9 เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับเขื่อนแม่วงก์
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 17 พฤษภาคม 2555
เรียบเรียง: ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์ @ siamensis.org
ข้อมูลจาก: มูลนิธิสืบนาคะเสถียร และ มูลนิธิโลกสีเขียว
1. ข้อมูลทั่วไป: เขื่อนแม่วงก์มีลักษณะเป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียวขนาดใหญ่ ความยาว 730 เมตร กว้าง 10 เมตร สูง 57 เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ 13,000 ไร่ อยู่ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.กำแพงเพชรและจ.นครสวรรค์ปริมาณกักเก็บน้ำ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร
2. ประมาณการค่าก่อสร้างของเขื่อนแม่วงก์เมื่อปี 2525 อยู่ที่ 3,761 ล้านบาท 2551 มีมูลค่า 7,000 ล้านบาท ในเว็บไซด์ของกรมชลประทานในวันที่ 31 สิงหาคม 2554 ระบุว่ามีมูลค่า 9,000 ล้านบาท แต่ เมื่อมีการอนุมัติงบประมาณ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 มีมูลค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 13,000 ล้านบาท (ตัวเลขการเพิ่มนี้ถ้าเทียบกับ ค่าเงินเฟ้อถือว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้)
3. ถึงแม้ว่าพื้นที่น้ำท่วมจะเป็นแค่ 2% ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ หรือ 0.12% ของป่าตะวันตกทั้งหมด แต่พื้นที่ตรงนี้เป็นป่าที่ราบต่ำริมน้ำซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการหากินและขยายพันธุ์ของสัตว์ป่าในฤดูแล้ง ในปัจจุบันประเทศไทยเหลือป่าในพื้นที่ราบอยู่น้อยมาก สัตว์ป่าบางชนิด เช่น นกยูง ไม่สามารถบินขึ้นไป อาศัยอยู่บนเขาได้อย่างที่นักการเมืองเข้าใจ แต่นกยูง ต้องการลานหิน ลานทราย ริมน้ำเพื่อการ ป้อตัวเมีย ไม่สามารถไปกางหางอวดในป่ารกทึบได้ จากการสอบถามเจ้าหน้าที่อุทยานฯพบว่าป่าที่นักการเมืองกล่าวอ้างว่าเป็นป่าใหม่มีอายุไม่ถึง 30 ปีมีอยู่เพียงไม่กี่พันไร่ แต่ป่าด้านใน เป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์มาก ในการสร้างเขื่อน ต้องทำการตัดไม้ออกจากพื้นที่ให้มากที่สุดเพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย น่าสนใจว่าไม้ขนาดใหญ่ (ซึ่งรวมถึงต้นสักด้วย) จะตกเป็นผลประโยชน์ของใคร
ภาพจาก: sky report
4. การก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จะทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ไม่น้อยกว่า 13,000 ไร่ เป็นไม้ใหญ่ประมาณ 500,000 ต้น ซึ่งในจำนวนนี้มีไม้สักประมาณ 50,000 ต้น กล้าไม้อีก 10,000 ต้น หรือเปรียบ เทียบได้ว่าพื้นที่ป่า 1 ไร่ ที่จะถูกน้ำท่วมจะมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ 80 ต้นเป็น ไม้สัก 13 ต้น ลูกไม้ 576 ต้น และกล้าไม้อีก 1,880 ต้น จากการคำนวณพื้นที่ป่าที่จะสูญเสียไป จากการสร้างเขื่อนแม่วงก์ เมื่อคำนวณเป็น ปริมาณคาร์บอนที่ต้นไม้สามารถดูดซับไว้ได้นั้น หากมีการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ประเทศไทยจะสูญเสียพื้นที่ที่ สามารถดูดซับคาร์บอนได้ประมาณ 10,400 ตันคาร์บอน ป่าแม่วงก์มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างน้อย 549 ชนิด และมีปลาอาศัยอยู่ในลำน้ำ 64 ชนิด (ใน EIA รายงานไว้ 61 แต่สำรวจเจอเพิ่มจากการลงพื้นที่อีก 3 ชนิด) ในจำนวนนี้มีเพียง 8 ชนิด หรือ 13% ที่สามารถผสมพันธุ์ในแหล่งน้ำนิ่งในอ่างเหนือเขื่อนได้นอกนั้นต้องอาศัยพื้นที่น้ำไหลหรือน้ำหลากซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
5. จากเว็บไซด์ของกรมชลประทาน ลุ่มน้ำแม่วงก์มีพื้นที่รับน้ำฝน (water shed) 1,113 ตารางกิโลเมตร มีน้ำท่า 569 ล้าน ลูกบาศก์เมตร หรือมีน้ำ 0.52 ล้าน ลบ.ม./1 ตร.กม. ของพื้นที่รับน้ำ เมื่อเปรียบเทียบกับลุ่มน้ำทับเสลาซึ่งมีเขื่อนทับเสลาอยู่แล้ว ซึ่งมีพื้นที่รับน้ำฝน 534 ตร.กม. แต่มีน้ำท่า 124 ล้าน ลบ.ม. หรือมีน้ำ 0.23 ล้าน ลบ.ม./1 ตร.กม. ข้อสังเกตคือ พื้นที่ใกล้ๆกัน เขื่อนทับเสลาอยู่ทางใต้ของแม่วงก์เพียง 40 กม.ทำไมพื้นที่รับน้ำของเขื่อนแม่วงก์(ต่อตร.กม.)จึงมีน้ำมากกว่าพื้นที่รับน้ำของเขื่อนทับเสลาสองเท่ากว่าทั้งๆที่อยู่ในแนวเขาเดียวกัน ปริมาณฝนตกไม่น่าจะแตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้ปีพ.ศ.2554 ซึ่งเป็นปีที่มีน้ำมาก เขื่อนทับเสลามีปริมาณน้ำในอ่างเพียง 49 ล้าน ลบ.ม. หรือ 31% ของความจุ และในปัจจุบัน ณ วันที่ 5 พค. 2555 ซึ่งเป็นปลายฤดูแล้งที่ควรจะมีการจัดส่งน้ำให้ทำการเกษตรในหน้าแล้ง ปรากฏว่ามีน้ำในอ่างที่ใช้การได้จริงเพียง 34 ล้าน ลบ.ม. หรือ 21% ของความจุเท่านั้น
