองตาโต Selar crumenophthalaus
8. ปลาข้างลาย Terapon theraps
ความเห็นที่ 6.1
ตัวแรก รู้แค่ว่าเป็น Sillago sp.
ตัวที่ 2 Liza vaigiensis
ตัวที่ 3 ยังไม่ได้
ตัวที่ 4 เป็น Lutjanus lutjanus เหมือนกัน
ตัวที่ 5 ผมได้เป็น Pempheris oualensis
ตัวที่ 6 ผมดูเป็น Lutjanus johnii น่ะครับ รบกวนขอจุดจำแนกระหว่าง 2 ตัวนี้ได้ไหมครับ ผมดูไม่ออกเลย
สองตัวหลังนี่รู้แต่ชื่อไทยที่ชาวบ้านเรียก ซึ่งก็เหมือนกับที่คุณ ypun บอกครับ แต่ชื่อวิทย์นี่บอดสนิท
ผมดูใน Fishbase.org ได้มาเท่านี้เองครับ
ความเห็นที่ 7
ในวิชาเรียนและในห้องเรียนก็มีหนังสือที่ใช้ได้นะครับ
ผมว่าการทำรายงานควรจะพยายามใช้เอกสารด้วยตัวเองจะดีที่สุดครับ
(ความเห็นส่วนตัว)
ความเห็นที่ 7.1
ผมได้ทำเองในส่วนที่ผมสามารถแล้วครับ
ที่ผมเข้ามาถาม เพราะต้องการตรวจทานว่า ปลาที่ผมจำแนกด้วยตัวเองนั้น ผมไอดีได้ถูกต้องหรือไม่
และถ้าผมจำแนกผิด ก็จะได้สอบถามผู้รู้ถึงจุดจำแนกว่ามีข้อสังเกตอย่างไร จะได้ถกกัน และจำจุดสังเกต
เหล่านั้นไว้เป็นความรู้ต่อไป
และในต้นกระทู้ผมก็บอกไว้ว่าต้องการจะหาเอกสารเพื่อนำไปจำแนกชนิดด้วยตัวเองอยู่แล้วครับ
ด้วยความเค้ารพ
ความเห็นที่ 7.1.1
ความเห็นที่ 8
ลักษณะเป็นตัวบอกกลุ่มสัตว์ หรือมีเหตุผลว่าที่ระบุว่าเป็นชนิดนั้นๆเพราะอะไร มันก็จะนำไปสู่ความ
เห็นทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยโดยมีเหตุผล ก็จะนำไปสู่การต่อยอดความรู้ของเราต่อไป คราวหน้า
เอารูปลงแล้วใส่ข้อมูลที่เราหาได้พร้อมใส่เหตุผลไว้ด้วยเลย จะได้ไม่เหมือนเอาการบ้านมาถาม
การศึกษาทางอนุกรมวิธานเอกสารเป็นสิ่งสำคัญมากยิ่งมีมากยิ่งได้เปรียบ อย่างตัวที่ 6 ที่น้องบอกว่า
หาความต่างไม่ได้ ลองหาเอกสารคำบรรยายของเจ้าสองตัวนี้มาเทียบกันดูรับรองว่าจะเจอข้อแตกต่าง
แน่นอน และถ้าให้แน่ใจยิ่งขึ้นหรืออยากเห็นชัดเจนก็ถือปลาเข้ามาเปรียบเทียบกับตัวอย่างอ้างอิงใน
museum เลย รับรองได้คำตอบแน่นอนครับ
ความเห็นที่ 9
จริง ๆ คุณ coneman ก็ได้บอกเคล็ดวิชาไปแล้วว่า มันต้องเทียบตัวอย่าง สมัยก่อนที่ผมเรียนวิชานี้ เอารูปไปถามพระอาจารย์รุ่นเก่าๆ ท่านก็บอกอย่างเดียวว่า ตัวอย่างอยู่ไหน หรือได้ใช้ key จนแยกได้ชนิดออกมาแล้ว ยังโดนถามย้อนไปอีกว่าคุณแน่ใจเหรอว่ามันเป็นอย่างที่คุณแยก คุณได้ตรวจกับ description อย่างถ้วนถี่แล้วหรือ? มันเป็นกรรมที่สมัยนั้นมีห้อง lab มีแต่หนังสือคู่มือวิเคราะห์พรรณปลาที่ไม่ีมีรูปอะไร แยกได้ปลาตัวไหนก็ต้องไปดุเทียบกับคำบรรยายจาก text ในห้องสมุด ผิดกับสมัยนี้มี fishbase มี SI ในสยามเอ็นซิส และมีผู้ชำนาญการในเวปนี้ตอบให้อย่างรวดเร็ว
