ผลกระทบของพีค๊อกบาสต่อปลาท้องถิ่นในทะเลสาปเขตร้อน
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 28 ตุลาคม 2553
ผลกระทบของพีค๊อกบาสต่อปลาท้องถิ่นในทะเลสาปเขตร้อน
บทเรียนผลกระทบของพีค๊อกบาสจากปานามา
เรื่อง/ภาพ: นณณ์ ผาณิตวงศ์
เพื่อนของผมพูดประโยคหนึ่งไว้น่าสนใจ เมื่อเราคุยกันเรื่องการกระจายพันธุ์ของสัตว์ต่างๆ เขาบอกว่า “ปลาถูกกั้นด้วยภูเขา ในขณะที่สัตว์บกถูกกั้นไว้ด้วยน้ำใหญ่ ส่วนสัตว์ปีกถูกกั้นด้วยกำลังของมัน”ผมว่ามันเป็นประโยคที่ค่อนข้างจะครอบคลุมลักษณะการกระจายพันธุ์ของสัตว์ในโลกได้เป็นอย่างดี แต่หากจะคุยกันที่ปลาน้ำจืดซึ่งเป็นหัวข้อหลักของเราในคราวนี้ ทางสัตวภูมิศาสตร์ หรือการแบ่งการกระจายพันธุ์ของสัตว์ การกระจายพันธุ์ของปลาน้ำจืดจะถูกแบ่งด้วย ๒ ปัจจัยหลักตามที่เพื่อนได้พูดถึงไว้ คือ ภูเขา และ ทะเล (น้ำใหญ่) ซึ่งในอดีตก็เป็นอย่างนั้น ปลาจากอเมริกาใต้ คงไม่มีโอกาสที่จะหาทางว่ายน้ำมาประเทศไทยได้ หรือปลาน้ำจืดจากแอฟริกา ก็คงไม่ไปโผล่ที่อเมริกาเหนือได้ง่ายๆ
แต่ในยุคที่มนุษย์คิดค้นการเดินทางที่รวดเร็ว และท่องเที่ยวไปทั่วโลก ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ เรานำพาสัตว์ที่เคยอยู่แยกกันให้มาอยู่ด้วยกัน ในบางครั้งมันอาจจะอยู่ร่วมกันได้ บางครั้งผู้มาเยือนอาจจะพ่ายแพ้ และในบางครั้งผู้มาใหม่ก็อาจจะชนะได้เช่นกัน เรื่องแบบนี้แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ ก็ไม่อาจจะคาดคำนวนได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง บางทีการปล่อยด้วยความหวังดีก็อาจจะสร้างผลเสียได้เหมือนกัน บทความนี้จะขอพูดถึงผลกระทบของปลาชนิดหนึ่งที่ถูกปล่อยลงในแหล่งน้ำธรรมชาติในที่ๆมันไม่เคยอยู่มาก่อน และก็ได้เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของแหล่งน้ำนั้นไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ
ปกติมักจะพยายามหาผลงานวิจัยใหม่ๆมาเขียนให้ได้อ่านกัน แต่ในคราวนี้กระผมกำลังจะอ้างอิงถึงเอกสารเก่าเก็บตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ที่พี่ใจดีท่านหนึ่งส่งมาให้ อย่าคิดว่าเก่าล้าสมัยนะครับ มันเป็นข้อมูลที่น่าสนใจจริงๆ ของการปล่อยปลา พีค๊อกบาส หรือที่ในตลาดปลาสวยงามบ้านเราเรียกกันว่า ออสเซลาริส ปลาชนิดนี้มันมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichla ocellaris และเรื่องที่ทำให้ผมต้องเขียนถึงในคราวนี้ เพื่อจะให้เราได้เรียนรู้ว่า ปลาชนิดนี้ได้ส่งผลกระทบไว้อย่างไรบ้างเมื่อมีการปล่อยมันลงในแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่เคยมีมันอยู่มาก่อน และวันนี้เมื่อมีรายงานว่ามีการปล่อยปลาชนิดนี้ลงในแหล่งน้ำธรรมชาติในบ้านเราและมันเริ่มแพร่พันธุ์ออกลูกออกหลานได้เองตามธรรมชาติ เราพอจะเรียนรู้อะไรจากเอกสารอายุ 36ปีฉบับนี้บ้าง
เอกสารฉบับนี้ชื่อว่า “Species Introduction in a TropicalLake, A newly introduced piscivore can produce population changes in a wide range of tropic levels” โดย Thomas M. Zaret และ R. T. Paine ซึ่งทั้งสองเป็นนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันครับ
เริ่มกันที่ตัวปลาก่อนก็แล้วกัน คิดว่าหลายๆท่านคงจะคุ้นเคยกับปลาชนิดนี้เป็นอย่างดี แต่ถ้าไม่คุ้น เอาเป็นว่ามันมีลักษณะตามรูปประกอบบทความนะครับ ปลาชนิดนี้เป็นปลาหมอที่สามารถโตได้เต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม มันเป็นปลาล่าเหยื่อที่กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าเป็นอาหารหลัก มีการทำรังวางไข่และดูแลลูกปลาได้ในแหล่งน้ำนิ่ง ปลาชนิดนี้มีจุดที่น่าสนใจคือมันเป็นปลาที่มีความสวยงาม สู้เบ็ดสนุก และ มีรสชาติดี ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำไปปล่อยทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจในหลายๆพื้นที่