ข้อมูลจาก: ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน (http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html)
เขื่อนทับเสลา พค. 2555 (ภาพ: มูลนิธิสืบฯ)
6. การช่วยบรรเทาน้ำท่วม: เขื่อนแม่วงก็มีอัตราการเก็บน้ำสูงสุดที่ 250 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ปริมาณน้ำที่ท่วมภาคกลางเมื่อปลายปี 2554 มีถึง 16,000 ล้าน ลบ.ม. (ตัวเลขจาก ศปภ.) น้ำที่กักเก็บได้ทั้งหมดของเขื่อนแม่วงก์จึงคิดเป็นเพียงแค่ 2% ของปริมาณน้ำที่ท่วมที่ราบลุ่มภาคกลางในช่วงปลายปี 2554 หรือคิดเป็นปริมาณน้ำที่ไหลเข้าทุ่งเจ้าพระยาในช่วงที่น้ำไหลเข้ามากที่สุดเพียงแค่ ครึ่งวันกว่าเท่านั้น เช่นในวันที่ 21 ตค. 2554 ทีม กรุ๊ป ให้ข่าวว่าปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยามีมากถึงวันละ 419 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแม่วงก์จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคกลางได้น้อยมาก นอกจากนั้นแม้แต่พื้นที่ใกล้เคียง เช่น อ.ลาดยาว เขื่อนแม่วงก์ก็ช่วยเรื่องน้ำท่วมหลากได้เพียง 25% เนื่องจากน้ำที่ท่วมอ.ลาดยาวจริงๆแล้วมาจากหลายสาย และเป็นน้ำไหลบ่าจากทุ่ง ไม่ใช่จากน้ำแม่วงก์สายเดียว ทั้งนี้การบริหารจัดการเขื่อน ต้องคงเหลือน้ำไว้ในเขื่อนส่วนหนึ่ง จึงเป็นไปไม่ได้ที่เขื่อนแม่วงก์จะสามารถรับน้ำได้เต็ม 250 ล้าน ลบ.ม. ทุกปี
(ภาพ: มูลนิธิสืบฯ)
7. รายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(EIA) ทั้ง 4 ครั้งตั้งแต่ปี 2538, 2541, 2545 และ 2547 ไม่เคยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบุให้กรมชลประทานไปหาวิธีจัดการน้ำแบบบูรณาการมากกว่าสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนรายงานการศึกษาฉบับที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน มีมูลค่าวงเงินตามสัญญา ประมาณ 15 ล้านบาท ก็มีแนวโน้มไม่โปร่งใส เนื่องจากมีการลัดขั้นตอน ตัดลดจำนวนการลงพื้นที่สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพบางรายการ นอกจากนั้นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้มีหนังสือด่วนที่สุดเมื่อวันที่ 23 มีค. 2555 ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นว่าโครงการเขื่อนแม่วงก์ขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติและไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ ป่า และ พันธุ์พืช จะพิจารณาให้ดำเนินการได้
8. กรมชลประทานระบุว่าเขื่อนแม่วงก์จะสามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานในฤดูฝนได้ 291,900 ไร่ พื้นที่ในฤดูแล้ง 116,545 ไร่ จากการลงพื้นที่ ปรากฏว่าในฤดูฝน ชาวบ้านใช้น้ำฝนและน้ำหลากทุ่งในการทำการเกษตรอยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งน้ำจากเขื่อนแต่อย่างใด ประโยชน์ของน้ำชลประทานจากเขื่อนจึงเหลือแต่ในฤดูแล้ง ซึ่งจากการคำนวน โดยใช้สมมุติฐานว่า
8.1 ชาวบ้านปลูกข้าวได้ 0.75 ตัน/ไร่
8.2 ขายข้าวได้ราคาปกติ 8,000 บาท/ตัน
8.3 ขายข้าวได้ราคาจำนำ(เฉลี่ย) 14,000 บาท/ตัน
8.4 มีต้นทุนการเพาะปลูก 3,000 บาท/ไร่
8.5 ชาวบ้านจะมีกำไร/ไร่ (0.75*8,000)-3,000 = 3,000 บาท/ไร่ (ราคาปกติ)
8.6 ชาวบ้านจะมีกำไร/ไร่ (0.75*14,000)-3,000 = 7,500 บาท/ไร่ (ราคาจำนำ)
8.7 ชาวบ้านในพื้นที่ชลประทานจะมีรายได้เพิ่มขึ้น = 116,545 (ไร่) * 3,000 = 349.64 ล้านบาท (ราคาปกติ)
8.8 ชาวบ้านในพื้นที่ชลประทานจะมีรายได้เพิ่มขึ้น = 116,545 (ไร่) * 7,500 = 874.09 ล้านบาท (ราคาจำนำ)
8.9 ทำให้โครงการมูลค่า 13,000,000,000 บาทมีระยะเวลาคืนทุน 37 ปี และ 15 ปี ตามลำดับ โดยยังไม่คิดถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลและซ่อมบำรุงเขื่อนและระบบส่งน้ำ ทั้งนี้การลงทุนทั่วไปควรมีระยะคืนทุนอยู่ระหว่าง 4-7 ปี และ 7-10 ปีในโครงการขนาดใหญ่
8.10 เขื่อนแม่วงก์จะมีค่า IRR ในกรณีข้าวราคาปกติที่ -5% ในระยะเวลา 20 ปี และ 3% ในระยะ 20 ปีที่ราคาจำนำ ทั้งนี้ในปัจจุบัน การลงทุนส่วนใหญ่ควรมีค่า IRR ในช่วงระยะเวลา 10 ปีอยู่ระหว่าง 5-10% จึงจะถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า (การคำนวนยังไม่ได้นำค่าใช้จ่ายในการดูและและซ่อมบำรุงเขื่อนและระบบส่งน้ำเข้ามารวม)
หมายเหตุ: ตัวเลขจากกรมชลประทานระบุว่าจะเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ได้ประมาณ 720 ล้านบาท/ปี คิดเป็น ระยะเวลาคืนทุน 18 ปี IRR เมื่อ 20 ปี =1%