ิอย่างที่คุณ TA บอกว่าในห้อง lab นั้นมีเอกสารเืพื่อช่วยจำแนกไว้เยอะ โดยเฉพาะชุด the Living Marine Resources of Western Central Pacific ที่มี key ให้อย่างละเอียด แต่มันเป็นภาษาอังกฤษเ่ท่านั้น (ซี่งมันเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กไทยทั่วๆไป)
เอาหละ คนแก่บ่นมากเกินไปแล้ว ขอเฉลยให้แล้วกัน
ตัวแรก รู้แค่ว่าเป็น Sillago sp. - คุณ ypun ตอบถูกมันเป็น S. aeolus เห็ดโคนลาย เมื่อก่อน เราเคยใช้ชื่อว่า Sillago maculatus
(Key อยู่ในหนังสือ ที่พูดถึงข้างบน volume 4 หน้า 2615-6)
ตัวที่ 2 Liza vaigiensis- อันนี้ถูก คุณบอกได้ไหมว่าลักษณะเด่นของมันคืออะไร มันเป็นปลากระบอกท่อนใต้ เป็นชนิดเดียวที่มีครีบอก และครีบหลังเป็นสีดำ
ตัวที่ 3 ยังไม่ได้ คุณ ypun ถูก คิดว่าเป็นแค่ สกุล Ambassis เท่านั้นส่วนชนิดต้องดูจากตัวอย่างอีกที เพราะว่าภาพถ่ายไม่สามารถแสดงให้เห็นหนามที่ตาได้อย่างเด่นชัด
(หนังสือ เล่มเดิม volume 4 หน้า 2434-35)
ตัวที่ 4 เป็น Lutjanus lutjanus เหมือนกัน น่าจะถูก บอกได้ไหม อะไรที่ทำให้มั่นใจว่าเป็นปลาชนิดนี้?
(หนังสือชุดเดิม แต่เป็น volume 5 หน้า 2842-2849 สกุล Lutjanus อยู่หน้าท้ายๆ)
ตัวที่ 5 ผมได้เป็น Pempheris oualensis คิดว่าถูกตัวนี้เป็นปลาที่พบได้ง่ายชนิดหนึึ่ง วิธีแยกชนิดดูจากหนังสือชุดเดิม volume 5 หน้า3202-04)
ตัวที่ 6 ผมดูเป็น Lutjanus johnii น่ะครับ รบกวนขอจุดจำแนกระหว่าง 2 ตัวนี้ได้ไหมครับ ผมดูไม่ออกเลย
วิธีดูให้ดูว่า แนวเส้นข้างลำตัวว่าผ่านจุดดำตรงส่วนไหน ตรงกลางหรือค่อนลงมาทางด้านล่าง ส่วนคีย์ ดูได้เหมือนกับตัวที่4 ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือเวลาทำงานพวกนี้ ปลาสกุลเดียวกันควรเอามาไว้ใกล้ๆ กัน เวลาเปิดคีย์จะได้จำได้ง่ายว่ามันต่างกันอย่างไร
ตัวที่ 7 และ 8 คุณ ypun ถูกนะครับ ส่วน key
ตัวที่ 7 ดูจากหนังสือชุดเดิม volume 4 หน้า2672-74 ถ้าแยกจากคีย์จะยากมาก เพราะว่ามันจะซับซ้อนและมีปลามากชนิด ตัวนี้มีข้อเด่นตรงที่ตาโต (ชื่อสามัญคือสีกุนตาพอง เป็นชื่อที่บอกลักษณะเด่นของมันในตัว)
ตัวที่ 8 หนังสือขุดเดิม volume 5 หน้า่ 3306 ลักษณะเด่นดูที่ลาย ตัวนี้ลายตรง มีคู่แฝดอีกชนิดลายโค้ง...อีกอย่างตัวนี้ชื่อสกุลจำได้ง่ายเพราะว่าน่าจะเป็นคนไทย เพราะชื่อสกุลแอบอ่านได้ว่า ที-ละ-พน (ธีระพล-ชื่อคน)
แสดงว่าตอนอยู่ในห้องเรียนไม่ค่อยหยิบปลามาแล้วใช้คีย์ค่อยๆ จำแนกไปจนถึงชนิด ทำให้ปลาจำปลาง่าย ๆพวกนี้ไม่ค่อยได้ หรือไม่ก็มัวแต่ไปพะวงกับการวาดรูปลายเส้นอยู่ เพราะกลัวว่าเดี๋ยวจะโดนอาจารย์ประจำวิชาดุเอาว่า ลูกสาวท่านวาดได้งดงามกว่าพวกคุณ