มาเริ่มกันด้วยบทเรียนบทที่หนึ่งก่อนครับ เรื่องนี้เกิดขึ้นที่ทะเลสาปชื่อ Atilan ทะเลสาปแห่งนี้เป็นที่อาศัยของชนพื้นเมืองซึ่งอาศัย จับปลาสอด ปลาหมอขนาดเล็ก และปูท้องถิ่น เป็นอาหาร และเมื่อมีเหลือก็นำมาขายเป็นเงินเสริมเล็กๆน้อยๆ ต่อมาได้มีผู้หวังดีนำปลาบาสปากกว้าง จากทวีปอเมริกาเหนือมาปล่อย ปลาชนิดนี้มีรูปร่างลักษณะๆคล้ายๆกับ พีค๊อกบาสนี่แหล่ะครับ มันเป็นปลาล่าเหยื่อขนาดใหญ่ที่กินปลาและสัตว์เล็กๆเป็นอาหาร ผู้หวังดีคงจะหวังว่ามีปลาใหญ่ๆ ชาวบ้านจะได้จับปลากินได้มากขึ้น แต่กลับกลายเป็นว่า 30ปีผ่านไป ปลาบาสปากกว้าง กินปลาท้องถิ่นขนาดเล็กและปูที่ชาวบ้านเคยจับได้จนหมด และตัวมันเองก็มีขนาดใหญ่และจับยากเกินกว่าที่ภูมิปัญญาและอุปกรณ์ของชาวบ้านจะจับได้ ผลก็คือ ชาวบ้านที่เคยจับปูปลาท้องถิ่นกินเป็นอาหารและเป็นรายได้เสริมเล็กๆน้อยๆ ได้ขาดแหล่งโปรตีนและรายได้ตรงนั้นไปอย่างถาวร
ย้อนกลับมาที่เอกสารของเราบ้าง ผู้เขียนบอกว่า มีไม่บ่อยนักที่การปล่อยปลาต่างถิ่นจะมีการรายงานข้อมูลผลกระทบกับระบบนิเวศที่ชัดเจน เพราะส่วนใหญ่แล้วไม่มีการเก็บข้อมูลทั้งก่อนและหลังการปล่อย ในคราวนี้พวกเขาโชคดีที่ได้ทำงานวิจัยสำรวจจำนวนและชนิดพันธุ์ปลาต่างๆ ในทะเลสาปที่ชื่อว่า กาตุน (GatunLake) ซึ่งอยู่ในประเทศปานามาไว้ก่อนที่จะมีการปล่อยพีค๊อกบาสลงไปและเมื่อมันเริ่มแพร่กระจายพันธุ์แผ่ขยายอิทธิพลออกไปทั่วทะเลสาป พวกเขาได้บันทึกความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศในทะเลสาปไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งผมจะแบ่งเป็นตอนๆไปนะครับ
1. ผลกระทบกับปลาท้องถิ่น
ในบริเวณที่เคยทำการสำรวจปลาไว้ หลังจากที่มีการแพร่พันธุ์เข้ามาของพีค๊อกบาส นักวิจัยพบว่า ปลาท้องถิ่นดั้งเดิมที่เคยมีอยู่ 8ชนิดนั้น พวกเขาพบว่า 4 ชนิดหายไปหมดเลย 2 ชนิดพบน้อยลงกว่าเดิมถึงร้อยละ 90และอีกชนิดหนึ่งพบน้อยลงไปครึ่งหนึ่ง มีเพียงชนิดเดียวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 50(เป็นปลาหมอพันธุ์ท้องถิ่น) และแน่นอนครับว่าพีค๊อกบาสเพิ่มขึ้นร้อยละร้อย รายละเอียดตามตารางครับ
นอกจากนั้นพวกเขายังได้ทำการสำรวจพื้นที่เปรียบเทียบ คือพื้นที่ของทะเลสาปที่พีค๊อกบาสกระจายพันธุ์เข้าไปถึงแล้ว และพื้นที่ของทะเลสาปในลักษณะเดียวกันที่พีค๊อกบาสยังกระจายพันธุ์เข้าไปไม่ถึง ข้อมูลน่าสะพรึงกลัวอีกเช่นเคยครับ ดูตามตารางแล้วกันครับ จะเห็นว่า ปลาท้องถิ่นที่มีอยู่เยอะแยะในจุดที่พีค๊อกบาสยังกระจายพันธุ์ไปไม่ถึง ในจุดที่พวกมันไปถึงแล้ว 8ชนิดไม่พบเลย อีก 3ชนิดลดจำนวนลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนที่เหลือก็มีพบจุดละตัวสองตัวหรือจำนวนไม่มากพอที่จะเป็นจุดแตกต่างในนัยยะที่สำคัญ มีเพียงชนิดเดียวที่จำนวนเพิ่มขึ้นมาก แต่ผู้วิจัยบอกว่าเป็นปลาขนาดเล็กมากที่มีหน้าที่ในระบบนิเวศไม่ชัดเจนจึงหลีกเลี่ยงที่จะให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของมัน และยังได้ในความเห็นอีกว่าในจุดที่พีค๊อกบาสยังกระจายพันธุ์ไปไม่ถึงนั้น น้ำหนักรวมของปลาถูกกระจายเฉลี่ยไปในกลุ่มปลาหลายชนิด แต่ในจุดที่พวกมันไปถึงแล้ว น้ำหนักโดยรวมของปลาที่จับได้ส่วนใหญ่เป็นของพีค๊อกบาสและปลาหมอท้องถิ่นอีกชนิดที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ปลาขนาดเล็กแทบจะหายไปหมด รายละเอียดตามตารางครับ