(ขยายความเรื่อง IRR: หมายถึง ผลตอบแทนการลงทุนของกระแสเงินชุดหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วเริ่มต้นด้วยงบลงทุน เป็นตัวเลขติดลบ ตามด้วยผลตอบแทนที่จะได้รับในแต่ละปี ในกรณีของเขื่อนแม่วงก์ ถ้าหากใช้ตัวเลขของกรมชลประทานว่าจะได้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นปีละ 720 ล้านบาท/ปี โดยลบเงินลงทุนที่ 13,000 ล้านในปีแรก พบว่าในระยะเวลา 18 ปี ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพียงปีละ 1% ทั้งนี้ในปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ประมาณ 2.5-3.5% จะเห็นว่าเงินลงทุนสร้างเขื่อนแม่วงก์ หากเอาไปฝากธนาคารไว้เฉยๆ ยังได้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าประมาณ 2.5-3.5 เท่า)
(หมายเหตุเพิ่มเติม: รัฐบาลบอกว่าโครงการนี้จะใช้เงินกู้ประมาณ 9,000 ล้านบาท ทั้งนี้ปัจจุบันอัตราพันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี ให้ผลตอบแทนประมาณ 5.5-6% ต่อปี ในขณะที่ผลตอบแทนของโครงการนี้ในระยะ 18 ปีอยูที่ 1% เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าโครงการนี้เป็นโครงการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์)
9. ผมโพล 7 สี ถามคนในจ.นครสวรรค์ว่าต้องการให้สร้างเขื่อนแม่วงก์หรือไม่ปรากฏว่ามี 22.7% ต้องการเขื่อน 32.5% ต้องการเขื่อนถ้าไม่มีผลกระทบโดยรวม และ 34.2% ไม่ต้องการเขื่อน ในขณะที่ 10% ไม่แน่ใจ แสดงให้เห็นว่า คนในพื้นที่เองส่วนใหญ่แล้วก็ยังไม่ต้องการเขื่อนเลยหรือไม่ต้องการถ้าส่งกระทบต่อส่วนรวม ทั้งนี้ป่าไม้ มิได้เป็นสมบัติของคนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่เป็นสมบัติของคนทั้งชาติ ที่มีการใช้ “บริการทางอ้อม” จากป่าไม้ร่วมกัน เช่นใช้เป็นแหล่งผลิตออกซิเจน แหล่งกักเก็บน้ำ แหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น การจะทำลายป่าไม้จึงต้องคำนึงถึง “คนนอกพื้นที่” ด้วยว่าเห็นด้วยหรือไม่
ข้อมูลจาก: มูลนิธิสืบนาคะเสถียร และ มูลนิธิโลกสีเขียว
1. ข้อมูลทั่วไป: เขื่อนแม่วงก์มีลักษณะเป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียวขนาดใหญ่ ความยาว 730 เมตร กว้าง 10 เมตร สูง 57 เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ 13,000 ไร่ อยู่ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.กำแพงเพชรและจ.นครสวรรค์ปริมาณกักเก็บน้ำ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร
2. ประมาณการค่าก่อสร้างของเขื่อนแม่วงก์เมื่อปี 2525 อยู่ที่ 3,761 ล้านบาท 2551 มีมูลค่า 7,000 ล้านบาท ในเว็บไซด์ของกรมชลประทานในวันที่ 31 สิงหาคม 2554 ระบุว่ามีมูลค่า 9,000 ล้านบาท แต่ เมื่อมีการอนุมัติงบประมาณ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 มีมูลค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 13,000 ล้านบาท (ตัวเลขการเพิ่มนี้ถ้าเทียบกับ ค่าเงินเฟ้อถือว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้)
3. ถึงแม้ว่าพื้นที่น้ำท่วมจะเป็นแค่ 2% ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ หรือ 0.12% ของป่าตะวันตกทั้งหมด แต่พื้นที่ตรงนี้เป็นป่าที่ราบต่ำริมน้ำซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการหากินและขยายพันธุ์ของสัตว์ป่าในฤดูแล้ง ในปัจจุบันประเทศไทยเหลือป่าในพื้นที่ราบอยู่น้อยมาก สัตว์ป่าบางชนิด เช่น นกยูง ไม่สามารถบินขึ้นไป อาศัยอยู่บนเขาได้อย่างที่นักการเมืองเข้าใจ แต่นกยูง ต้องการลานหิน ลานทราย ริมน้ำเพื่อการ ป้อตัวเมีย ไม่สามารถไปกางหางอวดในป่ารกทึบได้ จากการสอบถามเจ้าหน้าที่อุทยานฯพบว่าป่าที่นักการเมืองกล่าวอ้างว่าเป็นป่าใหม่มีอายุไม่ถึง 30 ปีมีอยู่เพียงไม่กี่พันไร่ แต่ป่าด้านใน เป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์มาก ในการสร้างเขื่อน ต้องทำการตัดไม้ออกจากพื้นที่ให้มากที่สุดเพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย น่าสนใจว่าไม้ขนาดใหญ่ (ซึ่งรวมถึงต้นสักด้วย) จะตกเป็นผลประโยชน์ของใคร
ภาพจาก: sky report
4. การก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จะทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ไม่น้อยกว่า 13,000 ไร่ เป็นไม้ใหญ่ประมาณ 500,000 ต้น ซึ่งในจำนวนนี้มีไม้สักประมาณ 50,000 ต้น กล้าไม้อีก 10,000 ต้น หรือเปรียบ เทียบได้ว่าพื้นที่ป่า 1 ไร่ ที่จะถูกน้ำท่วมจะมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ 80 ต้นเป็น ไม้สัก 13 ต้น ลูกไม้ 576 ต้น และกล้าไม้อีก 1,880 ต้น จากการคำนวณพื้นที่ป่าที่จะสูญเสียไป จากการสร้างเขื่อนแม่วงก์ เมื่อคำนวณเป็น ปริมาณคาร์บอนที่ต้นไม้สามารถดูดซับไว้ได้นั้น หากมีการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ประเทศไทยจะสูญเสียพื้นที่ที่ สามารถดูดซับคาร์บอนได้ประมาณ 10,400 ตันคาร์บอน ป่าแม่วงก์มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างน้อย 549 ชนิด และมีปลาอาศัยอยู่ในลำน้ำ 64 ชนิด (ใน EIA รายงานไว้ 61 แต่สำรวจเจอเพิ่มจากการลงพื้นที่อีก 3 ชนิด) ในจำนวนนี้มีเพียง 8 ชนิด หรือ 13% ที่สามารถผสมพันธุ์ในแหล่งน้ำนิ่งในอ่างเหนือเขื่อนได้นอกนั้นต้องอาศัยพื้นที่น้ำไหลหรือน้ำหลากซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
