ปลากินยุง Super Alien!
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2554
เรื่อง/ภาพ: นณณ์ ผาณิตวงศ์
เมืองวิลมิงตั้น รัฐนอร์ธ แคโรไรน่า ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา เย็นๆ ผมนั่งคุยเล่นกับเพื่อนอยู่บนสนามหญ้าหลังบ้าน ด้านหลังมีบ่อน้ำมากมาย ผมเลือกบ้านหลังนี้เพราะเหตุนี้ ชอบดูปลา ในบ่อมีปลาหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือปลากินยุง หรือเจ้า Mosquito fish ปลาชนิดนี้ถูกนักมีนวิทยาบางท่านเรียกว่า SuperFish! เนื่องจากมีความทนทายาท สามารถทนร้อนทนหนาว ทนเค็ม ทนน้ำเสีย น้ำเน่าเหม็นได้ พวกมันโตเร็วมาก ออกลูกได้ภายใน 1-2 เดือน ไม่ได้วางไข่ด้วยนะครับ พวกนี้ออกลูกเป็นตัว ออกมาดูแลตัวเองหากินได้เลย แม่ปลาตัวหนึ่งอาจจะมีลูกได้ตั้งแต่ 50-300 ตัว ต่อครั้ง ท้องใหม่ได้ทุกๆ 1.5 - 2 เดือน ยังไม่พอเท่านั้น แม่ปลาไม่ใช่ว่าต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้ทุกครั้งถึงจะมีลูกได้ แต่มันสามารถเก็บน้ำเชื้อไว้ได้ข้ามเดือนข้ามปีเลยทีเดียว ปลาชนิดนี้กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในน้ำเป็นอาหาร ลูกน้ำ ลูกไร ไดอะตอม แพลงตอนสัตว์ มันเป็นปลาที่ดุหวงถิ่น ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในปลาตัวเล็กๆหน้าตาคล้ายปลาหางนกยูงดูไม่มีพิษมีภัย ที่เรียกกันว่าปลากินยุง
ด้วยชื่อที่ถูกเรียกแบบนี้ ทำให้เชื่อกันว่าปลาชนิดนี้กินลูกน้ำได้เก่งนักหนา แถมยังทนทายาท ออกลูกออกหลานได้รวดเร็ว มันกลายเป็นตัวเลือกแรกและตัวเลือกสุดท้ายในยุคหนึ่งในการต่อสู้กับโรคร้ายที่มาจากยุง ปลากินยุงถูกนำออกจากประเทศสหรัฐอเมริกาบ้านเกิดของมัน มุ่งหน้าสู่ทุกส่วนทุกทวีปของโลก(ยกเว้นก็เพียงแห่งเดียวคือแอนตาร์กติกา) ปัจจุบันเชื่อกันว่าปลาชนิดนี้เป็นปลาน้ำจืดที่มีเขตการกระจายกว้างที่สุดในโลก และถูกจัดให้เป็น 1 ในชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ส่งผลเลวร้ายต่อระบบนิเวศที่สุดของโลก เพียงแค่ใส่ชื่อลงไปใน google เอกสารรายงานก่นด่าปลาชนิดนี้จะดังกึกก้องไปทั่วหน้าจอ แน่นอนว่ามันกินลูกน้ำ แต่ก็ไม่ได้สามารถกินจนหมด เมื่อเทียบกับปลาท้องถิ่นหลากหลายที่อาจจะช่วยกันอยู่แล้วในแหล่งน้ำนั้นๆ ที่มันไปทำเค้าวงแตก การศึกษาพบว่ามันกินอาหารหลากหลายกว่าลูกน้ำมาก และถ้าให้กินแต่ลูกน้ำอย่างเดียวมันจะพิกลพิการและโตช้าเสียด้วยซ้ำ
การใช้สิ่งมีชีวิตเพื่อกำจัดสิ่งมีชีวิตที่ไม่ต้องการ มีศัพท์เทคนิคเรียกว่า Biological Control แน่นอนว่ามนุษย์ไม่สามารถที่จะเรียนรู้และทำนายพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตได้ทั้งหมดไม่ว่าเราจะคิดว่าเราได้ศึกษามันมามากแค่ไหน ไม่นับรวมว่าการนำสิ่งมีชีวิตนั้นๆออกมาปล่อยในถิ่นอาศัยใหม่ที่แตกต่างออกไปจะยิ่งยากที่จะคาดเดาว่าจะเกิดอะไรขึ้น การนำหอยทากฆาตกรโหดไปกำจัดหอยทากแอฟริกาในฮาวาย กลายเป็นว่าเจ้านักฆ่า กลับฆ่าไม่เลือกหน้าจนทำให้หอยทากบกท้องถิ่นสูญพันธุ์ การนำคางคกอ้อยไปปล่อยในออสเตรเลียเพื่อหวังให้กินแมลงปีกแข็งที่เข้าเจาะทำลายอ้อยในไร่ ก็กลายเป็นว่ามันไม่ได้กินแต่เจ้าแมลงเป้าหมายแต่กลับกินทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้าปากมันได้ ทำเอากบเล็กๆลดจำนวนหรือสูญพันธุ์ไปสิ้น ซ้ำร้ายเจ้าคางคกยักษ์ยังมีพิษ งูท้องถิ่นกินเข้าไปก็ตายเสียอีก จะควบคุมได้อย่างไรว่าปล่อยลงไปแล้วให้มันกินมันทำแต่สิ่งที่เรามุ่งหวัง (target species)? คำตอบคือ เป็นไปไม่ได้