นอกจากนั้นนักวิจัยยังพบว่าในอดีตเมื่อถึงช่วงฤดูหนึ่ง ปลาตาเหลือกยักษ์ (Megalops atlanticus) จะอพยพเข้ามาหากินในบริเวณที่เคยทำวิจัยอยู่เพื่อเข้ามาหากินปลาขนาดเล็ก พวกเขาพบว่าหลังจากที่พีค๊อกบาสกินปลาขนาดเล็กไปจนหมด ก็ไม่มีปลาตาเหลือกยักษ์อพยพเข้ามาในพื้นที่เลย
2. ผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร (ผู้บริโภคระดับที่หนึ่ง)
การที่ปลาขนาดเล็ก ซึ่งเป็นผู้บริโภคอันดับสองในห่วงโซ่อาหารลดลงจากการถูกพีค๊อกบาสกิน ย่อมส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารในระดับต่อๆไป นักวิจัยให้ความเห็นว่า ปลาหัวเงิน(Melaniris chagresi) ซึ่งเป็นปลาขนาดเล็กอาศัยอยู่เป็นฝูงในบริเวณผิวน้ำ ถือเป็นปลาที่เป็นอาหารหลักของปลาผู้ล่าหลายชนิด (ปลาผู้ล่าเหล่านี้ถือเป็นผู้บริโภคอันดับที่สามในห่วงโซ่อาหาร) ปลาหัวเงินนี้เป็นปลาขนาดเล็กที่มีจำนวนมากที่สุด ปลาชนิดนี้ว่ายน้ำกันเป็นฝูงในบริเวณผิวน้ำ จึงทำให้ง่ายต่อการนับจำนวน พวกเขาพบว่าปลาหัวเงิน ทั้งปลาเต็มวัยที่มักจะหากินใกล้ฝั่งและปลาวัยอ่อนที่หากินห่างฝั่งลดจำนวนลงอย่างมากหรือแทบจะหมดไปจากพื้นที่ ซึ่งการที่ผู้บริโภคอันดับสองหายออกไปนั้น มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีผลต่อผู้บริโภคอันดับหนึ่งในระบบ ซึ่งก็คือไรน้ำจืดที่กินแพลงตอนพืชเป็นอาหาร(ผู้ผลิต)
ไรน้ำจืดที่พบในทะเลสาปแห่งนี้เป็นชนิด Ceriodaphnia cornutaมันมีรูปร่างสองแบบด้วยกัน คือแบบตัวกลมๆเกลี้ยงๆธรรมดา กับแบบที่มีเขาแหลมๆ โดยปกติแล้วปลาหัวเงินจะชอบกินพวกตัวกลมมากกว่าตัวที่มีเขา แต่ตัวมีเขาก็มีข้อเสียเปรียบตรงที่มันขยายพันธุ์ได้ช้ากว่าพวกตัวกลมมาก จากการสำรวจ ในบริเวณที่ไม่พบปลาหัวเงิน พวกตัวกลมก็จะมีมากกว่าตัวมีเขามาก แต่ในบริเวณที่มีปลาหัวเงินอาศัยอยู่ ปลาหัวเงินจะเลือกกินพวกตัวกลมทำให้ประชากรโดยรวมแล้วพวกตัวกลมกับมีเขาจะมีจำนวนเท่าๆกัน ดังนั้นเมื่อปลาหัวเงินถูกพีค๊อกบาสกินไปหมด สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นก็คือ พวกตัวกลมที่ไม่ถูกกินจะต้องมีจำนวนเพิ่มขึ้น และในจุดที่เคยสำรวจพบไรน้ำจืดทั้งสองแบบในจำนวนเท่าๆกัน พวกเขาพบว่าหลังจากที่ปลาหัวเงินหมดไป ประชากรไรน้ำจืดตัวกลมก็เพิ่มขึ้นเป็นระดับเดียวกับการสำรวจในบริเวณที่ไม่เคยมีปลาหัวเงินมาตั้งแต่ต้น
3. ผลกระทบต่อสัตว์อื่นๆ
ในอดีตทะเลสาปกาตุนในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปลาตาเหลือกยักษ์ (Megalops atlanticus)จะอพยพเข้ามาหากินในบริเวณที่มีการทำวิจัย โดยในบริเวณดังกล่าวนกนางนวลแกลบ (Chlidonias niger) จะมารอหากินอยู่เช่นกัน นักวิจัยประมาณว่านกนางนวลที่มาเกาะรออยู่ตามตอไม้ เสาสะพานปลาเพื่อหากินอยู่ในบริเวณนั้นน่าจะมีมากกว่า 150 ตัว ปลาตาเหลือกจะไล่กินปลาหัวเงินขนาดเล็กเป็นอาหารหลัก ซึ่งฝูงปลาหัวเงินที่ถูกไล่ล่าจากใต้น้ำ จะพากันกระโดดหนีขึ้นมาเหนือน้ำ กลายเป็นเหยื่อของนกนางนวลแกลบที่โฉบลงมากินพวกมัน แต่หลังจากที่พีค๊อกบาสได้เข้ามาอาละวาดและกินปลาหัวเงินไปจนหมด นักวิจัยพบว่าในบริเวณดังกล่าวไม่มีปลาตาเหลือกยักษ์และนกนางนวลแกลบเข้ามาหากินเลย พวกเขายังให้ข้อสังเกตอีกว่านกกินปลา เช่น นกกระเต็น และนกกระยาง ได้หายไปจากพื้นที่เช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณที่พีค๊อกบาสยังกระจายพันธุ์ไปไม่ถึง ที่สัตว์เหล่านี้ยังอยู่กันครบเหมือนเดิม
4. ผลกระทบต่อแมลง
นักวิจัยบอกว่าข้อมูลของแมลงมีน้อยมากในพื้นที่ แต่ก็มีแมลงอยู่ชนิดหนึ่งที่มีการเก็บสถิติอย่างละเอียด เพราะมีผลกระทบต่อมนุษย์โดยตรง ซึ่งสัตว์ชนิดนั้นก็คือยุงลายนั่นเอง เพราะมีการเก็บสถิติไว้อยู่ตลอดเวลา โดยนักวิจัยใช้กับดักล่อด้วยไฟขนาดเล็ก ผลที่ได้ก็คือ หลังจากที่มีการระบาดของพีค๊อกบาสในพื้นที่ และปลาชนิดนี้ได้กินปลาขนาดเล็กที่โดยปกติจะคอยกินลูกน้ำและยุง จำนวนยุงที่จับได้ในช่วง 3 ปีต่อมาที่มีการเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นเชื้อของไข้มาเลเลียที่มีการระบาดยังเปลี่ยนไปจากเดิมที่กว่าร้อยละ 95 เป็นเชื้อชนิด Plasmodium vivax และอีกร้อยละ 5 ที่เหลือเป็นชนิด P. falciparum แต่เริ่มจากปีที่เริ่มมีการระบาดของพีค๊อกบาสปรากฏว่า ในบรรดาผู้ที่ติดเชื้อกว่าร้อยละ 60 กลายเป็นเชื้อชนิด P. falciparum ซึ่งตัวนักวิจัยเองก็บอกว่า ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลดิบที่นำมาเสนอ แต่ไม่อาจจะรับรองได้ว่าเกี่ยวข้องกันจริงกับการระบาดของพีค๊อกบาสในพื้นที่หรือไม่
5. สรุป
บทสรุปของการที่มีเจ้าพีค๊อกบาสมาระบาดในพื้นที่ นักวิจัยสรุปว่ามันทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง จากเดิมที่ห่วงโซ่อาหารถูกขึงรากไปมาเป็นใยแมงมุมเริ่มตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงผู้บริโภคหลายขั้นตอน ทั้งหมดถูกทำลายจนกลายเป็นเส้นง่ายๆ มีสิ่งมีชีวิตเหลืออยู่ในระบบไม่กี่ชนิด สัตว์หลายชนิด อย่างปลาตาเหลือกยักษ์ นกกินปลา ปลาขนาดเล็กหลายชนิดหายออกไปจากระบบ ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนไปอย่างไม่น่าเชื่อ เป็นบทเรียนที่น่าสนใจจากปานามา ที่อาจกำลังจะเกิดขึ้นในบ้านเรา ลองเอาปลากลุ่มของบ้านเราเข้าไปแทนปลาจากปานามาที่หายไป ก็จะพบว่า พวกกลุ่มปลาซิว ปลาตะเพียนเล็กๆ ปลากริม คงจะหมดไป นกกระเต็น นกกระยางก็คงจะลดลง ซึ่งเท่าที่ผมได้สัมผัสมาในแหล่งน้ำของบ้านเราที่มีใครสักคนปล่อยพีค๊อกบาสลงไป ก็พบว่าปลาท้องถิ่นของเราลดลงจริงๆ นักตกปลา ชาวประมง ก็ยอมรับว่าปลาท้องถิ่นของเราลดลงหลังจากที่มีการปล่อยพีค๊อกบาสลงไป และเราไม่รู้ว่าอะไรหลายๆอย่างอาจจะเปลี่ยนไปแล้วก็ได้ ก็ลองคิดกันดูแล้วกันครับว่าคุ้มไหมที่จะเสี่ยงในเมื่อเรารู้ทั้งรู้ว่าปลาชนิดนี้เคยทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง หรือลองคิดอีกที.....
เรามีสิทธิ์ที่จะเอาระบบนิเวศบ้านเราไปเสี่ยงหรือเปล่า?
อ้างอิง
Thomas M. Zaret, R. T. Paine. 1973. Species Introduction in a TropicalLake, A newly introduced piscivore can produce population changes in a wide range of trophic levels. Science Vol.182. P.449-455
บทเรียนผลกระทบของพีค๊อกบาสจากปานามา
เรื่อง/ภาพ: นณณ์ ผาณิตวงศ์
เพื่อนของผมพูดประโยคหนึ่งไว้น่าสนใจ เมื่อเราคุยกันเรื่องการกระจายพันธุ์ของสัตว์ต่างๆ เขาบอกว่า “ปลาถูกกั้นด้วยภูเขา ในขณะที่สัตว์บกถูกกั้นไว้ด้วยน้ำใหญ่ ส่วนสัตว์ปีกถูกกั้นด้วยกำลังของมัน”ผมว่ามันเป็นประโยคที่ค่อนข้างจะครอบคลุมลักษณะการกระจายพันธุ์ของสัตว์ในโลกได้เป็นอย่างดี แต่หากจะคุยกันที่ปลาน้ำจืดซึ่งเป็นหัวข้อหลักของเราในคราวนี้ ทางสัตวภูมิศาสตร์ หรือการแบ่งการกระจายพันธุ์ของสัตว์ การกระจายพันธุ์ของปลาน้ำจืดจะถูกแบ่งด้วย ๒ ปัจจัยหลักตามที่เพื่อนได้พูดถึงไว้ คือ ภูเขา และ ทะเล (น้ำใหญ่) ซึ่งในอดีตก็เป็นอย่างนั้น ปลาจากอเมริกาใต้ คงไม่มีโอกาสที่จะหาทางว่ายน้ำมาประเทศไทยได้ หรือปลาน้ำจืดจากแอฟริกา ก็คงไม่ไปโผล่ที่อเมริกาเหนือได้ง่ายๆ
แต่ในยุคที่มนุษย์คิดค้นการเดินทางที่รวดเร็ว และท่องเที่ยวไปทั่วโลก ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ เรานำพาสัตว์ที่เคยอยู่แยกกันให้มาอยู่ด้วยกัน ในบางครั้งมันอาจจะอยู่ร่วมกันได้ บางครั้งผู้มาเยือนอาจจะพ่ายแพ้ และในบางครั้งผู้มาใหม่ก็อาจจะชนะได้เช่นกัน เรื่องแบบนี้แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ ก็ไม่อาจจะคาดคำนวนได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง บางทีการปล่อยด้วยความหวังดีก็อาจจะสร้างผลเสียได้เหมือนกัน บทความนี้จะขอพูดถึงผลกระทบของปลาชนิดหนึ่งที่ถูกปล่อยลงในแหล่งน้ำธรรมชาติในที่ๆมันไม่เคยอยู่มาก่อน และก็ได้เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของแหล่งน้ำนั้นไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ
ปกติมักจะพยายามหาผลงานวิจัยใหม่ๆมาเขียนให้ได้อ่านกัน แต่ในคราวนี้กระผมกำลังจะอ้างอิงถึงเอกสารเก่าเก็บตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ที่พี่ใจดีท่านหนึ่งส่งมาให้ อย่าคิดว่าเก่าล้าสมัยนะครับ มันเป็นข้อมูลที่น่าสนใจจริงๆ ของการปล่อยปลา พีค๊อกบาส หรือที่ในตลาดปลาสวยงามบ้านเราเรียกกันว่า ออสเซลาริส ปลาชนิดนี้มันมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichla ocellaris และเรื่องที่ทำให้ผมต้องเขียนถึงในคราวนี้ เพื่อจะให้เราได้เรียนรู้ว่า ปลาชนิดนี้ได้ส่งผลกระทบไว้อย่างไรบ้างเมื่อมีการปล่อยมันลงในแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่เคยมีมันอยู่มาก่อน และวันนี้เมื่อมีรายงานว่ามีการปล่อยปลาชนิดนี้ลงในแหล่งน้ำธรรมชาติในบ้านเราและมันเริ่มแพร่พันธุ์ออกลูกออกหลานได้เองตามธรรมชาติ เราพอจะเรียนรู้อะไรจากเอกสารอายุ 36ปีฉบับนี้บ้าง
เอกสารฉบับนี้ชื่อว่า “Species Introduction in a TropicalLake, A newly introduced piscivore can produce population changes in a wide range of tropic levels” โดย Thomas M. Zaret และ R. T. Paine ซึ่งทั้งสองเป็นนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันครับ
เริ่มกันที่ตัวปลาก่อนก็แล้วกัน คิดว่าหลายๆท่านคงจะคุ้นเคยกับปลาชนิดนี้เป็นอย่างดี แต่ถ้าไม่คุ้น เอาเป็นว่ามันมีลักษณะตามรูปประกอบบทความนะครับ ปลาชนิดนี้เป็นปลาหมอที่สามารถโตได้เต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม มันเป็นปลาล่าเหยื่อที่กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าเป็นอาหารหลัก มีการทำรังวางไข่และดูแลลูกปลาได้ในแหล่งน้ำนิ่ง ปลาชนิดนี้มีจุดที่น่าสนใจคือมันเป็นปลาที่มีความสวยงาม สู้เบ็ดสนุก และ มีรสชาติดี ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำไปปล่อยทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจในหลายๆพื้นที่
มาเริ่มกันด้วยบทเรียนบทที่หนึ่งก่อนครับ เรื่องนี้เกิดขึ้นที่ทะเลสาปชื่อ Atilan ทะเลสาปแห่งนี้เป็นที่อาศัยของชนพื้นเมืองซึ่งอาศัย จับปลาสอด ปลาหมอขนาดเล็ก และปูท้องถิ่น เป็นอาหาร และเมื่อมีเหลือก็นำมาขายเป็นเงินเสริมเล็กๆน้อยๆ ต่อมาได้มีผู้หวังดีนำปลาบาสปากกว้าง จากทวีปอเมริกาเหนือมาปล่อย ปลาชนิดนี้มีรูปร่างลักษณะๆคล้ายๆกับ พีค๊อกบาสนี่แหล่ะครับ มันเป็นปลาล่าเหยื่อขนาดใหญ่ที่กินปลาและสัตว์เล็กๆเป็นอาหาร ผู้หวังดีคงจะหวังว่ามีปลาใหญ่ๆ ชาวบ้านจะได้จับปลากินได้มากขึ้น แต่กลับกลายเป็นว่า 30ปีผ่านไป ปลาบาสปากกว้าง กินปลาท้องถิ่นขนาดเล็กและปูที่ชาวบ้านเคยจับได้จนหมด และตัวมันเองก็มีขนาดใหญ่และจับยากเกินกว่าที่ภูมิปัญญาและอุปกรณ์ของชาวบ้านจะจับได้ ผลก็คือ ชาวบ้านที่เคยจับปูปลาท้องถิ่นกินเป็นอาหารและเป็นรายได้เสริมเล็กๆน้อยๆ ได้ขาดแหล่งโปรตีนและรายได้ตรงนั้นไปอย่างถาวร
ย้อนกลับมาที่เอกสารของเราบ้าง ผู้เขียนบอกว่า มีไม่บ่อยนักที่การปล่อยปลาต่างถิ่นจะมีการรายงานข้อมูลผลกระทบกับระบบนิเวศที่ชัดเจน เพราะส่วนใหญ่แล้วไม่มีการเก็บข้อมูลทั้งก่อนและหลังการปล่อย ในคราวนี้พวกเขาโชคดีที่ได้ทำงานวิจัยสำรวจจำนวนและชนิดพันธุ์ปลาต่างๆ ในทะเลสาปที่ชื่อว่า กาตุน (GatunLake) ซึ่งอยู่ในประเทศปานามาไว้ก่อนที่จะมีการปล่อยพีค๊อกบาสลงไปและเมื่อมันเริ่มแพร่กระจายพันธุ์แผ่ขยายอิทธิพลออกไปทั่วทะเลสาป พวกเขาได้บันทึกความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศในทะเลสาปไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งผมจะแบ่งเป็นตอนๆไปนะครับ
1. ผลกระทบกับปลาท้องถิ่น
ในบริเวณที่เคยทำการสำรวจปลาไว้ หลังจากที่มีการแพร่พันธุ์เข้ามาของพีค๊อกบาส นักวิจัยพบว่า ปลาท้องถิ่นดั้งเดิมที่เคยมีอยู่ 8ชนิดนั้น พวกเขาพบว่า 4 ชนิดหายไปหมดเลย 2 ชนิดพบน้อยลงกว่าเดิมถึงร้อยละ 90และอีกชนิดหนึ่งพบน้อยลงไปครึ่งหนึ่ง มีเพียงชนิดเดียวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 50(เป็นปลาหมอพันธุ์ท้องถิ่น) และแน่นอนครับว่าพีค๊อกบาสเพิ่มขึ้นร้อยละร้อย รายละเอียดตามตารางครับ
การเปลี่ยนแปลง | |||
ชื่อวิทยาศาสตร์ | ชื่อไทย(ใกล้เคียง) | เพิ่มขึ้น (ร้อยละ) | ลดลง (ร้อยละ) |
Melaniris chagresi | ปลาหัวเงิน | 50 | |
Astyanax ruberrimus | เต็ทตร้าปานามา | 100 | |
Roeboides guatemalensis | ปลากินเกล็ด | 90 | |
Aequidens coeruleopunctatus | ปลาหมอญาติของรีวูเลตัส | 100 | |
Vieja maculicauda | ปลาหมอมาคู | 50 | |
Gobiomorus dormitor | ปลาบู่ทรายเล็ก | 90 | |
Gambusia nicaraguaensis | ปลากินยุง | 100 | |
Poecilia mexicana | ปลาสอด | 100 | |
Cichla ocellaris | พีค๊อกบาส | 100 |
นอกจากนั้นพวกเขายังได้ทำการสำรวจพื้นที่เปรียบเทียบ คือพื้นที่ของทะเลสาปที่พีค๊อกบาสกระจายพันธุ์เข้าไปถึงแล้ว และพื้นที่ของทะเลสาปในลักษณะเดียวกันที่พีค๊อกบาสยังกระจายพันธุ์เข้าไปไม่ถึง ข้อมูลน่าสะพรึงกลัวอีกเช่นเคยครับ ดูตามตารางแล้วกันครับ จะเห็นว่า ปลาท้องถิ่นที่มีอยู่เยอะแยะในจุดที่พีค๊อกบาสยังกระจายพันธุ์ไปไม่ถึง ในจุดที่พวกมันไปถึงแล้ว 8ชนิดไม่พบเลย อีก 3ชนิดลดจำนวนลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนที่เหลือก็มีพบจุดละตัวสองตัวหรือจำนวนไม่มากพอที่จะเป็นจุดแตกต่างในนัยยะที่สำคัญ มีเพียงชนิดเดียวที่จำนวนเพิ่มขึ้นมาก แต่ผู้วิจัยบอกว่าเป็นปลาขนาดเล็กมากที่มีหน้าที่ในระบบนิเวศไม่ชัดเจนจึงหลีกเลี่ยงที่จะให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของมัน และยังได้ในความเห็นอีกว่าในจุดที่พีค๊อกบาสยังกระจายพันธุ์ไปไม่ถึงนั้น น้ำหนักรวมของปลาถูกกระจายเฉลี่ยไปในกลุ่มปลาหลายชนิด แต่ในจุดที่พวกมันไปถึงแล้ว น้ำหนักโดยรวมของปลาที่จับได้ส่วนใหญ่เป็นของพีค๊อกบาสและปลาหมอท้องถิ่นอีกชนิดที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ปลาขนาดเล็กแทบจะหายไปหมด รายละเอียดตามตารางครับ
จำนวนปลา(ตัว) | |||
ชื่อวิทยาศาสตร์ | ชื่อไทย(ใกล้เคียง) | แหล่งที่ไม่มีพีค๊อก | แหล่งที่มีพีค๊อก |
Melaniris chagresi | ปลาหัวเงิน | 200 | |
Astyanax ruberrimus | ปลาเต็ทตร้า(ขนาดกลาง) | 160 | |
Compsura gorgonae | ปลาเต็ทตร้า | 120 | |
Hoplias microlepis | ปลาวูลฟ์ฟิช | 1 | |
Hyphressobrycon panamensis | ปลาเต็ทตร้า(ขนาดเล็ก) | 2 | |
Pseudocheirodon affinis | ปลาเต็ทตร้า | 7 | |
Roeboides quatemalensis | ปลากินเกล็ด | 195 | 21 |
Aequidens coeruleopunctatus | ปลาหมอ | 10 | |
Vieja maculicauda | ปลาหมอมาคู | 7 | 36 |
Neotroplus panamensis | ปลาหมอ | 4 | |
Eleotris pisonis | ปลาบู่ทรายเล็ก | 4 | 99 |
Gobiomorus dormitor | ปลาบู่ทรายเล็ก | 42 | 10 |
Gambusia nicaraguagensis | ปลากินยุง | 22 | |
Poecilia mexicana | ปลาสอด | 17 | 2 |
อื่นๆ | 1 | ||
Cichla ocellaris | พีค๊อกบาส | 14 |
นอกจากนั้นนักวิจัยยังพบว่าในอดีตเมื่อถึงช่วงฤดูหนึ่ง ปลาตาเหลือกยักษ์ (Megalops atlanticus) จะอพยพเข้ามาหากินในบริเวณที่เคยทำวิจัยอยู่เพื่อเข้ามาหากินปลาขนาดเล็ก พวกเขาพบว่าหลังจากที่พีค๊อกบาสกินปลาขนาดเล็กไปจนหมด ก็ไม่มีปลาตาเหลือกยักษ์อพยพเข้ามาในพื้นที่เลย
2. ผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร (ผู้บริโภคระดับที่หนึ่ง)
การที่ปลาขนาดเล็ก ซึ่งเป็นผู้บริโภคอันดับสองในห่วงโซ่อาหารลดลงจากการถูกพีค๊อกบาสกิน ย่อมส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารในระดับต่อๆไป นักวิจัยให้ความเห็นว่า ปลาหัวเงิน(Melaniris chagresi) ซึ่งเป็นปลาขนาดเล็กอาศัยอยู่เป็นฝูงในบริเวณผิวน้ำ ถือเป็นปลาที่เป็นอาหารหลักของปลาผู้ล่าหลายชนิด (ปลาผู้ล่าเหล่านี้ถือเป็นผู้บริโภคอันดับที่สามในห่วงโซ่อาหาร) ปลาหัวเงินนี้เป็นปลาขนาดเล็กที่มีจำนวนมากที่สุด ปลาชนิดนี้ว่ายน้ำกันเป็นฝูงในบริเวณผิวน้ำ จึงทำให้ง่ายต่อการนับจำนวน พวกเขาพบว่าปลาหัวเงิน ทั้งปลาเต็มวัยที่มักจะหากินใกล้ฝั่งและปลาวัยอ่อนที่หากินห่างฝั่งลดจำนวนลงอย่างมากหรือแทบจะหมดไปจากพื้นที่ ซึ่งการที่ผู้บริโภคอันดับสองหายออกไปนั้น มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีผลต่อผู้บริโภคอันดับหนึ่งในระบบ ซึ่งก็คือไรน้ำจืดที่กินแพลงตอนพืชเป็นอาหาร(ผู้ผลิต)
ไรน้ำจืดที่พบในทะเลสาปแห่งนี้เป็นชนิด Ceriodaphnia cornutaมันมีรูปร่างสองแบบด้วยกัน คือแบบตัวกลมๆเกลี้ยงๆธรรมดา กับแบบที่มีเขาแหลมๆ โดยปกติแล้วปลาหัวเงินจะชอบกินพวกตัวกลมมากกว่าตัวที่มีเขา แต่ตัวมีเขาก็มีข้อเสียเปรียบตรงที่มันขยายพันธุ์ได้ช้ากว่าพวกตัวกลมมาก จากการสำรวจ ในบริเวณที่ไม่พบปลาหัวเงิน พวกตัวกลมก็จะมีมากกว่าตัวมีเขามาก แต่ในบริเวณที่มีปลาหัวเงินอาศัยอยู่ ปลาหัวเงินจะเลือกกินพวกตัวกลมทำให้ประชากรโดยรวมแล้วพวกตัวกลมกับมีเขาจะมีจำนวนเท่าๆกัน ดังนั้นเมื่อปลาหัวเงินถูกพีค๊อกบาสกินไปหมด สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นก็คือ พวกตัวกลมที่ไม่ถูกกินจะต้องมีจำนวนเพิ่มขึ้น และในจุดที่เคยสำรวจพบไรน้ำจืดทั้งสองแบบในจำนวนเท่าๆกัน พวกเขาพบว่าหลังจากที่ปลาหัวเงินหมดไป ประชากรไรน้ำจืดตัวกลมก็เพิ่มขึ้นเป็นระดับเดียวกับการสำรวจในบริเวณที่ไม่เคยมีปลาหัวเงินมาตั้งแต่ต้น
3. ผลกระทบต่อสัตว์อื่นๆ
ในอดีตทะเลสาปกาตุนในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปลาตาเหลือกยักษ์ (Megalops atlanticus)จะอพยพเข้ามาหากินในบริเวณที่มีการทำวิจัย โดยในบริเวณดังกล่าวนกนางนวลแกลบ (Chlidonias niger) จะมารอหากินอยู่เช่นกัน นักวิจัยประมาณว่านกนางนวลที่มาเกาะรออยู่ตามตอไม้ เสาสะพานปลาเพื่อหากินอยู่ในบริเวณนั้นน่าจะมีมากกว่า 150 ตัว ปลาตาเหลือกจะไล่กินปลาหัวเงินขนาดเล็กเป็นอาหารหลัก ซึ่งฝูงปลาหัวเงินที่ถูกไล่ล่าจากใต้น้ำ จะพากันกระโดดหนีขึ้นมาเหนือน้ำ กลายเป็นเหยื่อของนกนางนวลแกลบที่โฉบลงมากินพวกมัน แต่หลังจากที่พีค๊อกบาสได้เข้ามาอาละวาดและกินปลาหัวเงินไปจนหมด นักวิจัยพบว่าในบริเวณดังกล่าวไม่มีปลาตาเหลือกยักษ์และนกนางนวลแกลบเข้ามาหากินเลย พวกเขายังให้ข้อสังเกตอีกว่านกกินปลา เช่น นกกระเต็น และนกกระยาง ได้หายไปจากพื้นที่เช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณที่พีค๊อกบาสยังกระจายพันธุ์ไปไม่ถึง ที่สัตว์เหล่านี้ยังอยู่กันครบเหมือนเดิม
4. ผลกระทบต่อแมลง
