เข้าพรรษาดอกขาวแห่งสระบุรี

 

“ไปดูกันพี่” เจ้าปาร์ค เพื่อนรุ่นน้องชวนผม หลังจากที่รู้ว่าผมกำลังศึกษาสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นของจังหวัด สระบุรี “ผมพอจะรู้หมายอยู่ ถ้าไม่รีบไปดูผมเกรงว่ามันจะหมดซ่ะก่อน มันไม่ได้อยู่บนเขานะครับ มันอยู่บนพื้นที่ราบๆนี่แหล่ะ” ปาร์คเล่าต่อ จึงเป็นเหตุให้วันนี้เราขับรถกันมาถึงสระบุรี ปาร์คนำทางลัดเลาะไปบนถนนเล็กๆ บริเวณนี้เต็มไปด้วยเขาหินปูน

ผมมาครั้งแรก ก็ขับไปเรื่อยแหล่ะพี่ รู้แต่ว่าขึ้นอยู่แถวนี้” ปาร์คพูดถึง ต้นไม้เป้าหมายของเรา  “พอขับ รถมาถึงตรงนี้ก็เจอบ้านหลังนี้แหล่ะ เห็นเค้าปลูก ไว้หน้าบ้านเป็นดงเลย แต่ผม ลงไปถามว่าจะหาดูในธรรมชาติได้ที่ไหน เค้ากลับไม่บอก คงกลัวว่าผมจะขุดไป ขายกระมัง” ปาร์ค พูดพลางชี้ ให้ดูหน้าบ้านหลังหนึ่งที่ปลูก ต้นเข้า พรรษาดอกขาวไว้หน้าบ้านเป็นดง ดอกไม้ ตระกูลขิงชนิดนี้วงการ พฤษศาสตร์เพิ่งรู้จักเมื่อไม่นานมานี่เองโดยมีผู้ ส่งออกต้นไม้ชาวไทย คุณ สุปราณี คง พิชญานนท์ เป็นผู้ค้น พบ สิ่งที่ Smithatris supraneeana ทำให้วงการตื่นตะลึง ก็คือ เธอมิได้เป็น เพียงขิงชนิด (Species)ใหม่ ของโลก แต่เป็นใหม่ถึง ระดับ สกุล (Genus) เลยทีเดียว เข้าพรรษาขาวเป็นพืชที่มีความสง่างาม ลำต้นเทียม(psudostem) จะขึ้นตั้งตรง ใบขนาดใหญ่ชี้ตั้งขึ้น และออกดอกที่ปลายบางทีความสูงถึงเมตรครึ่ง กลีบประดับ(Bracts)โดยรอบจะเป็นสีขาวในขณะที่ดอกจริงจะเป็นดอกเล็กๆสีเหลืองที่เห็น ยื่นออกมา

พอเจอบ้านหลังนั้นผมก็เลยขับ ต่อมาเรื่อยๆ จนมาเจอลานหินนี่แหล่ะครับ” ปาร์คเล่าให้เราฟังต่อ หลังจากที่ผมขับรถเลยบ้านหลังดังกล่าวมาได้ไม่กี่กิโล ทาง ธรณีวิทยาแล้วพื้นที่แบบนี้ถูกเรียกว่า ป่าช้าหินปูน (Lapies) เป็นบริเวณที่มีหินปูนโผล่ขึ้น มาเป็นแผ่นๆก้อนๆไม่สูงจากผิวดินมากนักดูเหมือนป้ายในป่าช้า จึงกลายเป็นชื่อของพื้นที่ในลักษณะนี้ซึ่งมีอยู่ไม่มากใน เมืองไทย ดินในบริเวณนี้จะเป็นดินดีเพราะเป็นดินที่เกิดจากการ สลายตัวของหินปูน แต่ มีหน้าดินตื้น จึงมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นไม่มากนัก สำหรับแถวสระบุรีและลพบุรีก็จะมีพืชเด่นอยู่ต้นหนึ่งก็คือ เข้าพรรษาดอกขาว ซึ่งเป็นพืชเฉพาะถิ่นของแถวนี้และของ ประเทศไทยที่เรามาดูกันนี่แห ล่ะครับ พืชชนิดนี้จะพบขึ้นอยู่ตามพื้นที่ในลักษณะนี้เท่านั้น และสำหรับชนิดนี้ก็ไม่พบที่อื่นในโลกอีกแล้วนอกจากแถวนี้ “พวกขิงก็ เป็นพืชหัวเหมือนกับพวกบุกครับ มันจะแทงยอดมา ออกดอกในช่วงหน้าฝน แล้ว เหี่ยวเหลือแต่หัวใต้ดินในหน้าแล้ง” ปาร์คอธิบายให้เราฟัง “ต้นนี้ก็น่าเป็นหวง มากครับ เพราะมันกระจายพันธุ์แคบมาก และอยู่ในที่ราบด้วย ที่ยังรอดอยู่ได้ก็เพราะบริเวณที่มันขึ้นนี่ถึงแม้จะเป็น ที่ราบ แต่ ก็ยากต่อการเพาะปลูก เพราะมีหินปูนขึ้นเกะกะ ไม่งั้นก็คงโดนไถ เตียนไปแล้ว” ปาร์ค เล่าให้ฟัง พวก เราเดินวนดูถ่ายรูปดอกเข้าพรรษากันอยู่นาน ในขณะที่ปาร์คก็ บรรยายไปเรื่อย "ตอนเจอครั้งแรกมันเป็น Monotypic genus นะพี่ คือทั้งสกุลมี ชนิดเดียวนี่แหล่ะ ตอน หลังถึงไปเจออีกชนิดที่พม่า ของทางนู้นสีชมพู สวยดีเหมือนกันครับ" ปาร์คเล่าต่อ ผมเคยเห็นชนิด S. myanmarensis มาแล้วเหมือนกัน ก็ที่บ้านของเจ้าปาร์คนี่แหล่ะ

ฝนตั้งเค้ามาแต่ไกล เสียงฟ้าคำรามฮึ่มๆ พวกเราชักชวนกันกลับ พอใจและดีใจที่ได้เห็นขิงชนิดที่โดดเด่น ชนิดหนึ่งของประเทศไทยยังอยู่กันดีในธรรมชาติ และหวังว่าจะคงอยู่ตลอดไป

Comments

ความคิดเห็น

ความเห็นที่ 1

น่ากิน cheeky น่าอร่อย

ความเห็นที่ 2

พี่นนณ์เดี๋ยวน้องขอหลังไมค์หน่อยนะคะ อิอิ

ความเห็นที่ 3

ของโปรดคุณ callusเลย  หุหุ

ความเห็นที่ 4

ขอบคุณพี่นนณ์ที่นำมาฝาก มาเล่าสู่กันฟัง หวังชเช่นกันว่า มันจะคงอยู่ต่อไป

ความเห็นที่ 5

ดอกเข้าพรรษามีกี่ ชนิด

กี่ตระกูล ได้โปรดตอบให้หน่อยครับ