ปลากินยุงก็เช่นกัน ผลการเฮโลปล่อยพวกมันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้มีตัวอย่างความกบฏของมันอยู่มากมาย ตั้งแต่การแย่งอาหารและพื้นที่อาศัยจนปลาท้องถิ่นลดจำนวนลงหรือสูญพันธุ์ ในหลายประเทศ ทั้ง อิตาลี ตุรกี ออสเตรเลีย รัสเซีย รวมไปถึงประเทศไทย ในประเทศออสเตรเลียยังพบว่ามันไล่ตอดและกินลูกอ๊อดของกบท้องถิ่นจนจำนวนลดลงแทบจะสูญพันธุ์ บางที่เจ้าปลากินยุงกลับไปกินแพลงตอนสัตว์จนหมดทำให้แพลงตอนพืชที่ไม่มีแพลงตอนสัตว์มาคอยคุมประชากรบูมจนน้ำเน่าเสีย เสร็จแล้วเป็นไง? มันอยู่ได้ ปลาอื่นอยู่ไม่ได้ ยังไม่นับรวมไปถึงความเสียหายทางเศรฐกิจ เมื่อมีเจ้านี้หลุดลงไปในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เพราะมันจะไปแย่งกินอาหารแถมในบางกรณียังกัดทำร้ายจนติดเชื้อตาย เครียดเลี้ยงไม่โต กินไข่ กินลูก แถมยังมีโอกาสนำโรคจากหนอนพยาธิมาติดอีก(helminth parasites) เจ๊งไหมอ่ะแบบนี้? มันหล่ะ Superfish!
ในภาวะน้ำท่วมในประเทศไทยเช่นนี้ เริ่มมีความเป็นหวงว่าหลังจากน้ำลดจะเกิดน้ำท่วมขังซึ่งจะกลายเป็นที่เพาะพันธุ์เหล่ายุงร้ายต่างๆ มีการพูดถึงการใช้ Biological control และมีเสียงแว่วหวานว่าปลากินยุงเป็นหนึ่งในชื่อที่ถูกพูดถึง จึงอยากจะให้บทความนี้ได้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ ถึงผลเสียในระยะยาวที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะปล่อยลงไปแล้วมันจับกลับมาไม่ได้ ไม่มีประเทศไหนในโลกทำสำเร็จ แม้ว่าจะเปิดสงครามกับมันอย่างไร ใช้กฏหมาย ใช้สารเคมีแรงแค่ไหน มันก็จะยังอยู่ (ซึ่งมันก็มีอยู่แล้วในประเทศไทย และไม่ควรจะไปส่งเสริมให้มีมันกว้างขวางขึ้นไปอีก)
จึงมีข้อเสนอว่าปลาไทยที่สามารถกินลูกน้ำได้ และทนทานต่อสภาพน้ำเสียพอสมควรก็มีหลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น ปลากระดี่ ปลากริม ปลาสลิด ปลาหัวตะกั่ว และ ปลาหมอไทย หรือแม้แต่ลูกปลาช่อน ปลาเหล่านี้เป็นปลาที่มีอยู่มากในแหล่งน้ำไทย ถ้าเราจะลองจับหามาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ปล่อยเลี้ยงไว้ในบ้าน น้ำแห้งแล้วก็ปล่อยเค้าคืนไป หรือถ้าจะมีหน่วยงานไหนเพาะแจก ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีและมีความเสี่ยงน้อยกว่าการใช้ปลากินยุงหรือสัตว์ต่างถิ่นอื่นๆมากมายนัก อาจจะไม่ทนเท่า ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้เร็วเท่า แต่ไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นปัญหาในระยะยาว โตมากินได้อีก
“ป๊าป!!!” ตัดภาพกลับมาที่เมืองวิลมิงตั้น ผมตบยุงตัวหนึ่งที่บินมาเกาะที่ขาหวังประทุษร้ายผม ถ้าเจ้าปลากินยุงมันเก่งจริง ทำไมแถวนี้และตอนใต้ของอเมริกาทั้งหมดที่มีเจ้าพวกนี้อยู่แทบจะทุกแหล่งน้ำยังมียุงอยู่อีกหล่ะ?