5. จากเว็บไซด์ของกรมชลประทาน ลุ่มน้ำแม่วงก์มีพื้นที่รับน้ำฝน (water shed) 1,113 ตารางกิโลเมตร มีน้ำท่า 569 ล้าน ลูกบาศก์เมตร หรือมีน้ำ 0.52 ล้าน ลบ.ม./1 ตร.กม. ของพื้นที่รับน้ำ เมื่อเปรียบเทียบกับลุ่มน้ำทับเสลาซึ่งมีเขื่อนทับเสลาอยู่แล้ว ซึ่งมีพื้นที่รับน้ำฝน 534 ตร.กม. แต่มีน้ำท่า 124 ล้าน ลบ.ม. หรือมีน้ำ 0.23 ล้าน ลบ.ม./1 ตร.กม. ข้อสังเกตคือ พื้นที่ใกล้ๆกัน เขื่อนทับเสลาอยู่ทางใต้ของแม่วงก์เพียง 40 กม.ทำไมพื้นที่รับน้ำของเขื่อนแม่วงก์(ต่อตร.กม.)จึงมีน้ำมากกว่าพื้นที่รับน้ำของเขื่อนทับเสลาสองเท่ากว่าทั้งๆที่อยู่ในแนวเขาเดียวกัน ปริมาณฝนตกไม่น่าจะแตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้ปีพ.ศ.2554 ซึ่งเป็นปีที่มีน้ำมาก เขื่อนทับเสลามีปริมาณน้ำในอ่างเพียง 49 ล้าน ลบ.ม. หรือ 31% ของความจุ และในปัจจุบัน ณ วันที่ 5 พค. 2555 ซึ่งเป็นปลายฤดูแล้งที่ควรจะมีการจัดส่งน้ำให้ทำการเกษตรในหน้าแล้ง ปรากฏว่ามีน้ำในอ่างที่ใช้การได้จริงเพียง 34 ล้าน ลบ.ม. หรือ 21% ของความจุเท่านั้น
ข้อมูลจาก: ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน (http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html)
เขื่อนทับเสลา พค. 2555 (ภาพ: มูลนิธิสืบฯ)
6. การช่วยบรรเทาน้ำท่วม: เขื่อนแม่วงก็มีอัตราการเก็บน้ำสูงสุดที่ 250 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ปริมาณน้ำที่ท่วมภาคกลางเมื่อปลายปี 2554 มีถึง 16,000 ล้าน ลบ.ม. (ตัวเลขจาก ศปภ.) น้ำที่กักเก็บได้ทั้งหมดของเขื่อนแม่วงก์จึงคิดเป็นเพียงแค่ 2% ของปริมาณน้ำที่ท่วมที่ราบลุ่มภาคกลางในช่วงปลายปี 2554 หรือคิดเป็นปริมาณน้ำที่ไหลเข้าทุ่งเจ้าพระยาในช่วงที่น้ำไหลเข้ามากที่สุดเพียงแค่ ครึ่งวันกว่าเท่านั้น เช่นในวันที่ 21 ตค. 2554 ทีม กรุ๊ป ให้ข่าวว่าปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยามีมากถึงวันละ 419 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแม่วงก์จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคกลางได้น้อยมาก นอกจากนั้นแม้แต่พื้นที่ใกล้เคียง เช่น อ.ลาดยาว เขื่อนแม่วงก์ก็ช่วยเรื่องน้ำท่วมหลากได้เพียง 25% เนื่องจากน้ำที่ท่วมอ.ลาดยาวจริงๆแล้วมาจากหลายสาย และเป็นน้ำไหลบ่าจากทุ่ง ไม่ใช่จากน้ำแม่วงก์สายเดียว ทั้งนี้การบริหารจัดการเขื่อน ต้องคงเหลือน้ำไว้ในเขื่อนส่วนหนึ่ง จึงเป็นไปไม่ได้ที่เขื่อนแม่วงก์จะสามารถรับน้ำได้เต็ม 250 ล้าน ลบ.ม. ทุกปี
(ภาพ: มูลนิธิสืบฯ)
7. รายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(EIA) ทั้ง 4 ครั้งตั้งแต่ปี 2538, 2541, 2545 และ 2547 ไม่เคยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบุให้กรมชลประทานไปหาวิธีจัดการน้ำแบบบูรณาการมากกว่าสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนรายงานการศึกษาฉบับที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน มีมูลค่าวงเงินตามสัญญา ประมาณ 15 ล้านบาท ก็มีแนวโน้มไม่โปร่งใส เนื่องจากมีการลัดขั้นตอน ตัดลดจำนวนการลงพื้นที่สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพบางรายการ นอกจากนั้นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้มีหนังสือด่วนที่สุดเมื่อวันที่ 23 มีค. 2555 ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นว่าโครงการเขื่อนแม่วงก์ขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติและไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ ป่า และ พันธุ์พืช จะพิจารณาให้ดำเนินการได้
8. กรมชลประทานระบุว่าเขื่อนแม่วงก์จะสามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานในฤดูฝนได้ 291,900 ไร่ พื้นที่ในฤดูแล้ง 116,545 ไร่ จากการลงพื้นที่ ปรากฏว่าในฤดูฝน ชาวบ้านใช้น้ำฝนและน้ำหลากทุ่งในการทำการเกษตรอยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งน้ำจากเขื่อนแต่อย่างใด ประโยชน์ของน้ำชลประทานจากเขื่อนจึงเหลือแต่ในฤดูแล้ง ซึ่งจากการคำนวน โดยใช้สมมุติฐานว่า
8.1 ชาวบ้านปลูกข้าวได้ 0.75 ตัน/ไร่
8.2 ขายข้าวได้ราคาปกติ 8,000 บาท/ตัน
8.3 ขายข้าวได้ราคาจำนำ(เฉลี่ย) 14,000 บาท/ตัน
8.4 มีต้นทุนการเพาะปลูก 3,000 บาท/ไร่
8.5 ชาวบ้านจะมีกำไร/ไร่ (0.75*8,000)-3,000 = 3,000 บาท/ไร่ (ราคาปกติ)
8.6 ชาวบ้านจะมีกำไร/ไร่ (0.75*14,000)-3,000 = 7,500 บาท/ไร่ (ราคาจำนำ)
8.7 ชาวบ้านในพื้นที่ชลประทานจะมีรายได้เพิ่มขึ้น = 116,545 (ไร่) * 3,000 = 349.64 ล้านบาท (ราคาปกติ)
8.8 ชาวบ้านในพื้นที่ชลประทานจะมีรายได้เพิ่มขึ้น = 116,545 (ไร่) * 7,500 = 874.09 ล้านบาท (ราคาจำนำ)
8.9 ทำให้โครงการมูลค่า 13,000,000,000 บาทมีระยะเวลาคืนทุน 37 ปี และ 15 ปี ตามลำดับ โดยยังไม่คิดถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลและซ่อมบำรุงเขื่อนและระบบส่งน้ำ ทั้งนี้การลงทุนทั่วไปควรมีระยะคืนทุนอยู่ระหว่าง 4-7 ปี และ 7-10 ปีในโครงการขนาดใหญ่
8.10 เขื่อนแม่วงก์จะมีค่า IRR ในกรณีข้าวราคาปกติที่ -5% ในระยะเวลา 20 ปี และ 3% ในระยะ 20 ปีที่ราคาจำนำ ทั้งนี้ในปัจจุบัน การลงทุนส่วนใหญ่ควรมีค่า IRR ในช่วงระยะเวลา 10 ปีอยู่ระหว่าง 5-10% จึงจะถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า (การคำนวนยังไม่ได้นำค่าใช้จ่ายในการดูและและซ่อมบำรุงเขื่อนและระบบส่งน้ำเข้ามารวม)
หมายเหตุ: ตัวเลขจากกรมชลประทานระบุว่าจะเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ได้ประมาณ 720 ล้านบาท/ปี คิดเป็น ระยะเวลาคืนทุน 18 ปี IRR เมื่อ 20 ปี =1%
(ขยายความเรื่อง IRR: หมายถึง ผลตอบแทนการลงทุนของกระแสเงินชุดหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วเริ่มต้นด้วยงบลงทุน เป็นตัวเลขติดลบ ตามด้วยผลตอบแทนที่จะได้รับในแต่ละปี ในกรณีของเขื่อนแม่วงก์ ถ้าหากใช้ตัวเลขของกรมชลประทานว่าจะได้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นปีละ 720 ล้านบาท/ปี โดยลบเงินลงทุนที่ 13,000 ล้านในปีแรก พบว่าในระยะเวลา 18 ปี ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพียงปีละ 1% ทั้งนี้ในปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ประมาณ 2.5-3.5% จะเห็นว่าเงินลงทุนสร้างเขื่อนแม่วงก์ หากเอาไปฝากธนาคารไว้เฉยๆ ยังได้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าประมาณ 2.5-3.5 เท่า)
(หมายเหตุเพิ่มเติม: รัฐบาลบอกว่าโครงการนี้จะใช้เงินกู้ประมาณ 9,000 ล้านบาท ทั้งนี้ปัจจุบันอัตราพันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี ให้ผลตอบแทนประมาณ 5.5-6% ต่อปี ในขณะที่ผลตอบแทนของโครงการนี้ในระยะ 18 ปีอยูที่ 1% เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าโครงการนี้เป็นโครงการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์)
9. ผมโพล 7 สี ถามคนในจ.นครสวรรค์ว่าต้องการให้สร้างเขื่อนแม่วงก์หรือไม่ปรากฏว่ามี 22.7% ต้องการเขื่อน 32.5% ต้องการเขื่อนถ้าไม่มีผลกระทบโดยรวม และ 34.2% ไม่ต้องการเขื่อน ในขณะที่ 10% ไม่แน่ใจ แสดงให้เห็นว่า คนในพื้นที่เองส่วนใหญ่แล้วก็ยังไม่ต้องการเขื่อนเลยหรือไม่ต้องการถ้าส่งกระทบต่อส่วนรวม ทั้งนี้ป่าไม้ มิได้เป็นสมบัติของคนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่เป็นสมบัติของคนทั้งชาติ ที่มีการใช้ “บริการทางอ้อม” จากป่าไม้ร่วมกัน เช่นใช้เป็นแหล่งผลิตออกซิเจน แหล่งกักเก็บน้ำ แหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น การจะทำลายป่าไม้จึงต้องคำนึงถึง “คนนอกพื้นที่” ด้วยว่าเห็นด้วยหรือไม่
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
เพื่อพยายามให้เด็กๆ ทุกรุ่นที่เกิดมาเพิ่มใหม่ทุกวันเติบโตเป็นคนดีให้ได้
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
ล่องน้ำที่ไหลหรือเรียกว่าลำแม่วงก์ที่ไม่มีป่าประมาณ 4-5พันไร่ น้ำท่วมถึงจช่องแคบไม่ถึงชุมหมัน
ตรงนั้นเป็นบ้านพรานเชียร บ้านพรานเงิน ป่านุ่น บ้านตาคำ บ้านตาแสง ที่บอกมานี้เป็นหมู่บ้านเดิม
ปัจจุบันอพยพออกมาหมดเเล้วด้าขวามือเป็นเขาแหลม เขาตามี ป่ามะไฟ สามกั๊ก เขายายบัวที่เดินเที่ยวเป็นป่าเต็งรัง ปะปนไม้สักบ้างเทาที่ถ้ามเจ้าน้าที่ดูมีสัตว์ป่าอาสัยอยู่ครับตามปกติเพราะไปเดินดูเก็นมีการ
ทำบริเวณสำรวจโดยใช้พื้นที่ตามประมาณการถ้าจะสำรวจต้นสัก็ไปหาบริเวณที่มีป่าสัก ถ้าจะสำรวจ
สิงไหนก็จะไปหาพื้นที่ตรงที่มันมีซึ่งถ้าเอาจริงๆผมว่าข้อมูลทั้งสองฝ่ายไม่น่าจะได้ร้อยเปอร์เซนต์น่าจะเเค่สี่สิบ ถึงหกสิยเท่านั้นครับถ้าอยากไปจริงผมว่าไปสำรวจจริงๆกันทั้งสองฝ่ายพร้อมกันแล้วเอาข้อมูลมาประจันหน้ากันและเวลาทำประชาพิจารณ์ขอร้องครับมาพร้อมกันหน่อยพูดกันคนละทีมนมีปัญหา
นี่เชิญแล้วก็ไ่มาอ้างเรื่อยเปื่อยครับถ้าจะทำประชาพิจารณ์ควรมาพร้อมกันถ้าใครไม่มาก็ต้องยอมรับ
และเลิกล้มความคิดเลยเพราะเป็นการเอาข้อมูลมาแถลงให้ชาวบ้านทราบครับและเชิญขนคนมาของตัวเองครับ ขอบคุณ
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
ไปสร้างกลางเมืองเชียงใหม่ คนเชียงใหม่จะยอมมั้ย?
(แค่ยกตัวอย่างนะคะ คนเชียงใหม่อย่าโกรธนะ)
จะบอกว่าบ้านใครๆ ก็รักค่ะ
ป่าเป็นบ้านของสัตว์ป่า แต่มันพูดแบบเราไม่ได้นะคะ
พวกมันจะต้องเดือดร้อน ป่าจะต้องพินาศ
ไม่มีป่า คนก็อยู่ไม่ได้ค่ะ นี่คือเรื่องจริง
แค่คิดจะทำอะไรกับป่าอีกก็แย่แล้วค่ะ
ความเห็นที่ 6
http://www.haii.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5
ความเห็นที่ 7
ขอพูดเลยนะครับ อาจจะหยาบๆหน่อยแต่จริงใจแน่นอนครับ
รัฐบาลและนักการเมืองอ้างเนี่ย เด็กๆเค้าก็รู้ครับว่า จะโกงกินหรือ ภาษาบ้านๆว่า จะแดกกัน
งบจริงๆมันกี่ล้านไหนจะพืชพันธุ์ ไม้ยืนต้น แล้วไม้สักอีก สุดท้ายก็เอาไปขายรวยกันเอง อีหรอบเดิม
ปัญหาน้ำท่วมอยากจะแก้ มาขุดลอกคลองขุดลอกท่อระบายน้ำแต่เนิ่นๆสิครับ กรมอุตุก็มี
มาทำเป็นวัวหายล้อมคอก
ผมดูการเสนอหน้าจะสร้างๆเขื่อน เห็นแล้วก็กลอกตาขึ้นลงแล้วครับ รู้ทันทีว่าไม่ได้สนความเป็นอยู่เลย
นอกจากจะโกงกินเพื่อให้ตัวเองรวยกันเอง ผลเสียจะเป็นยังไงพวกมันไม่สน แบบนี้อยากให้ลองมาเป็นสัตว์จัง
ลูกนักการเมืองหรอใครที่รู้จักบอกเค้าทีนะครับ ว่าถ้าอยู่ดีๆ ผมพาเพื่อนๆไปทุบบ้านคุณ แล้วไล่คุณออกโดยที่ไม่สนใจความเป็นอยู่คุณ ไม่แก้ปัญหาสภาพที่อยู่ให้คุณ คุณจะรู้สึกยังไง
คือถ้าอยากรวยก็ไปทำธุรกิจสิครับ ใช้สมองในทางเศรษฐศาสตร์สิครับ ไม่ใช่ไปเบียดเบียนสัตว์และคน
แล้วโกงกันมากี่โปรเจคยังไม่รวยพออีกหรอครับ ถามหน่อยว่า ตายไปนี่เอาไปหมดหรอ
ไม่อยากพูดเรื่องโกงๆตายๆเลยนะครับ แต่แค่หัวข้อคิดจะสร้าง มันก็เห็นลิ้นไก่แล้วครับ
อย่างที่คอมเม้นบนๆบอก อยากสร้างก็สร้างจุดเดียวที่มันช่วยได้หลายๆที่สิครับ ประชุมกัน ให้ประชาชนรับรู้ไม่ช่สรุปกันมาแล้วก็อ้างๆเอา เป็นเชิงวิชาการ ผมว่าชุ่ยมากครับ เหมือนกับตะกละตะกลามอยากจะโกงกันตัวสั่น การลงทุนที่ทำลายทรัพยากรเนี่ยมันจำเป็นต้องรอบคอบมากๆนะครับ ผมคนนึงล่ะไม่เชื่อนักวิชาการแน่นอนครับ ผมเชื่อคนพื้นที่ยังจะดีกว่า แค่นักกการเมืองยัดใต้โต๊ะ นักวิชาการก็กลายเป็นหมาได้ครับ ไม่ได้เสียดสีนะครับ แต่ระบบมันเป็นยังงี้จริงๆ
ขอเถอะครับ เห็นแก่ตัวเองน้อยๆ เห็นแก่ส่วนรวมเยอะๆ แล้วก็เก็บอาการหน่อยครับ น้ำลายไหลหิวเงิน มาเชียะ ขอโทษนะครับ พิมพ์ยาว แต่มันเหลืออด
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 9
ถ้ามีน้ำสามารถปลูกข้าวได้อย่างต่ำก็สองครั้งนะครับ บางครั้งอาจจะสามครั้งเลยก็เลยครับสำหรับบางพื้นที่ แล้วถ้ามีเขื่อนช่วยลดน้ำท่วมจริง เอาเงินที่รัฐมาชว่ยต่อปีจากน้ำท่วมบวกเข้าไปด้วยครับ ว่าเป็นปีละเท่าไหร่
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 11
ความเห็นที่ 12
เคยร่วมโครงการปลูกป่า เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เพื่อเทอดพระเกียรติ ฯ มาแล้วหลายครั้งหลายครา แต่คิดว่า ป่าที่ปลูก เทียบไม่ได้กับผืนป่าธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ด้วยระบบนิเวศน์ คิดว่ารัฐบาลที่ดีนั้นมีแต่จะรณรงค์ในการปลูกป่า แต่เหตุไฉนรัฐบาลนี้จึงคิดทำลายป่าแถมยังสร้างหนี้ ไว้ให้ลูกหลานชาวไทยโดยใช้เงินกู้ถึง13,000ล้านบาท ไว้ให้เป็นหนี้สาธารณะของคนไทยเพิ่มขึ้นมาอีก ก่อนจะสร้างรัฐต้องตอบให้ได้ชัดเจนและข้อมูลเป็นความจริงว่า สร้างแล้วคุ้มทุนอย่างไร เสียป่า เสียระบบนิเวศน์ สภาพภูมิศาสตร์และเสียเงินงบประมาณไปแล้ว ผลประโยชน์ที่ได้มา จะได้ประโยชน์ที่มากกว่าอย่างไร เท่าใด รัฐต้องแถลงมาให้ประชาชนได้ทราบทั่วกันก่อน และควรได้รับความยินยอมจากคนไทยเจ้าของประเทศก่อน (ออกสื่อชักชวนให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยก่อนสิ นี่กลับเป็นว่าคนส่วนใหญ่ได้รับข่าวร้ายนี้เพราะผู้ที่ต้องการคัดค้านพยายามเสนอให้ทราบ)ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะไม่ผิดอะไรกับโจรลัก ปล้น สมบัติชาติ
ความเห็นที่ 13
เคยร่วมโครงการปลูกป่า เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เพื่อเทอดพระเกียรติ ฯ มาแล้วหลายครั้งหลายครา แต่คิดว่า ป่าที่ปลูก เทียบไม่ได้กับผืนป่าธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ด้วยระบบนิเวศน์ คิดว่ารัฐบาลที่ดีนั้นมีแต่จะรณรงค์ในการปลูกป่า แต่เหตุไฉนรัฐบาลนี้จึงคิดทำลายป่าแถมยังสร้างหนี้ ไว้ให้ลูกหลานชาวไทยโดยใช้เงินกู้ถึง13,000ล้านบาท ไว้ให้เป็นหนี้สาธารณะของคนไทยเพิ่มขึ้นมาอีก ก่อนจะสร้างรัฐต้องตอบให้ได้ชัดเจนและข้อมูลเป็นความจริงว่า สร้างแล้วคุ้มทุนอย่างไร เสียป่า เสียระบบนิเวศน์ สภาพภูมิศาสตร์และเสียเงินงบประมาณไปแล้ว ผลประโยชน์ที่ได้มา จะได้ประโยชน์ที่มากกว่าอย่างไร เท่าใด รัฐต้องแถลงมาให้ประชาชนได้ทราบทั่วกันก่อน และควรได้รับความยินยอมจากคนไทยเจ้าของประเทศก่อน (ออกสื่อชักชวนให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยก่อนสิ นี่กลับเป็นว่าคนส่วนใหญ่ได้รับข่าวร้ายนี้เพราะผู้ที่ต้องการคัดค้านพยายามเสนอให้ทราบ)ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะไม่ผิดอะไรกับโจรลัก ปล้น สมบัติชาติ
ความเห็นที่ 14
เคยร่วมโครงการปลูกป่า เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เพื่อเทอดพระเกียรติ ฯ มาแล้วหลายครั้งหลายครา แต่คิดว่า ป่าที่ปลูก เทียบไม่ได้กับผืนป่าธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ด้วยระบบนิเวศน์ คิดว่ารัฐบาลที่ดีนั้นมีแต่จะรณรงค์ในการปลูกป่า แต่เหตุไฉนรัฐบาลนี้จึงคิดทำลายป่าแถมยังสร้างหนี้ ไว้ให้ลูกหลานชาวไทยโดยใช้เงินกู้ถึง13,000ล้านบาท ไว้ให้เป็นหนี้สาธารณะของคนไทยเพิ่มขึ้นมาอีก ก่อนจะสร้างรัฐต้องตอบให้ได้ชัดเจนและข้อมูลเป็นความจริงว่า สร้างแล้วคุ้มทุนอย่างไร เสียป่า เสียระบบนิเวศน์ สภาพภูมิศาสตร์และเสียเงินงบประมาณไปแล้ว ผลประโยชน์ที่ได้มา จะได้ประโยชน์ที่มากกว่าอย่างไร เท่าใด รัฐต้องแถลงมาให้ประชาชนได้ทราบทั่วกันก่อน และควรได้รับความยินยอมจากคนไทยเจ้าของประเทศก่อน (ออกสื่อชักชวนให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยก่อนสิ นี่กลับเป็นว่าคนส่วนใหญ่ได้รับข่าวร้ายนี้เพราะผู้ที่ต้องการคัดค้านพยายามเสนอให้ทราบ)ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะไม่ผิดอะไรกับโจรลัก ปล้น สมบัติชาติ
ความเห็นที่ 15
เคยร่วมโครงการปลูกป่า เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เพื่อเทอดพระเกียรติ ฯ มาแล้วหลายครั้งหลายครา แต่คิดว่า ป่าที่ปลูก เทียบไม่ได้กับผืนป่าธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ด้วยระบบนิเวศน์ คิดว่ารัฐบาลที่ดีนั้นมีแต่จะรณรงค์ในการปลูกป่า แต่เหตุไฉนรัฐบาลนี้จึงคิดทำลายป่าแถมยังสร้างหนี้ ไว้ให้ลูกหลานชาวไทยโดยใช้เงินกู้ถึง13,000ล้านบาท ไว้ให้เป็นหนี้สาธารณะของคนไทยเพิ่มขึ้นมาอีก ก่อนจะสร้างรัฐต้องตอบให้ได้ชัดเจนและข้อมูลเป็นความจริงว่า สร้างแล้วคุ้มทุนอย่างไร เสียป่า เสียระบบนิเวศน์ สภาพภูมิศาสตร์และเสียเงินงบประมาณไปแล้ว ผลประโยชน์ที่ได้มา จะได้ประโยชน์ที่มากกว่าอย่างไร เท่าใด รัฐต้องแถลงมาให้ประชาชนได้ทราบทั่วกันก่อน และควรได้รับความยินยอมจากคนไทยเจ้าของประเทศก่อน (ออกสื่อชักชวนให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยก่อนสิ นี่กลับเป็นว่าคนส่วนใหญ่ได้รับข่าวร้ายนี้เพราะผู้ที่ต้องการคัดค้านพยายามเสนอให้ทราบ)ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะไม่ผิดอะไรกับโจรลัก ปล้น สมบัติชาติ
