ปลาตูหนาที่คลองท่อม

พบปลาตูหนาในธรรมชาติในคลองที่ทุ่งบางเตียว (สระมรกต) คลองท่อม จังหวัดกระบี่ เห็น 2 ตัว ยาวประมาณ 50 ซม.ออกมากินเศษอาหาร...เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์เขานอจู้จี้บอกว่ามีประมาณ 5 ตัว บางตัวโตเท่าแขนยาวเป็นเมตร

Comments

ความเห็นที่ 1

เคยอ่านพบว่ามีคนสงสัยว่าปลาตูหนา คำว่า ตูหนา มีที่มาอย่างไร ที่จริงคำนี้เป็นคำเก่าแก่มากในภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน  Proto Austronesian   *tuNa คำแปล freshwater eel คนไทยคงรับคำนี้ผ่านภาษามาเลย์มาอีกต่อหนึ่ง tuna คำแปล name of a mud-snake or eel with yellowish body ไม่แปลกที่เราจะยืมคำจากภาษาอื่นมาเรียกในสิ่งที่เราไม่เคยรู้จัก เพราะแต่ก่อนเรารู้จักแต่ปลาไหลนา ปลาหลด

ความเห็นที่ 2

เสียดายตอนไปไม่รู้ว่ามีครับ 

ความเห็นที่ 3

จะมีคนเอาไปกินไหมเนี่ย

ความเห็นที่ 4

ตอนไปคลองท่อมเมื่อสองปีก่อนก็ไม่เจอเหมือนกันครับ เสียดาย ๆ :)

ความเห็นที่ 5

วันก่อนพึ่งดูรายการ Monster Fish ตอน ปลาไหลยักษ์ของ New Zealand เองครับ ตัวเดียวกันมั้ยครับ (ภาพจากอินเตอเน็ท)
57.jpg

ความเห็นที่ 6

It is Anguilla bengalensis

ความเห็นที่ 7

อย่าให้ใครได้รู้ มีหวังโดนจับแน่ เขตรักษาพันธุ์ก็เถอะ

ความเห็นที่ 8

ใช่หรือเปล่าครับว่าปลาตูหนาเป็นปลาสองน้ำ

ความเห็นที่ 9

ไข่วางในน้ำจืดแล้วลูกปลาออกไปเติบโตในทะเล เมื่อโตแล้วจึงกลับเข้ามาอาศัยในน้ำจืดครับ

ความเห็นที่ 10

คุณนณณ์ครับ บรรดาครอบครัวตูหนา รวมตัวกันเกี้ยวพา และ สืบพันธุ์กันกลางมหาสมุทรครับ

ผลิตผลตัวน้อยๆ ล่องลอยตามกระแสน้ำ Leptocephalus larva เข้ามาบริเวณชายฝั่ง ว่ายเล่น หากินจนแรกรุ่นตามป่าโกงกาง บางตัวก็ผจญภัยไปตามแม่น้ำกว่าพันกิโลจากทะเลครับ

ความเห็นที่ 11

มีความเห็นเหมือนคุณ Plateen ครับ ที่ว่าปลาตูหนานั้น เป็นส่วนกลับอย่างสมบูรณ์ของปลาแซลมอน ที่อพยพเข้ามาผสมพันธุ์และวางไข่ในน้ำจืด แล้วตัวอ่อนอพยพตามน้ำลงไปเติบโตในทะเลซึ่งมีศัทพ์เทคเนิคเรียกว่า Anadromous fish

ส่วนกลุ่มปลาตูหนา ตัวเต็มวัยจะอพยพไปวางไข่ในทะเล แล้วตัวอ่อนจะล่องลอยกลับเข้าไปอยู่ในน้ำจืด แล้วค่อยๆ อพยพตามต้นน้ำเติบโตไปเรื่อยๆ บางชนิดก็เข้ามาอยู่ในแหล่งน้ำจืดได้ลึกมาก เช่นปลาสะแงะ ที่พบแถวแม่ฮ่องสอน ศัพท์เทคนิคของปลากลุ่มนี้คือCatadromous fish

พูดถึง Leptocephalus จำได้ว่า ตอนเรียนวิชาลูกปลาน้อย อาจารย์เล่าให้ฟังว่าที่ญี่ปุ่น มีเทศกาลมาช้อนลูกปลาไหล ที่เขาเรียกว่าอุนาหงิ ที่บริเวณปากแม่น้ำ โดยลูกปลาบางตัวที่ช้อนได้ยังเป็นลูกผสมที่ครึ่งตัวท่อนหน้ากลมเป็นปลาไหล ท่อนหลังยังบางใสเป็นแบบ leptocephalus larva อยู่ และที่แปลกมากๆ คือ มีปลา leptocephalus ที่ปีนั้นมันไม่สามารถ metamorphosis ไปเป็นปลาไหลได้มันก็จะยังคงอยู่ในทะเลและจะมีตัวโตมากกว่าปกติถึงสองเท่า แต่พอปีถัดไปมันกลับมา metamorphosis ที่ปากแม่น้ำเป็นลูกปลาไหลกลับมีขนาดเท่ากับปลากับปลาที่เกิดในปีนั้น

ความเห็นที่ 12

พวกปลาสองน้ำนี้ น่าสนใจเรื่องระบบต่างๆ ของมันยิ่งนัก ^^

ความเห็นที่ 13


มองในแง่เศรษฐกิจ หากสามารถผสมเทียมทำเป็นฟาร์มได้ ก็จะดีไม่น้อยนะครับ
อาจจะเป้นแหล่งโปรตีนรสชาดดีก็ได้

ความเห็นที่ 14

ขออภัยครับ สับสนเสียแล้ว