ชื่อไทย: ปลากินยุง, ปลาป่อง
ชื่อสามัญ: Mosquito fish, Top Minnow
ชื่อวิทยาศาสตร์: Gambusia affinis (Baird and Girard, 1853)
ขนาดเมื่อโตเต็มวัย: 2.5-3 เซนติเมตร
การกระจายพันธุ์: ถิ่นกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติพบทางตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกาและทางตอนเหนือของประเทศแมกซิโก ปัจจุบันมีการนำไปปล่อยในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้น แอนตาร์กติก้า เท่านั้น
ข้อมูลทั่วไป: ปลาออกลูกเป็นตัวขนาดเล็ก เจริญพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 1-2 เดือน เพศเมียออกลูกเป็นตัวครั้งละ 50-300 ตัว ทุกๆ 1.5-2 เดือน กินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร ถูกจัดให้เป็น 100 สิ่งมีชีวิตรุกรานต่างถิ่น
เมืองวิลมิงตั้น รัฐนอร์ธ แคโรไรน่า ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา เย็นๆ ผมนั่งคุยเล่นกับเพื่อนอยู่บนสนามหญ้าหลังบ้าน ด้านหลังมีบ่อน้ำมากมาย ผมเลือกบ้านหลังนี้เพราะเหตุนี้ ชอบดูปลา ในบ่อมีปลาหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือปลากินยุง หรือเจ้า Mosquito fish ปลาชนิดนี้ถูกนักมีนวิทยาบางท่านเรียกว่า SuperFish! เนื่องจากมีความทนทายาท สามารถทนร้อนทนหนาว ทนเค็ม ทนน้ำเสีย น้ำเน่าเหม็นได้ พวกมันโตเร็วมาก ออกลูกได้ภายใน 1-2 เดือน ไม่ได้วางไข่ด้วยนะครับ พวกนี้ออกลูกเป็นตัว ออกมาดูแลตัวเองหากินได้เลย แม่ปลาตัวหนึ่งอาจจะมีลูกได้ตั้งแต่ 50-300 ตัว ต่อครั้ง ท้องใหม่ได้ทุกๆ 1.5 - 2 เดือน ยังไม่พอเท่านั้น แม่ปลาไม่ใช่ว่าต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้ทุกครั้งถึงจะมีลูกได้ แต่มันสามารถเก็บน้ำเชื้อไว้ได้ข้ามเดือนข้ามปีเลยทีเดียว ปลาชนิดนี้กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในน้ำเป็นอาหาร ลูกน้ำ ลูกไร ไดอะตอม แพลงตอนสัตว์ มันเป็นปลาที่ดุหวงถิ่น ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในปลาตัวเล็กๆหน้าตาคล้ายปลาหางนกยูงดูไม่มีพิษมีภัย ที่เรียกกันว่าปลากินยุง
ด้วยชื่อที่ถูกเรียกแบบนี้ ทำให้เชื่อกันว่าปลาชนิดนี้กินลูกน้ำได้เก่งนักหนา แถมยังทนทายาท ออกลูกออกหลานได้รวดเร็ว มันกลายเป็นตัวเลือกแรกและตัวเลือกสุดท้ายในยุคหนึ่งในการต่อสู้กับโรคร้ายที่มาจากยุง ปลากินยุงถูกนำออกจากประเทศสหรัฐอเมริกาบ้านเกิดของมัน มุ่งหน้าสู่ทุกส่วนทุกทวีปของโลก(ยกเว้นก็เพียงแห่งเดียวคือแอนตาร์กติกา) ปัจจุบันเชื่อกันว่าปลาชนิดนี้เป็นปลาน้ำจืดที่มีเขตการกระจายกว้างที่สุดในโลก