Species : Kalophrynus interlineatus

Detail ชื่อไทย: อึ่งปุ่มหลังลาย
ชื่อสามัญ: Spotted narrow-mouthed frog
ชื่อวิทยาศาสตร์: Kalophrynus interlineatus (Blyth, 1855)
ขนาดเมื่อโตเต็มวัย: 40 มม.
การกระจายพันธุ์: พบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่จ.ชุมพรลงไป และพบได้ตามเกาะในฝั่งตะวันออก เช่น เกาะช้าง เกาะกูด
การจำแนกชนิด: อึ่งขนาดเล็ก จงอยปากสั้น กลม มน จมูกมีติ่งแหลมเล็กน้อย รูจมูกอยู่ด้านบน เมื่อเทียบกับ อึ่งปุ่มมลายู แผ่นหูเป็นรูปไข่แนวตั้ง พังพืดที่นิ้วเท้าหลังนิ้วที่ 4 ขึงน้อยกว่าของอึ่งปุ่มมลายู ประมาณเท่านึง ลำตัวอ้วนกลม ตามลำตัวมีตุ่มเล็กๆกระจายทั่ว ท้องสีเทาหรือดำ ลำตัวมีหลายสี เช่น เทา เหลือง น้ำตาล อาจมีหรือไม่มี ลายขีดหรือ จุดบนหลัง ถุงเสียงใต้คางของเพศผู้มีสีดำ และมีลายขีดพาดไปจนถึงท้อง เอวอาจมีจุดสีดำ 1 คู่ คล้ายตา 
ถิ่นอาศัย: ทุ่งหญ้าตามพื้นที่เกษตรกรรม ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบที่ราบต่ำ ป่าพรุ ป่าดิบแล้ง ไปจนถึงป่าดิบเขาความสูงกว่า 1000 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ข้อมูลทั่วไป: ลูกอ๊อดมีลักษณะตัวสั้นมนกลม หางยาว มักพบในแอ่งน้ำขังนิ่ง มีเศษใบไม้ทับถมแน่น เพศผู้มักออกมาส่งเสียงร้องหลังจากฝนตกหนัก เสียงคล้าย อึ่งปุ่มมลายู หากถูกรบกวน อึ่งชนิดนี้จะโก่งบั้นท้ายและปล่อยยางเหนียวสีขาวขุ่นออกมาตามตัว มีคุณสมบัติคล้ายกาว เมื่อถูกอากาศภายนอกจะแข็งทันที

อ้างอิง : Matsui M.  Distinct Specific Status of Kalophrynus pleurostigma interlineatus (Anura,Microhylidae) 1996
ภาพประกอบ: