เรื่องของแมงมุมแม่หม้าย...อีกหลายแง่มุมที่คุณอาจยังไม่รู้
เขียนโดย coneman Authenticated user เมื่อ 4 ตุลาคม 2554
เรื่อง: coneman
จากคำบอกเล่ากันปากต่อปาก รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลทั้งสื่อโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ หรืแม้แต่สารคดี ถึงพิษที่มีความรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตของกลุ่มแมงมุมแม่หม้าย (Widow spiders) จึงไม่น่าแปลกใจเลยเมื่อการปรากฏตัวของแมงมุมกลุ่มนี้ในแต่ละครั้งจะสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนในพื้นที่ และโดยเฉพาะกับประเทศที่แทบไม่มีข้อมูลแมงมุมกลุ่มนี้อยู่เลย ความตื่นตกใจย่อมเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว และคงปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อก็เป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้กระแสความหวาดกลัวขยายวงกว้างออกไป เหตุการณ์ที่สามรถยกมาเป็นตัวอย่างได้ชัดเจนคือกรณีการพบแมงมุมแม่หม้ายชนิดหนึ่งที่มีลำตัวสีดำและมีลายบนส่วนท้อง (abdomen) สีแดง บนเกาะ Iriomote ในประเทศญี่ปุ่น ในเดือนพฤศจิกายน ปี คศ. 1995 เหตุการณ์นั้นสร้างกระแสความหวาดกลัวแมงมุมกลุ่มนี้ไปทั่วญี่ปุ่น ทุกฝ่ายมุ่งเน้นถึงแหล่งที่มาของแมงมุมกลุ่มนี้ไปที่การนำเข้าหรือติดมาโดยมนุษย์ (human-induced distribution) และเกือบจะทันทีแมงมุมชนิดดังกล่าวถูกตัดสินทันทีว่าเป็นสัตว์ต่างถิ่น (alien species) โดยเข้าใจว่าเป็นแมงมุมแม่หม้ายหลังแดงจากออสเตรเลีย(redback spiders – Latrodectus hasselti) นำไปสู่การกำจัดและทำลายอย่างเร่งด่วน ในอีก 7 ปี ต่อมาเมื่อมีการศึกษาอย่างละเอียดโดย Dr. Hirotsugu Ono พบว่าแมงมุมชนิดดังกล่าวเป็นชนิด Latrodectus elegans ซึ่งเป็นชนิดที่พบแถบเอเชีย โดยพบครั้งแรกในพม่าในปี คศ. 1898 มีการแพร่กระจายในลาว จีน และน่าจะเป็นแมงมุมพื้นถิ่น (native species) ของญี่ปุ่นเอง และอีกหนึ่งเหตุการณ์ใกล้ตัวคือกระแสความหวาดกลัวจากแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาล (brown widow – Latrodectus geometricus) ในประเทศไทยในปี พศ. 2552 ที่พบบริเวณภาคกลางของประเทศไทย เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความตื่นตกใจให้กับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมากเพระมีการชูประเด็นความรุนแรงของพิษเทียบกับแมงมุมแม่หม้ายดำ (black widows – Latrodectus mactans) ว่าร้ายแรงกว่า 2 เท่า อีกทั้งยังร้ายแรงกว่าพิษงูเห่าถึง 3 เท่า ยิ่งกว่านั้นสื่อบางประเภทได้เผยแพร่ภาพบาดแผลที่ดูน่ากลัวอ้างว่าเป็นการถูกกัดจากแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาล ทั้งที่ข้อเท็จจริงเป็นภาพแผลที่เกิดจากการกัดของแมงมุม brown recluse spider (Loxosceles recluse) ที่มีพิษออกฤทธิ์ต่อระบบโลหิต (haemotoxin) จึงทำให้ชื่อแมงมุมแม่หม้ายเป็นที่รู้จักในแง่ร้ายอย่างรวดเร็ว และอีกครั้งหนึ่งแมงมุมชนิดนี้ถูกตัดสินเป็นสัตว์ต่างถิ่นอีกเช่นเคย และจบลงด้วยการโดนทำลายซ้ำรอยเหมือนในญี่ปุ่นและในอีกหลายประเทศ จะเห็นได้ว่าทุกครั้งที่มีการพบแมงมุมแม่หม้าย มักเป็นประเด็นใหญ่ที่ทุกคนจับตาแทบทุกครั้ง ข้อมูลสารพัดจะผุดขึ้นมากมายและกระจายออกไปโดยสื่อซึ่งมีทั้งเรื่องที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ดังนั้นการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับแมงมุมแม่หม้ายอย่างถูกต้องน่าจะทำให้ทัศนคติที่มีต่อแมงมุมกลุ่มนี้ดีขึ้น
แมงมุมแม่หม้ายชนิด Latrodectus elegansพบบนเกาะ Iriomote ในประเทศญี่ปุ่น โดยครั้งหนึ่งถูกเข้าใจว่าเป็นแมงมุมแม่หม้ายชนิด Latrodectus hasselti ที่พบแพร่กระจายในออสเตรเลีย ทำให้เกิดกระแสความหวาดกลัวแมงมุมไปทั่วญี่ปุ่น (ภาพโดย H. Ono)
แมงมุมแม่หม้ายหลังแดง Latrodectus hasseltiพบกระจายในออสเตรเลียและถูกบันทึกเป็นแมงมุมต่างถิ่นในหลายประเทศ
(ที่มา: http://carinedelros.multiply.com/journal)
ประเทศไทยไม่มีแมงมุมแม่หม้ายจริงหรือ?
คนส่วนใหญ่ยังคงมีความเข้าใจและยึดติดว่าแมงมุมแม่หม้ายหรือแมงมุมในสกุล Latrodectus นั้น พบเฉพาะในอเมริกา หรือในออสเตรเลีย ส่วนในพื้นที่อื่นของโลกหากพบจะต้องมีแหล่งที่มาจากสองประเทศดังกล่าว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ความจริงก็คือ แมงมุมในสกุล Latrodectus นั้น สามารถพบได้ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก เอกสารทางวิชาการหลายชิ้นให้น้ำหนักว่าแมงมุมสกุลนี้แยกสายวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน (monophyletic group) โดยบรรพบุรุษของแมงมุมสกุลนี้น่าจะอยู่ในทวีปแอฟริกาก่อนแพร่กระจายออกไปยังทวีปต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้นแมงมุมแม่หม้ายในอเมริกาหรือในออสเตรเลียจึงน่าจะถือกำเนิดขึ้นมาทีหลัง ส่วนต้นกำเนิดในแอฟริกากลับไม่เป็นที่รู้จัก เหตุผลหนึ่งที่แมงมุมแม่หม้ายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั้งในอเมริกาและออสเตรเลียก็เนื่องจากมีรายงานการเสียชีวิตจากการถูกกัดของแมงมุมกลุ่มนี้ในสองประเทศดังกล่าว และเนื่องจากเป็นแมงมุมที่อาศัยอยู่ในบริเวณบ้านเรือนของคน อัตราการถูกกัดจากแมงมุมกลุ่มนี้จึงมีสูง ทำให้มีการตื่นตัวสนใจศึกษาแมงมุมกลุ่มนี้ทั้งด้านอนุกรมวิธานและพิษวิทยาอย่างแพร่หลาย ชื่อและรูปลักษณ์ของแมงมุมแม่หม้ายดำ Latrodectus mactans ที่มีพื้นตัวสีดำและมีแถบรูปร่างคล้ายนาฬิกาทรายสีแดงสดบริเวณใต้ส่วนท้องที่พบในอเมริกา และแมงมุมแม่หม้ายหลังแดง Latrodectus hasselti ที่มีลำตัวสีดำมีแถบรูปนาฬิกาทรายสีแดงใต้ส่วนท้องและมีแถบยาวสีแดงสดด้านบนส่วนท้องที่พบในออสเตรเลีย กลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางผ่านออกไปตามสื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และตำราเรียน จนทำให้แทบเป็นแมงมุมเพียงกลุ่มเดียวที่มีคนรู้จักเกือบทั่วโลกในแง่ของแมงมุมที่มีอันตราย และโดยเฉพาะแถบนาฬิกาทรายสีสดใต้ส่วนท้องของพวกมันแล้ว ดูจะเป็นสัญลักษณ์ประจำตระกูลที่ทุกคนรู้จัก มาถึงตรงนี้หลายท่านอาจสงสัยว่าประเทศไทยเรามีแมงมุมกลุ่มนี้อยู่รึเปล่า คำตอบคือมีครับ ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่ประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในเขตร้อนจะมีแมงมุมแม่หม้ายอาศัยอยู่ แต่เนื่องจากการศึกษาแมงมุมในบ้านเรามีน้อย ประกอบกับไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใครจึงทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะกลุ่มแมงมุมในบ้านเราแทบไม่มีอยู่เลย จึงไม่น่าแปลกใจเลยเมื่อมีการพบแมงมุมกลุ่มนี้เข้าในบ้านเรา พวกมันจึงโดนเหมาเป็นสัตว์ต่างถิ่นเหมือนในหลายๆประเทศ จากการสืบค้นเอกสารทางวิชาการมีงานที่กล่าวถึงแมงมุมแม่หม้ายในประเทศไทยอยู่ 2 ชิ้น คือ การพบแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาล Latrodectus geometricus ในประเทศไทยตั้งแต่ปี คศ. 1987 หรือเมื่อ 24 ปีที่แล้ว บนดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ โดย Dr, Konrad Thaler และอีกเอกสารหนึ่งที่น่าสนใจคือบทความวิชาการในวารสารสารศิริราช ปีที่ 32 ฉบับที่ 11 ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2523 หรือเมื่อ 31 ปี ที่แล้วรายงานถึงผู้ป่วยซึ่งโดนกัดโดยแมงมุมที่ระบุว่าเป็นสกุล Latrodectus ซึ่งคาดว่าเป็นชนิด Latrodectus curacaviensis ที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งน่าจะมีการจำแนกชนิดแมงมุมผิดพลาดเนื่องจากในบทความกล่าวถึงแมงมุมตัวสีน้ำตาลมีขนบนลำตัวจำนวนมากและอาศัยอยู่บนพื้นดิน ซึ่งในแมงมุมแม่หม้ายมองเห็นขนบนลำตัวไม่ชัดเจนและไม่ได้อาศัยอยู่บนพื้น รวมถึงการจำแนกดังกล่าวได้ใช้เพียงส่วนความยาวของเขี้ยว (chelicerae) มาเทียบในการจำแนกชนิด ซึ่งไม่มีความถูกต้อง แต่ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ Latrodectus curacaviensis ที่จำแนกไว้นั้นมีการกระจายอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ และลำตัวไม่ได้มีสีน้ำตาลแต่มีสีดำและมีลายแถบสีแดงพาดอยู่บนหลัง ซึ่งมีความคล้ายกับแมงมุมแม่หม้ายชนิดหนึ่งที่พบกระจายในบางพื้นที่ของประเทศไทย รวมถึงมีความคล้ายคลึงกับ Latrodectus elegans ที่พบในญี่ปุ่น พม่า จีน และลาว แต่อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยไม่สามารถค้นหาตัวอย่างแมงมุมตัวดังกล่าวได้ จึงยังเป็นปริศนาว่ามันคือแมงมุมแม่หม้ายจริงๆหรือไม่ และถ้าใช่เป็นชนิดไหน จากหลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ากลุ่มแมงมุมแม่หม้ายถูกพบในประเทศไทยมานานแล้ว ไม่ได้เพิ่งมีการกระจายเข้ามาอย่างที่เข้าใจกัน ปัจจุบันสามารถพบแมงมุมแม่หม้ายได้เกือบทุกภาคของประเทศไทย ทั้งในเขตชุมชนและเขตป่า คาดว่ามีแมงมุมแม่หม้ายในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 2 ชนิด และเราได้อยู่ร่วมกับพวกมันมาเป็นเวลานานแล้วโดยไม่รู้ตัว และไม่เกิดอันตรายใดๆ
คนส่วนใหญ่ยังคงมีความเข้าใจและยึดติดว่าแมงมุมแม่หม้ายหรือแมงมุมในสกุล Latrodectus นั้น พบเฉพาะในอเมริกา หรือในออสเตรเลีย ส่วนในพื้นที่อื่นของโลกหากพบจะต้องมีแหล่งที่มาจากสองประเทศดังกล่าว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ความจริงก็คือ แมงมุมในสกุล Latrodectus นั้น สามารถพบได้ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก เอกสารทางวิชาการหลายชิ้นให้น้ำหนักว่าแมงมุมสกุลนี้แยกสายวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน (monophyletic group) โดยบรรพบุรุษของแมงมุมสกุลนี้น่าจะอยู่ในทวีปแอฟริกาก่อนแพร่กระจายออกไปยังทวีปต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้นแมงมุมแม่หม้ายในอเมริกาหรือในออสเตรเลียจึงน่าจะถือกำเนิดขึ้นมาทีหลัง ส่วนต้นกำเนิดในแอฟริกากลับไม่เป็นที่รู้จัก เหตุผลหนึ่งที่แมงมุมแม่หม้ายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั้งในอเมริกาและออสเตรเลียก็เนื่องจากมีรายงานการเสียชีวิตจากการถูกกัดของแมงมุมกลุ่มนี้ในสองประเทศดังกล่าว และเนื่องจากเป็นแมงมุมที่อาศัยอยู่ในบริเวณบ้านเรือนของคน อัตราการถูกกัดจากแมงมุมกลุ่มนี้จึงมีสูง ทำให้มีการตื่นตัวสนใจศึกษาแมงมุมกลุ่มนี้ทั้งด้านอนุกรมวิธานและพิษวิทยาอย่างแพร่หลาย ชื่อและรูปลักษณ์ของแมงมุมแม่หม้ายดำ Latrodectus mactans ที่มีพื้นตัวสีดำและมีแถบรูปร่างคล้ายนาฬิกาทรายสีแดงสดบริเวณใต้ส่วนท้องที่พบในอเมริกา และแมงมุมแม่หม้ายหลังแดง Latrodectus hasselti ที่มีลำตัวสีดำมีแถบรูปนาฬิกาทรายสีแดงใต้ส่วนท้องและมีแถบยาวสีแดงสดด้านบนส่วนท้องที่พบในออสเตรเลีย กลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางผ่านออกไปตามสื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และตำราเรียน จนทำให้แทบเป็นแมงมุมเพียงกลุ่มเดียวที่มีคนรู้จักเกือบทั่วโลกในแง่ของแมงมุมที่มีอันตราย และโดยเฉพาะแถบนาฬิกาทรายสีสดใต้ส่วนท้องของพวกมันแล้ว ดูจะเป็นสัญลักษณ์ประจำตระกูลที่ทุกคนรู้จัก มาถึงตรงนี้หลายท่านอาจสงสัยว่าประเทศไทยเรามีแมงมุมกลุ่มนี้อยู่รึเปล่า คำตอบคือมีครับ ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่ประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในเขตร้อนจะมีแมงมุมแม่หม้ายอาศัยอยู่ แต่เนื่องจากการศึกษาแมงมุมในบ้านเรามีน้อย ประกอบกับไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใครจึงทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะกลุ่มแมงมุมในบ้านเราแทบไม่มีอยู่เลย จึงไม่น่าแปลกใจเลยเมื่อมีการพบแมงมุมกลุ่มนี้เข้าในบ้านเรา พวกมันจึงโดนเหมาเป็นสัตว์ต่างถิ่นเหมือนในหลายๆประเทศ จากการสืบค้นเอกสารทางวิชาการมีงานที่กล่าวถึงแมงมุมแม่หม้ายในประเทศไทยอยู่ 2 ชิ้น คือ การพบแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาล Latrodectus geometricus ในประเทศไทยตั้งแต่ปี คศ. 1987 หรือเมื่อ 24 ปีที่แล้ว บนดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ โดย Dr, Konrad Thaler และอีกเอกสารหนึ่งที่น่าสนใจคือบทความวิชาการในวารสารสารศิริราช ปีที่ 32 ฉบับที่ 11 ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2523 หรือเมื่อ 31 ปี ที่แล้วรายงานถึงผู้ป่วยซึ่งโดนกัดโดยแมงมุมที่ระบุว่าเป็นสกุล Latrodectus ซึ่งคาดว่าเป็นชนิด Latrodectus curacaviensis ที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งน่าจะมีการจำแนกชนิดแมงมุมผิดพลาดเนื่องจากในบทความกล่าวถึงแมงมุมตัวสีน้ำตาลมีขนบนลำตัวจำนวนมากและอาศัยอยู่บนพื้นดิน ซึ่งในแมงมุมแม่หม้ายมองเห็นขนบนลำตัวไม่ชัดเจนและไม่ได้อาศัยอยู่บนพื้น รวมถึงการจำแนกดังกล่าวได้ใช้เพียงส่วนความยาวของเขี้ยว (chelicerae) มาเทียบในการจำแนกชนิด ซึ่งไม่มีความถูกต้อง แต่ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ Latrodectus curacaviensis ที่จำแนกไว้นั้นมีการกระจายอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ และลำตัวไม่ได้มีสีน้ำตาลแต่มีสีดำและมีลายแถบสีแดงพาดอยู่บนหลัง ซึ่งมีความคล้ายกับแมงมุมแม่หม้ายชนิดหนึ่งที่พบกระจายในบางพื้นที่ของประเทศไทย รวมถึงมีความคล้ายคลึงกับ Latrodectus elegans ที่พบในญี่ปุ่น พม่า จีน และลาว แต่อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยไม่สามารถค้นหาตัวอย่างแมงมุมตัวดังกล่าวได้ จึงยังเป็นปริศนาว่ามันคือแมงมุมแม่หม้ายจริงๆหรือไม่ และถ้าใช่เป็นชนิดไหน จากหลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ากลุ่มแมงมุมแม่หม้ายถูกพบในประเทศไทยมานานแล้ว ไม่ได้เพิ่งมีการกระจายเข้ามาอย่างที่เข้าใจกัน ปัจจุบันสามารถพบแมงมุมแม่หม้ายได้เกือบทุกภาคของประเทศไทย ทั้งในเขตชุมชนและเขตป่า คาดว่ามีแมงมุมแม่หม้ายในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 2 ชนิด และเราได้อยู่ร่วมกับพวกมันมาเป็นเวลานานแล้วโดยไม่รู้ตัว และไม่เกิดอันตรายใดๆ
(ที่มา: http://tolweb.org/Orbiculariae/2698)
Latrodectus curacaviensis พบกระจายในทวีปอเมริกาใต้ ถูกระบุเป็นชนิดที่กัดผู้ป่วยในวารสารสารศิริราช
คล้ายคล้าย....แต่แตกต่าง
เอกสารทางวิชาการหลายชิ้นให้น้ำหนักว่ากลุ่มแมงมุมแม่หม้ายได้แยกสายวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน (monophyletic group) เพียงไม่กี่กลุ่ม โดยแบ่งออกเป็นสายวิวัฒนาการสองกลุ่มหลักๆคือ กลุ่มสายวิวัฒนาการของแมงมุมแม่หม้ายดำ (Latrodectus mactans clade) และกลุ่มสายวิวัฒนาการของแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาล (Latrodectus geometricus clade) นอกจากนี้ยังมีอีกหลายชนิดที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ โดยในแต่ละกลุ่มสายวิวัฒนาการจะมีลักษณะโครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ ตลอดจนสีสันบนลำตัวที่คล้ายกันหรือเหมือนกัน และหลายชนิดในกลุ่มเดียวกันยังสามารถผสมพันธุ์ข้ามชนิดกันและให้ลูกที่ไม่เป็นหมันได้ จึงทำให้การจำแนกแมงมุมกลุ่มนี้ทางอนุกรมวิธานยังคงมีปัญหาเนื่องจากเป็นกลุ่มที่ยังคงมีความใกล้ชิดกัน (complex species) ดังตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบันคือ กลุ่มแมงมุมแม่หม้ายดำ (black widow)ซึ่งหลายชนิดมีสีบนลำตัวสีดำล้วนและมีแถบรูปร่างคล้ายนาฬิกาทรายสีแดงสดด้านล่างส่วนท้อง ซึ่งไปพ้องกับลักษณะของแมงมุมแม่หม้ายดำ (Latrodectus mactans) ในอเมริกา ทั้งหมดจึงโดนระบุว่าเป็น L. mactans จากสีสันภายนอก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ L. mactans มีการกระจายกว้างในหลายทวีปและอยู่ในสถานะสัตว์ต่างถิ่น ความจริงอาจมีอยู่บ้างที่ L. mactans จะถูกนำเข้าไปยังภูมิภาคอื่นๆที่ไม่ใช่แหล่งกำเนิด แต่หลายกรณีก็กลับไม่ใช่เช่นกัน และด้วยปัญหาที่ type specimens หรือตัวอย่างต้นแบบของแมงมุมชนิดนี้ได้สูญหายไปในช่วงสงครามโลก ทำให้ปัญหาทางอนุกรมวิธานของแมงมุมแม่หม้ายมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น Dr. Norman I. Platnick ผู้เชี่ยวชาญแมงมุม ได้กล่าวว่า “ ชื่อ L. mactans นั้น ใช้ได้ถูกต้องกับแมงมุมแม่หม้ายดำที่พบในอเมริกาเท่านั้น เนื่องจากเป็นเพียงแหล่งเดียวที่ถูกต้องที่แมงมุมชนิดนี้ถูกเก็บตัวอย่างได้ ไม่ควรใช้ชื่อนี้กับแมงมุมที่ลักษณะคล้ายกันกับแมงมุมแม่หม้ายดำที่พบในภูมิภาคอื่นจนกว่าจะมีการตรวจสอบชนิดที่ถูกต้อง” ย้อนกลับมาที่ประเทศไทยซึ่งมีแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาลที่ใช้ชื่อ Latrodectus geometricus กระจายอยู่ในหลายภาค ข้อเท็จจริงคือแมงมุมในประเทศไทยนี้อาจไม่ใช่ L. geometricus อย่างที่เข้าใจ ในทำนองเดียวกันกับในกรณีแมงมุมแม่หม้ายดำ ตัวอย่างต้นแบบ (Holotype) ของแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาลได้สูญหายไป จึงไม่ทราบว่าแหล่งที่พบแมงมุมชนิดนี้ครั้งแรกคือที่ใด แต่บางเอกสารได้กล่าวว่าน่าจะเป็นประเทศโคลัมเบีย จึงเหลือเพียงภาพวาดและภาพถ่ายในเอกสารบางเล่มเท่านั้น ดังนั้นในปัจจุบันจึงใช้การเทียบสีสันกับเอกสารเท่านั้น ทำให้การแพร่กระจายของแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาลกว้างทั่วโลก Dr.Jeremy Miller ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มแมงมุมแม่หม้ายได้กล่าวว่า ”L. geometricus เป็นกลุ่ม complex คือมีแมงมุมหลายชนิด (ไม่ต่ำกว่า 6 ชนิดทั่วโลก) ที่ใช้ชื่อเดียวกันอยู่ โดยทั้งหมดมีสีสันใกล้เคียงกัน ซึ่งการจำแนกต้องใช้เวลาเก็บตัวอย่างจากทั่วโลกเพื่อเปรียบเทียบสัณฐานวิทยาและการศึกษาทางชีวโมเลกุลอย่างละเอียด ซึ่งเป็นงานที่หนักและต้องใช้เวลา และหากให้มีความสมบูรณ์ควรศึกษาเปรียบเทียบด้านพฤติกรรมด้วย”จากตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่ากลุ่มแมงมุมแม่หม้ายเป็นกลุ่มที่จำแนกชนิดได้ยาก และไม่สามารถใช้สีสันในการจำแนกได้ และด้วยการใช้สีสันมาตัดสินชนิดแมงมุมโดยไม่ได้ศึกษาลักษณะอื่นประกอบ จึงทำให้เกิดความสับสนของข้อมูลจากแหล่งต่างๆอยู่เสมอ และประเด็นที่น่าเป็นห่วงก็คือแมงมุมแม่หม้ายพื้นถิ่นมักโดนกำจัดทำลายเนื่องจากความเข้าใจผิดและไม่มีการตรวจสอบก่อนอย่างถี่ถ้วน อันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศไปอย่างไม่รู้ตัว เนื่องจากแมงมุมแม่หม้ายหลายชนิดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น (endemic species) ในหลายประเทศ เช่น Latrodectus katipo ในประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งมีสถานะใกล้สูญพันธุ์และมีกฎหมายคุ้มครอง แมงมุมชนิดนี้มีความคล้ายกับ Latrodectus hasselti ในออสเตรเลียอย่างมาก แต่เนื่องจากการไม่ด่วนสรุปและมีการศึกษาอย่างรอบคอบจึงทำให้ทราบว่าเป็นแมงมุมคนละชนิด และเป็นสัตว์พื้นถิ่นที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ตรงจุดนี้พวกเราไม่ได้หวังว่าแมงมุมแม่หม้ายในประเทศไทยจะต้องได้รับการคุ้มครอง เพียงแต่หากพบพวกเค้าอย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเป็นสัตว์ต่างถิ่นและเร่งทำลาย ควรศึกษาตรวจสอบให้รอบคอบ ไม่เช่นนั้นเราอาจกำลังทำลายแมงมุมที่พบเพียงแห่งเดียวในประเทศเราก็เป็นได้
เอกสารทางวิชาการหลายชิ้นให้น้ำหนักว่ากลุ่มแมงมุมแม่หม้ายได้แยกสายวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน (monophyletic group) เพียงไม่กี่กลุ่ม โดยแบ่งออกเป็นสายวิวัฒนาการสองกลุ่มหลักๆคือ กลุ่มสายวิวัฒนาการของแมงมุมแม่หม้ายดำ (Latrodectus mactans clade) และกลุ่มสายวิวัฒนาการของแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาล (Latrodectus geometricus clade) นอกจากนี้ยังมีอีกหลายชนิดที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ โดยในแต่ละกลุ่มสายวิวัฒนาการจะมีลักษณะโครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ ตลอดจนสีสันบนลำตัวที่คล้ายกันหรือเหมือนกัน และหลายชนิดในกลุ่มเดียวกันยังสามารถผสมพันธุ์ข้ามชนิดกันและให้ลูกที่ไม่เป็นหมันได้ จึงทำให้การจำแนกแมงมุมกลุ่มนี้ทางอนุกรมวิธานยังคงมีปัญหาเนื่องจากเป็นกลุ่มที่ยังคงมีความใกล้ชิดกัน (complex species) ดังตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบันคือ กลุ่มแมงมุมแม่หม้ายดำ (black widow)ซึ่งหลายชนิดมีสีบนลำตัวสีดำล้วนและมีแถบรูปร่างคล้ายนาฬิกาทรายสีแดงสดด้านล่างส่วนท้อง ซึ่งไปพ้องกับลักษณะของแมงมุมแม่หม้ายดำ (Latrodectus mactans) ในอเมริกา ทั้งหมดจึงโดนระบุว่าเป็น L. mactans จากสีสันภายนอก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ L. mactans มีการกระจายกว้างในหลายทวีปและอยู่ในสถานะสัตว์ต่างถิ่น ความจริงอาจมีอยู่บ้างที่ L. mactans จะถูกนำเข้าไปยังภูมิภาคอื่นๆที่ไม่ใช่แหล่งกำเนิด แต่หลายกรณีก็กลับไม่ใช่เช่นกัน และด้วยปัญหาที่ type specimens หรือตัวอย่างต้นแบบของแมงมุมชนิดนี้ได้สูญหายไปในช่วงสงครามโลก ทำให้ปัญหาทางอนุกรมวิธานของแมงมุมแม่หม้ายมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น Dr. Norman I. Platnick ผู้เชี่ยวชาญแมงมุม ได้กล่าวว่า “ ชื่อ L. mactans นั้น ใช้ได้ถูกต้องกับแมงมุมแม่หม้ายดำที่พบในอเมริกาเท่านั้น เนื่องจากเป็นเพียงแหล่งเดียวที่ถูกต้องที่แมงมุมชนิดนี้ถูกเก็บตัวอย่างได้ ไม่ควรใช้ชื่อนี้กับแมงมุมที่ลักษณะคล้ายกันกับแมงมุมแม่หม้ายดำที่พบในภูมิภาคอื่นจนกว่าจะมีการตรวจสอบชนิดที่ถูกต้อง” ย้อนกลับมาที่ประเทศไทยซึ่งมีแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาลที่ใช้ชื่อ Latrodectus geometricus กระจายอยู่ในหลายภาค ข้อเท็จจริงคือแมงมุมในประเทศไทยนี้อาจไม่ใช่ L. geometricus อย่างที่เข้าใจ ในทำนองเดียวกันกับในกรณีแมงมุมแม่หม้ายดำ ตัวอย่างต้นแบบ (Holotype) ของแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาลได้สูญหายไป จึงไม่ทราบว่าแหล่งที่พบแมงมุมชนิดนี้ครั้งแรกคือที่ใด แต่บางเอกสารได้กล่าวว่าน่าจะเป็นประเทศโคลัมเบีย จึงเหลือเพียงภาพวาดและภาพถ่ายในเอกสารบางเล่มเท่านั้น ดังนั้นในปัจจุบันจึงใช้การเทียบสีสันกับเอกสารเท่านั้น ทำให้การแพร่กระจายของแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาลกว้างทั่วโลก Dr.Jeremy Miller ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มแมงมุมแม่หม้ายได้กล่าวว่า ”L. geometricus เป็นกลุ่ม complex คือมีแมงมุมหลายชนิด (ไม่ต่ำกว่า 6 ชนิดทั่วโลก) ที่ใช้ชื่อเดียวกันอยู่ โดยทั้งหมดมีสีสันใกล้เคียงกัน ซึ่งการจำแนกต้องใช้เวลาเก็บตัวอย่างจากทั่วโลกเพื่อเปรียบเทียบสัณฐานวิทยาและการศึกษาทางชีวโมเลกุลอย่างละเอียด ซึ่งเป็นงานที่หนักและต้องใช้เวลา และหากให้มีความสมบูรณ์ควรศึกษาเปรียบเทียบด้านพฤติกรรมด้วย”จากตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่ากลุ่มแมงมุมแม่หม้ายเป็นกลุ่มที่จำแนกชนิดได้ยาก และไม่สามารถใช้สีสันในการจำแนกได้ และด้วยการใช้สีสันมาตัดสินชนิดแมงมุมโดยไม่ได้ศึกษาลักษณะอื่นประกอบ จึงทำให้เกิดความสับสนของข้อมูลจากแหล่งต่างๆอยู่เสมอ และประเด็นที่น่าเป็นห่วงก็คือแมงมุมแม่หม้ายพื้นถิ่นมักโดนกำจัดทำลายเนื่องจากความเข้าใจผิดและไม่มีการตรวจสอบก่อนอย่างถี่ถ้วน อันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศไปอย่างไม่รู้ตัว เนื่องจากแมงมุมแม่หม้ายหลายชนิดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น (endemic species) ในหลายประเทศ เช่น Latrodectus katipo ในประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งมีสถานะใกล้สูญพันธุ์และมีกฎหมายคุ้มครอง แมงมุมชนิดนี้มีความคล้ายกับ Latrodectus hasselti ในออสเตรเลียอย่างมาก แต่เนื่องจากการไม่ด่วนสรุปและมีการศึกษาอย่างรอบคอบจึงทำให้ทราบว่าเป็นแมงมุมคนละชนิด และเป็นสัตว์พื้นถิ่นที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ตรงจุดนี้พวกเราไม่ได้หวังว่าแมงมุมแม่หม้ายในประเทศไทยจะต้องได้รับการคุ้มครอง เพียงแต่หากพบพวกเค้าอย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเป็นสัตว์ต่างถิ่นและเร่งทำลาย ควรศึกษาตรวจสอบให้รอบคอบ ไม่เช่นนั้นเราอาจกำลังทำลายแมงมุมที่พบเพียงแห่งเดียวในประเทศเราก็เป็นได้
Latrodectus katipoแมงมุมแม่หม้ายที่ได้รับการคุ้มครองในประเทศนิวซีแลนด์
(ที่มา http://aranearium.cz/cz/gallery.aspx?gen=Latrodectus&spe=katipo)
อันตรายของแมงมุมแม่หม้าย
พิษของแมงมุมแม่หม้ายมีชื่อเรียกเฉพาะว่า Latrotoxin ซึ่งจัดเป็นพิษที่มีผลหลักต่อระบบประสาท (neurotoxin) โดยพิษจะทำให้เกิดช่องว่างบริเวณปลายเซลล์ประสาท ส่งผลให้แคลเซียมไอออน (Ca2+) ไหลเข้าสู่ปลายเซลล์ประสาทซึ่งเป็นกลไกให้เกิดการปล่อยสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ตลอดเวลา ทำให้เกิดการส่งกระแสประสาทอย่างต่อเนื่องและมากกว่าปกติ ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกร็งจนเป็นอัมพาต ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตจะเกิดจากกล้ามเนื้อกระบังลมและกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงาน แต่แมงมุมกลุ่มนี้ไม่ได้อันตรายมากมายอย่างที่เข้าใจกัน พิษของแมงมุมกลุ่มนี้แม้มีการเปรียบเทียบให้ดูน่ากลัวเทียบกับพิษงูก็จริง แต่นั่นคือการเทียบพิษในปริมาณเท่ากันต้องใช้แมงมุมหลายสิบตัวถึงจะได้ปริมาณน้ำพิษมาเทียบกับพิษงูเพียงหยดเดียว ดังนั้นความจริงก็คือแมงมุมตัวเดี่ยวๆจะปล่อยพิษออกมาน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาตรมวลเลือดในร่างกาย ทำให้แค่เจ็บปวดเมื่อโดนกัด เขี้ยวของแมงมุมกลุ่มนี้มีขนาดเล็กมากมีเพียงแมงมุมเพศเมียเต็มวัยเท่านั้นที่สามารถกัดและจะต้องกัดย้ำหลายครั้งจึงจะทะลุผิวหนังที่หนาของมนุษย์ได้ แต่พฤติกรรมเช่นนี้แทบไม่พบเลยเนื่องจากกลุ่มแมงมุมแม่หม้ายไม่ใช่กลุ่มแมงมุมที่ดุร้าย แม้กระทั่งไปยุ่งในรังเค้าเค้าก็จะวิ่งหลบซ่อนตัวเสมอ แม้จะเป็นช่วงที่เฝ้าไข่อยู่ก็ไม่เคยแสดงอาการก้าวร้าว การกัดส่วนใหญ่เกิดจากการกดทับตัวแมงมุมเช่นใส่รองเท้าหรือถุงมือหรือเสื้อผ้าที่มีแมงมุมอยู่ ทำให้แมงมุมเจ็บและกัดย้ำเพื่อป้องกันตัว และอีกหนึ่งปัจจัยที่เชื่อว่าแมงมุมกลุ่มนี้กัดแล้วทำให้เสียชีวิตนั้น เป็นการตื่นตระหนกจนเกินเหตุ อัตราการตายจากแมงมุมกลุ่มนี้ถือว่าต่ำมาก (น้อยกว่า 5%) และข้อมูลส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศที่ประชากรมีภูมิต้านทานพิษต่ำกว่าบ้านเรา จะเห็นได้ว่าฝรั่งตัวโตๆโดนผึ้งต่อยก็แพ้จนเสียชีวิตได้
ความเข้าใจที่ถูกต้องกับแมงมุมแม่หม้าย
ในประเทศเขตหนาวอย่างอเมริกา แมงมุมแม่หม้ายดูจะเป็นแมงมุมกลุ่มเด่นและสามารถพบได้ทั่วไปตามบ้านเรือน พวกมันจึงเป็นกลุ่มแมงมุมที่มีความสำคัญทางสาธารณสุขในอันดับต้นๆของที่นั่น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้แมงมุมกลุ่มนี้มีประชากรสูงก็เนื่องจากในประเทศอเมริกามีความหลากหลายของแมงมุมที่มีความต้องการทางนิเวศคล้ายกับแมงมุมแม่หม้ายน้อยนั่นเอง จึงทำให้ปัจจัยการแข่งขันด้านอาหารตลอดจนความหลากหลายของผู้ล่ามีผลน้อยมาก และด้วยการใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงและแมงมุมในพื้นที่ที่ระบาดกลับทำให้ศัตรูธรรมชาติของแมงมุมแม่หม้ายน้อยลงไปอีก เมื่อกลับมามองที่ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น ซึ่งน่าจะเป็นภูมิภาคที่แมงมุมแม่หม้ายสามารถดำรงชีวิตได้ดีกว่าอากาศที่หนาวเย็นอย่างในอเมริกาหรือยุโรป แต่แมงมุมแม่หม้ายกลับมีจำนวนประชากรไม่มากอย่างที่คิด และการระบาดของแมงมุมกลุ่มนี้แทบเกิดขึ้นไม่ได้เลยในประเทศไทย จากการศึกษาเกี่ยวกับแมงมุมกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ที่พบแมงมุม พบว่าขนาดประชากรจะลดลงเรื่อยๆจนหายไปในที่สุด สาเหตุหลักที่ทำให้ขนาดของประชากรของแมงมุมแม่หม้ายในประเทศไทยลดลงเนื่องมาจากไข่ถูกทำลายจากแตนเบียนในวงศ์ Trichogrammatidae นอกจากนั้นยังมีความหลากหลายของผู้ล่าโดยเฉพาะแมงมุมด้วยกันสูง จากการศึกษามักพบแมงมุมในวงศ์ Pholcidae และ Scytodidae อาศัยอยู่ในแหล่งเดียวกับแมงมุมแม่หม้าย โดยแมงมุมทั้งสองกลุ่มมักล่าแมงมุมแม่หม้ายเป็นอาหาร ดังนั้นความเข้าใจที่ว่าแมงมุมแม่หม้ายถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศและแพร่กระจายไปเกือบทั่วประเทศในเวลาอันรวดเร็วนั้นจึงเป็นไปได้ยากมาก ความเป็นไปได้ที่แม่แมงมุมที่ได้รับการผสมหรือถุงไข่ของแมงมุมจะติดเข้ามานั้นมีความเป็นไปได้ แต่โอกาสรอดของลูกแมงมุมในธรรมชาติกลับมีน้อยมาก จากการศึกษาในกรณีแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาล (Latrodectus geometricus) ในประเทศไทยพบว่าแม่แมงมุมสามารถสร้างถุงไข่ได้ 20 -22 ถุง จากการผสมพันธุ์กับแมงมุมเพศผู้เพียงครั้งเดียว โดยวางห่างกันเฉลี่ย 1 อาทิตย์ ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความถี่ในการวางไข่ของแมงมุมคืออาหาร หากได้รับอาหารเพียงพอสม่ำเสมอความถี่ในการวางไข่ก็จะเพิ่มมากขึ้น ใน 1 ถุงไข่ อาจมีไข่จำนวนได้ตั้งแต่ 30 – 180 ฟอง โดยถุงไข่ชุดแรกๆจะมีปริมาณเยอะกว่าชุดหลัง ไข่ใช้เวลา 20 -22 วันในการฟักเป็นตัว และหลังจากฟักเป็นตัวแล้ว 1 อาทิตย์ ลูกแมงมุมจะเริ่มกินกันเอง ด้วยสาเหตุนี้ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประชากรของแมงมุมแม่หม้ายลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะนอกจากผู้ล่าอื่นแล้ว แมงมุมแม่หม้ายก็กินกันเองด้วยเช่นกัน ดังนั้นในพื้นที่หนึ่งจะมีการกระจายตัวของแมงมุมห่างๆกัน ไม่หนาแน่น แสดงให้เห็นว่าศัตรูธรรมชาติเป็นตัวควบคุมประชากรแมงมุมแม่หม้ายอย่างมีประสิทธิภาพ และปัจจัยเสริมอีกประการหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยทราบก็คือแมงมุมแม่หม้ายแต่ละชนิดต้องการสภาพนิเวศที่มีความเหมาะสมแตกต่างกัน นั่นคือพวกมันไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ได้ทุกที่ที่พวกมันกระจายไปถึง ได้มีการศึกษาในประเทศนิวซีแลนด์โดยการนำเอา Latrodectus katipo ซึ่งมีประชากรน้อยและมักพบอาศัยบริเวณชายฝั่งทะเล นำไปปล่อยในบริเวณอื่นเช่นในเขตเมือง หรือป่าที่มีปริมาณอาหารซึ่งได้แก่แมลงมากกว่า จุดประสงค์เพื่อต้องการอนุรักษ์พวกมันนอกถิ่นอาศัยและเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น แต่กลับไม่สำเร็จ แมงมุมไม่สามารถอาศัยนอกถิ่นอาศัยของพวกมันได้และตายลงในที่สุด ในทำนองเดียวกันกับแมงมุมแม่หม้ายในบ้านเราพบว่าบางชนิดอาศัยอยู่เฉพาะบริเวณที่แห้งแล้งและมีอุณหภูมิค่อนข้างสูงจึงจะเจริญเติบโตลอกคราบได้ปกติ ในขณะที่บางชนิดต้องอาศัยในบริเวณที่มีความชื้นสูงจึงจะสามารถลอกคราบได้ ด้วยปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าการแพร่กระจายหรือการระบาดของแมงมุมแม่หม้ายไม่ใช่เรื่องง่ายเลย พวกมันจะพบหนาแน่นในที่ที่มีความเหมาะสมเท่านั้นและประชากรที่มีมากในช่วงแรกจะค่อยๆลดลงและหายไปในบางพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม พวกเราก็หวังว่าบทความนี้จะทำให้ทุกท่านมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับแมงมุมแม่หม้าย อย่างน้อยครั้งต่อไปการปรากฎตัวของพวกเค้าคงไม่สร้างความแตกตื่นเหมือนทุกๆครั้งที่ผ่านมา
พิษของแมงมุมแม่หม้ายมีชื่อเรียกเฉพาะว่า Latrotoxin ซึ่งจัดเป็นพิษที่มีผลหลักต่อระบบประสาท (neurotoxin) โดยพิษจะทำให้เกิดช่องว่างบริเวณปลายเซลล์ประสาท ส่งผลให้แคลเซียมไอออน (Ca2+) ไหลเข้าสู่ปลายเซลล์ประสาทซึ่งเป็นกลไกให้เกิดการปล่อยสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ตลอดเวลา ทำให้เกิดการส่งกระแสประสาทอย่างต่อเนื่องและมากกว่าปกติ ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกร็งจนเป็นอัมพาต ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตจะเกิดจากกล้ามเนื้อกระบังลมและกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงาน แต่แมงมุมกลุ่มนี้ไม่ได้อันตรายมากมายอย่างที่เข้าใจกัน พิษของแมงมุมกลุ่มนี้แม้มีการเปรียบเทียบให้ดูน่ากลัวเทียบกับพิษงูก็จริง แต่นั่นคือการเทียบพิษในปริมาณเท่ากันต้องใช้แมงมุมหลายสิบตัวถึงจะได้ปริมาณน้ำพิษมาเทียบกับพิษงูเพียงหยดเดียว ดังนั้นความจริงก็คือแมงมุมตัวเดี่ยวๆจะปล่อยพิษออกมาน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาตรมวลเลือดในร่างกาย ทำให้แค่เจ็บปวดเมื่อโดนกัด เขี้ยวของแมงมุมกลุ่มนี้มีขนาดเล็กมากมีเพียงแมงมุมเพศเมียเต็มวัยเท่านั้นที่สามารถกัดและจะต้องกัดย้ำหลายครั้งจึงจะทะลุผิวหนังที่หนาของมนุษย์ได้ แต่พฤติกรรมเช่นนี้แทบไม่พบเลยเนื่องจากกลุ่มแมงมุมแม่หม้ายไม่ใช่กลุ่มแมงมุมที่ดุร้าย แม้กระทั่งไปยุ่งในรังเค้าเค้าก็จะวิ่งหลบซ่อนตัวเสมอ แม้จะเป็นช่วงที่เฝ้าไข่อยู่ก็ไม่เคยแสดงอาการก้าวร้าว การกัดส่วนใหญ่เกิดจากการกดทับตัวแมงมุมเช่นใส่รองเท้าหรือถุงมือหรือเสื้อผ้าที่มีแมงมุมอยู่ ทำให้แมงมุมเจ็บและกัดย้ำเพื่อป้องกันตัว และอีกหนึ่งปัจจัยที่เชื่อว่าแมงมุมกลุ่มนี้กัดแล้วทำให้เสียชีวิตนั้น เป็นการตื่นตระหนกจนเกินเหตุ อัตราการตายจากแมงมุมกลุ่มนี้ถือว่าต่ำมาก (น้อยกว่า 5%) และข้อมูลส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศที่ประชากรมีภูมิต้านทานพิษต่ำกว่าบ้านเรา จะเห็นได้ว่าฝรั่งตัวโตๆโดนผึ้งต่อยก็แพ้จนเสียชีวิตได้
ความเข้าใจที่ถูกต้องกับแมงมุมแม่หม้าย
ในประเทศเขตหนาวอย่างอเมริกา แมงมุมแม่หม้ายดูจะเป็นแมงมุมกลุ่มเด่นและสามารถพบได้ทั่วไปตามบ้านเรือน พวกมันจึงเป็นกลุ่มแมงมุมที่มีความสำคัญทางสาธารณสุขในอันดับต้นๆของที่นั่น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้แมงมุมกลุ่มนี้มีประชากรสูงก็เนื่องจากในประเทศอเมริกามีความหลากหลายของแมงมุมที่มีความต้องการทางนิเวศคล้ายกับแมงมุมแม่หม้ายน้อยนั่นเอง จึงทำให้ปัจจัยการแข่งขันด้านอาหารตลอดจนความหลากหลายของผู้ล่ามีผลน้อยมาก และด้วยการใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงและแมงมุมในพื้นที่ที่ระบาดกลับทำให้ศัตรูธรรมชาติของแมงมุมแม่หม้ายน้อยลงไปอีก เมื่อกลับมามองที่ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น ซึ่งน่าจะเป็นภูมิภาคที่แมงมุมแม่หม้ายสามารถดำรงชีวิตได้ดีกว่าอากาศที่หนาวเย็นอย่างในอเมริกาหรือยุโรป แต่แมงมุมแม่หม้ายกลับมีจำนวนประชากรไม่มากอย่างที่คิด และการระบาดของแมงมุมกลุ่มนี้แทบเกิดขึ้นไม่ได้เลยในประเทศไทย จากการศึกษาเกี่ยวกับแมงมุมกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ที่พบแมงมุม พบว่าขนาดประชากรจะลดลงเรื่อยๆจนหายไปในที่สุด สาเหตุหลักที่ทำให้ขนาดของประชากรของแมงมุมแม่หม้ายในประเทศไทยลดลงเนื่องมาจากไข่ถูกทำลายจากแตนเบียนในวงศ์ Trichogrammatidae นอกจากนั้นยังมีความหลากหลายของผู้ล่าโดยเฉพาะแมงมุมด้วยกันสูง จากการศึกษามักพบแมงมุมในวงศ์ Pholcidae และ Scytodidae อาศัยอยู่ในแหล่งเดียวกับแมงมุมแม่หม้าย โดยแมงมุมทั้งสองกลุ่มมักล่าแมงมุมแม่หม้ายเป็นอาหาร ดังนั้นความเข้าใจที่ว่าแมงมุมแม่หม้ายถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศและแพร่กระจายไปเกือบทั่วประเทศในเวลาอันรวดเร็วนั้นจึงเป็นไปได้ยากมาก ความเป็นไปได้ที่แม่แมงมุมที่ได้รับการผสมหรือถุงไข่ของแมงมุมจะติดเข้ามานั้นมีความเป็นไปได้ แต่โอกาสรอดของลูกแมงมุมในธรรมชาติกลับมีน้อยมาก จากการศึกษาในกรณีแมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาล (Latrodectus geometricus) ในประเทศไทยพบว่าแม่แมงมุมสามารถสร้างถุงไข่ได้ 20 -22 ถุง จากการผสมพันธุ์กับแมงมุมเพศผู้เพียงครั้งเดียว โดยวางห่างกันเฉลี่ย 1 อาทิตย์ ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความถี่ในการวางไข่ของแมงมุมคืออาหาร หากได้รับอาหารเพียงพอสม่ำเสมอความถี่ในการวางไข่ก็จะเพิ่มมากขึ้น ใน 1 ถุงไข่ อาจมีไข่จำนวนได้ตั้งแต่ 30 – 180 ฟอง โดยถุงไข่ชุดแรกๆจะมีปริมาณเยอะกว่าชุดหลัง ไข่ใช้เวลา 20 -22 วันในการฟักเป็นตัว และหลังจากฟักเป็นตัวแล้ว 1 อาทิตย์ ลูกแมงมุมจะเริ่มกินกันเอง ด้วยสาเหตุนี้ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประชากรของแมงมุมแม่หม้ายลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะนอกจากผู้ล่าอื่นแล้ว แมงมุมแม่หม้ายก็กินกันเองด้วยเช่นกัน ดังนั้นในพื้นที่หนึ่งจะมีการกระจายตัวของแมงมุมห่างๆกัน ไม่หนาแน่น แสดงให้เห็นว่าศัตรูธรรมชาติเป็นตัวควบคุมประชากรแมงมุมแม่หม้ายอย่างมีประสิทธิภาพ และปัจจัยเสริมอีกประการหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยทราบก็คือแมงมุมแม่หม้ายแต่ละชนิดต้องการสภาพนิเวศที่มีความเหมาะสมแตกต่างกัน นั่นคือพวกมันไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ได้ทุกที่ที่พวกมันกระจายไปถึง ได้มีการศึกษาในประเทศนิวซีแลนด์โดยการนำเอา Latrodectus katipo ซึ่งมีประชากรน้อยและมักพบอาศัยบริเวณชายฝั่งทะเล นำไปปล่อยในบริเวณอื่นเช่นในเขตเมือง หรือป่าที่มีปริมาณอาหารซึ่งได้แก่แมลงมากกว่า จุดประสงค์เพื่อต้องการอนุรักษ์พวกมันนอกถิ่นอาศัยและเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น แต่กลับไม่สำเร็จ แมงมุมไม่สามารถอาศัยนอกถิ่นอาศัยของพวกมันได้และตายลงในที่สุด ในทำนองเดียวกันกับแมงมุมแม่หม้ายในบ้านเราพบว่าบางชนิดอาศัยอยู่เฉพาะบริเวณที่แห้งแล้งและมีอุณหภูมิค่อนข้างสูงจึงจะเจริญเติบโตลอกคราบได้ปกติ ในขณะที่บางชนิดต้องอาศัยในบริเวณที่มีความชื้นสูงจึงจะสามารถลอกคราบได้ ด้วยปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าการแพร่กระจายหรือการระบาดของแมงมุมแม่หม้ายไม่ใช่เรื่องง่ายเลย พวกมันจะพบหนาแน่นในที่ที่มีความเหมาะสมเท่านั้นและประชากรที่มีมากในช่วงแรกจะค่อยๆลดลงและหายไปในบางพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม พวกเราก็หวังว่าบทความนี้จะทำให้ทุกท่านมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับแมงมุมแม่หม้าย อย่างน้อยครั้งต่อไปการปรากฎตัวของพวกเค้าคงไม่สร้างความแตกตื่นเหมือนทุกๆครั้งที่ผ่านมา
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 6.1
ความเห็นที่ 7
ความเห็นที่ 7.1
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 8.1
ความเห็นที่ 9
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 11
แมงมุงแม่ม่ายสีน้ำตาลไข่เป็นยังไงครับ และมีแมงมุงที่ค้ายๆๆ แมงมุงแม่ม่ายสีน้ำตาลเปล่าครับ
ความเห็นที่ 12
(จับใส่ถุงพลาสติกปิดสนิทมา 8 ชั่วโมงแล้วแต่ยังไม่ตาย ขังไว้ก็กลัวบาป จะฆ่าทิ้งซะก็กลัวว่าจะไม่มีให้ศึกษา เพราะไม่รู้ว่ามันจะโตกว่านี้รึเปล่า ตอนนี้ลำตัวเท่ากับหัวเข็มหมุดแน่ะ ใครรู้ช่วยบอกที)
ความเห็นที่ 13
ช่วยดูให้หน่อยค่ะว่าเป็นชนิดเดียวกันหรือไม่อย่างไร พบในบริเวณบ้านที่ จ.ขอนแก่น ค่ะ