และถูกจัดให้เป็น 1 ในชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ส่งผลเลวร้ายต่อระบบนิเวศที่สุดของโลก เพียงแค่ใส่ชื่อลงไปใน google เอกสารรายงานก่นด่าปลาชนิดนี้จะดังกึกก้องไปทั่วหน้าจอ แน่นอนว่ามันกินลูกน้ำ แต่ก็ไม่ได้สามารถกินจนหมด เมื่อเทียบกับปลาท้องถิ่นหลากหลายที่อาจจะช่วยกันอยู่แล้วในแหล่งน้ำนั้นๆ ที่มันไปทำเค้าวงแตก การศึกษาพบว่ามันกินอาหารหลากหลายกว่าลูกน้ำมาก และถ้าให้กินแต่ลูกน้ำอย่างเดียวมันจะพิกลพิการและโตช้าเสียด้วยซ้ำ
การใช้สิ่งมีชีวิตเพื่อกำจัดสิ่งมีชีวิตที่ไม่ต้องการ มีศัพท์เทคนิคเรียกว่า Biological Control แน่นอนว่ามนุษย์ไม่สามารถที่จะเรียนรู้และทำนายพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตได้ทั้งหมดไม่ว่าเราจะคิดว่าเราได้ศึกษามันมามากแค่ไหน ไม่นับรวมว่าการนำสิ่งมีชีวิตนั้นๆออกมาปล่อยในถิ่นอาศัยใหม่ที่แตกต่างออกไปจะยิ่งยากที่จะคาดเดาว่าจะเกิดอะไรขึ้น การนำหอยทากฆาตกรโหดไปกำจัดหอยทากแอฟริกาในฮาวาย กลายเป็นว่าเจ้านักฆ่า กลับฆ่าไม่เลือกหน้าจนทำให้หอยทากบกท้องถิ่นสูญพันธุ์ การนำคางคกอ้อยไปปล่อยในออสเตรเลียเพื่อหวังให้กินแมลงปีกแข็งที่เข้าเจาะทำลายอ้อยในไร่ ก็กลายเป็นว่ามันไม่ได้กินแต่เจ้าแมลงเป้าหมายแต่กลับกินทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้าปากมันได้ ทำเอากบเล็กๆลดจำนวนหรือสูญพันธุ์ไปสิ้น ซ้ำร้ายเจ้าคางคกยักษ์ยังมีพิษ งูท้องถิ่นกินเข้าไปก็ตายเสียอีก จะควบคุมได้อย่างไรว่าปล่อยลงไปแล้วให้มันกินมันทำแต่สิ่งที่เรามุ่งหวัง (target species)? คำตอบคือ เป็นไปไม่ได้
ปลากินยุงก็เช่นกัน ผลการเฮโลปล่อยพวกมันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้มีตัวอย่างความกบฏของมันอยู่มากมาย ตั้งแต่การแย่งอาหารและพื้นที่อาศัยจนปลาท้องถิ่นลดจำนวนลงหรือสูญพันธุ์ ในหลายประเทศ ทั้ง อิตาลี ตุรกี ออสเตรเลีย รัสเซีย รวมไปถึงประเทศไทย ในประเทศออสเตรเลียยังพบว่ามันไล่ตอดและกินลูกอ๊อดของกบท้องถิ่นจนจำนวนลดลงแทบจะสูญพันธุ์ บางที่เจ้าปลากินยุงกลับไปกินแพลงตอนสัตว์จนหมดทำให้แพลงตอนพืชที่ไม่มีแพลงตอนสัตว์มาคอยคุมประชากรบูมจนน้ำเน่าเสีย เสร็จแล้วเป็นไง? มันอยู่ได้ ปลาอื่นอยู่ไม่ได้ ยังไม่นับรวมไปถึงความเสียหายทางเศรฐกิจ เมื่อมีเจ้านี้หลุดลงไปในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เพราะมันจะไปแย่งกินอาหารแถมในบางกรณียังกัดทำร้ายจนติดเชื้อตาย เครียดเลี้ยงไม่โต กินไข่ กินลูก แถมยังมีโอกาสนำโรคจากหนอนพยาธิมาติดอีก(helminth parasites) เจ๊งไหมอ่ะแบบนี้? มันหล่ะ Superfish!
ในภาวะน้ำท่วมในประเทศไทยเช่นนี้ เริ่มมีความเป็นหวงว่าหลังจากน้ำลดจะเกิดน้ำท่วมขังซึ่งจะกลายเป็นที่เพาะพันธุ์เหล่ายุงร้ายต่างๆ มีการพูดถึงการใช้ Biological control และมีเสียงแว่วหวานว่าปลากินยุงเป็นหนึ่งในชื่อที่ถูกพูดถึง จึงอยากจะให้บทความนี้ได้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ ถึงผลเสียในระยะยาวที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะปล่อยลงไปแล้วมันจับกลับมาไม่ได้ ไม่มีประเทศไหนในโลกทำสำเร็จ แม้ว่าจะเปิดสงครามกับมันอย่างไร ใช้กฏหมาย ใช้สารเคมีแรงแค่ไหน มันก็จะยังอยู่ (ซึ่งมันก็มีอยู่แล้วในประเทศไทย และไม่ควรจะไปส่งเสริมให้มีมันกว้างขวางขึ้นไปอีก)
จึงมีข้อเสนอว่าปลาไทยที่สามารถกินลูกน้ำได้ และทนทานต่อสภาพน้ำเสียพอสมควรก็มีหลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น ปลากระดี่ ปลากริม ปลาสลิด ปลาหัวตะกั่ว และ ปลาหมอไทย หรือแม้แต่ลูกปลาช่อน ปลาเหล่านี้เป็นปลาที่มีอยู่มากในแหล่งน้ำไทย ถ้าเราจะลองจับหามาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ปล่อยเลี้ยงไว้ในบ้าน น้ำแห้งแล้วก็ปล่อยเค้าคืนไป หรือถ้าจะมีหน่วยงานไหนเพาะแจก ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีและมีความเสี่ยงน้อยกว่าการใช้ปลากินยุงหรือสัตว์ต่างถิ่นอื่นๆมากมายนัก อาจจะไม่ทนเท่า ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้เร็วเท่า แต่ไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นปัญหาในระยะยาว โตมากินได้อีก
“ป๊าป!!!” ตัดภาพกลับมาที่เมืองวิลมิงตั้น ผมตบยุงตัวหนึ่งที่บินมาเกาะที่ขาหวังประทุษร้ายผม ถ้าเจ้าปลากินยุงมันเก่งจริง ทำไมแถวนี้และตอนใต้ของอเมริกาทั้งหมดที่มีเจ้าพวกนี้อยู่แทบจะทุกแหล่งน้ำยังมียุงอยู่อีกหล่ะ?
ชื่อไทย: ปลากินยุง, ปลาป่อง
ชื่อสามัญ: Mosquito fish, Top Minnow
ชื่อวิทยาศาสตร์: Gambusia affinis (Baird and Girard, 1853)
ขนาดเมื่อโตเต็มวัย: 2.5-3 เซนติเมตร
การกระจายพันธุ์: ถิ่นกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติพบทางตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกาและทางตอนเหนือของประเทศแมกซิโก ปัจจุบันมีการนำไปปล่อยในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้น แอนตาร์กติก้า เท่านั้น
ข้อมูลทั่วไป: ปลาออกลูกเป็นตัวขนาดเล็ก เจริญพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 1-2 เดือน เพศเมียออกลูกเป็นตัวครั้งละ 50-300 ตัว ทุกๆ 1.5-2 เดือน กินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร ถูกจัดให้เป็น 100 สิ่งมีชีวิตรุกรานต่างถิ่น
คุณรู้ไหม?: Gambusia มาจากภาษาโปรตุกีส Gambusiano แปลว่า “ไร้ประโยชน์”
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
แต่คนไทยสมัยนี้ไม่สนใจกันเลย ถ้าเป็นเมื่อตามแต่ละบ้านก็จะมีปลากัดอยู่
เห็นพี่โพสต์เรื่องนี้ ผมเลยนึกได้เอาปลากริมมาเพาะเล่น
บทความนี้ถุกใจสุดยอดครับ
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
ขอแก้ไขนิดนึง เป็น
"แถมยังมีโอกาสนำโรคจากหนอนพยาธิ (helminth parasites) มาติดอีก" จะเป็นการใช้วงเล็บขยายความที่สื่อความหมายตรงกว่าครับ เพราะ helminth parasites ไม่ใช่ชื่อโรค แต่หมายถึงกลุ่มพยาธิทั้งตัวกลม (nemahelminthids=round worms) และตัวแบน (platyhelminthids=flat worms)
ความเห็นที่ 5.1
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7
http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000145060