นักวิจัยบอกว่าข้อมูลของแมลงมีน้อยมากในพื้นที่ แต่ก็มีแมลงอยู่ชนิดหนึ่งที่มีการเก็บสถิติอย่างละเอียด เพราะมีผลกระทบต่อมนุษย์โดยตรง ซึ่งสัตว์ชนิดนั้นก็คือยุงลายนั่นเอง เพราะมีการเก็บสถิติไว้อยู่ตลอดเวลา โดยนักวิจัยใช้กับดักล่อด้วยไฟขนาดเล็ก ผลที่ได้ก็คือ หลังจากที่มีการระบาดของพีค๊อกบาสในพื้นที่ และปลาชนิดนี้ได้กินปลาขนาดเล็กที่โดยปกติจะคอยกินลูกน้ำและยุง จำนวนยุงที่จับได้ในช่วง 3 ปีต่อมาที่มีการเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นเชื้อของไข้มาเลเลียที่มีการระบาดยังเปลี่ยนไปจากเดิมที่กว่าร้อยละ 95 เป็นเชื้อชนิด Plasmodium vivax และอีกร้อยละ 5 ที่เหลือเป็นชนิด P. falciparum แต่เริ่มจากปีที่เริ่มมีการระบาดของพีค๊อกบาสปรากฏว่า ในบรรดาผู้ที่ติดเชื้อกว่าร้อยละ 60 กลายเป็นเชื้อชนิด P. falciparum ซึ่งตัวนักวิจัยเองก็บอกว่า ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลดิบที่นำมาเสนอ แต่ไม่อาจจะรับรองได้ว่าเกี่ยวข้องกันจริงกับการระบาดของพีค๊อกบาสในพื้นที่หรือไม่
5. สรุป
บทสรุปของการที่มีเจ้าพีค๊อกบาสมาระบาดในพื้นที่ นักวิจัยสรุปว่ามันทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง จากเดิมที่ห่วงโซ่อาหารถูกขึงรากไปมาเป็นใยแมงมุมเริ่มตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงผู้บริโภคหลายขั้นตอน ทั้งหมดถูกทำลายจนกลายเป็นเส้นง่ายๆ มีสิ่งมีชีวิตเหลืออยู่ในระบบไม่กี่ชนิด สัตว์หลายชนิด อย่างปลาตาเหลือกยักษ์ นกกินปลา ปลาขนาดเล็กหลายชนิดหายออกไปจากระบบ ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนไปอย่างไม่น่าเชื่อ เป็นบทเรียนที่น่าสนใจจากปานามา ที่อาจกำลังจะเกิดขึ้นในบ้านเรา ลองเอาปลากลุ่มของบ้านเราเข้าไปแทนปลาจากปานามาที่หายไป ก็จะพบว่า พวกกลุ่มปลาซิว ปลาตะเพียนเล็กๆ ปลากริม คงจะหมดไป นกกระเต็น นกกระยางก็คงจะลดลง ซึ่งเท่าที่ผมได้สัมผัสมาในแหล่งน้ำของบ้านเราที่มีใครสักคนปล่อยพีค๊อกบาสลงไป ก็พบว่าปลาท้องถิ่นของเราลดลงจริงๆ นักตกปลา ชาวประมง ก็ยอมรับว่าปลาท้องถิ่นของเราลดลงหลังจากที่มีการปล่อยพีค๊อกบาสลงไป และเราไม่รู้ว่าอะไรหลายๆอย่างอาจจะเปลี่ยนไปแล้วก็ได้ ก็ลองคิดกันดูแล้วกันครับว่าคุ้มไหมที่จะเสี่ยงในเมื่อเรารู้ทั้งรู้ว่าปลาชนิดนี้เคยทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง หรือลองคิดอีกที.....
เรามีสิทธิ์ที่จะเอาระบบนิเวศบ้านเราไปเสี่ยงหรือเปล่า?
อ้างอิง
Thomas M. Zaret, R. T. Paine. 1973. Species Introduction in a TropicalLake, A newly introduced piscivore can produce population changes in a wide range of trophic levels. Science Vol.182. P.449-455
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ขอบคุณพี่นนณ์น่ะครับ ที่นำความรู้ที่น่าตื่นตัวอย่างนี้ มาบอกกล่าวกัน
ต้องขยายออกไปครับ ให้รับรู้กันมากที่สุด
ความเห็นที่ 3
ขอบคุณครับสำหรับความรู้
ตอนนี้เห็นว่ามีปลาหมอบัตเต้อร์ในเบางเขื่อนแล้วนะครับ
http://jawnoyfishing.blogspot.com/2010/06/alien-species-2.html
ความเห็นที่ 4
ขอบคุณมากครับ นณณ์
ปลาต่างด้าวนี้มีผลต่อห่วงโซ่อาหารเดิม
ว่าแต่เนื้อมันน่าจะเหมือนพวกปลากระพงไหม
ความเห็นที่ 5
หมอบัตเตอร์ที่เขื่อนศรีฯ กลายเป็นของคู่กันไปแล้วครับคุณ maprow ผมก็รอดูอยู่ว่าจะเป็นยังไงต่อเหมืนอกันครับ
ความเห็นที่ 6
ลองเข้าไปดูเว็ปตกปลาหลาย ๆ เว็ปครับ จะเห็นว่ามีบางคนที่พยายามจะหาสายพันธุ์ปลาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะปลาล่าเหยื่อนำมาปล่อยในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
ซึ่งกระทู้ผมตอนแรกก็เพียงหวังจะใช้สื่อที่มีของเว็ปตกปลานั้น เป็นช่องทางหนึ่งในการให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ แต่ไม่รู้ว่าโนลบทำไมครับ
ความเห็นที่ 7
อาจจะเป็นกรณีคล้ายกับ นกปากห่าง กับหอยเชอร์รี่ แต่คนละเงื่อนไข
เช่นพีค็อกบาสอาจจะไม่ชอบกินปลาหมอมาคู แต่ชอบกินปลาที่เป็นตัวห้ำของปลาหมอมาคูเอง ฯลฯ