ความเห็นที่ 16
เอาง่ายๆ จ.ชัยภูมิ เคยเป็นจังหวัดที่มีพื้นป่ามากที่สุดอันดับ 3 ของประเทศ
เป็นรองแค่ จ.เชียงใหม่กับตาก ซึ่งปัจจุบัน จ.ชัยภูมิไม่ติด 1ใน10 ของประเทศด้วยซ้ำ
ภูเขาหัวโล้นเต็มไปหมด แล้วตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา พวกที่ต่อต้านการสร้างเขื่อนครั้งนี้เอาเวลาไปทำไรหมด
พื้นที่สร้างเขื่อนแค่ 2% จากพื้นที่ป่าทั้งหมดของแม่วงก์ แล้ว 2%นี้ยังไม่ได้เสี่ยวนึงของพื้นที่ป่า
จ.ชัยภูมิโดนลักลอบตัดทิ้งไปเลย ปัจจุบันชัยภูมิเหลือพื้นที่ป่าไม่ถึง 3,000 ตร.กม ซึ่งถ้าเทียบกับ
จ.เชียงใหม่ 16,000 จ.ตาก 12,000 จ.กาญจบุรี 11,000 อับดับ1,2,3 นั้น เป็นเรื่องที่น่าใจหายมาก
คุณบอกมีต้นไม้ใหญ่ 500,000 ต้น ต้องถูกตัด เพิ่งจะมาเป็นห่วงหรอคับ ชัยภูมิโดนตัดเป็นล้านต้นแล้วคับ ผมว่านะควรสร้างโดยเร็วด้วยซ้ำ ผมไม่ได้มองแค่เกษตรกรรอบๆเขื่อนจะได้ประโยชน์เท่านั้นนะ แต่มันเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจในภาพรวม เช่น คนหาเช้ากินค่ำ พนักงาน ห้างร้านต่างๆที่ต้องมาขาดรายได้เพราะน้ำท่วม บางคนต้องส่งเงินให้พ่อแม่หรือครอบครัวใช้เลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน อาศัยแค่อาหารที่แจกมันก็แค่ประทังชีวิต พืชสวนไร่นา บ้านเรือนต่างๆ ต้องใช้แรงกายแรงใจสร้างตั้งเท่าไร่
พอน้ำท่วมมาที บางคนแทบสิ้นเนื้อประดานตัว
ความเห็นที่ 16.1
>>การที่ การที่กลุ่มอนุรัหษ์จะมาคัดค้านตอนนี้มันไม่ได้สายไปหรอกครับว่าต้นไม้ถูกตัดไปแล้วกี่ต้น แต่ที่สำคัญคือไอ้ต้นไม้ที่กำลังจะถูกตัดอีก 500,000 ต้นนี่สิครับ แต่ต้นเดียวมันก็สำคัญมาก การที่คุณคิดแบบนี้ มันเปรียบเสมือน ทำลายไปแล้วก็ทำลายต่อสิไม่เห็นเป็นไร ผมว่าความคิดนี้มันเห็นแก่ตัวเกินไปนะ
"คนหาเช้ากินค่ำ พนักงาน ห้างร้านต่างๆที่ต้องมาขาดรายได้เพราะน้ำท่วม....."
>>จากข้อ 9 เขาก็พูดอยู่ครับว่ามันไม่ได้ช่วยอะไรเลยเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วม
ความเห็นที่ 16.1.1
เขื่อนที่อยู่ข้างบนมีเป็นสิบเขื่อน เค้าก็ทำหน้าที่ของเค้าดีแล้ว แต่ไม่มีเขื่อนที่สร้างตรงกลางทางน้ำเส้นนี้ เป็นเส้นที่มีปัญหาน้ำท่วมภาคกลางเรื้อรังมานาน
พื้นที่สร้าง 2% ไม่ได้ใช้ทั้งป่าซะเมื่อไร่ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมที่จะได้รับบ้าง
เห็นใจคนจังหวัดต่างๆ ที่อยู่2ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบ้าง แหม่..มาบอกผมเห็นแก่ตัว..โด่
ส่วนเรื่องสร้างเขื่อนนั้นมีประเทศไหนบ้างในโลกสร้างเขื่อนแล้วไม่ทำลายระบบนิเวศบ้าง
มันทำลายหมดแหละ แต่ประโยชน์ที่ได้รับมันมากมายกว่าสิ่งที่เสียไป
ถ้างั้นเขื่อนที่สร้างมาแล้วเป็นสิบๆเขื่อนก่อนหน้า ใครเป็นคนสร้าง แล้วคุณบอกไม่มีประโยชน์ คุณกล้าออกความคิดเห็นมั้ยล่ะ
ความเห็นที่ 17
ถ้าบอกว่าสร้างเขื่อนเพื่อป้องกันน้ำท่วม คุณลืมกันไปแล้วหรือว่าน้ำท่วมใหญ่ทั่วโลกสาเหตุมันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศสืบเนื่องจากภาวะโลกร้อน ซึ่งก็สืบเนื่องมาจากการทำลายธรรมชาติ ป่าไม้ เพื่อต้องการพัฒนาทุกวิถีทางในการสนองกิเลสของมนุษย์ คุณจะแก้ที่ต้นเหตุต้องหยุดทำลายธรรมชาติและต้องเร่งสร้างธรรมชาติทดแทนที่ทำลายไปต่างหาก ส่วนเรื่องน้ำที่ท่วมต้องหาทางออกที่ยั่งยืนค่อยๆบรรเทาให้ลดน้อยลง ต้องทำอย่างละเอียดและยากซึ่งต้องช่วยกันทำและยอมรับความจริง ไม่มีทางแก้ได้ด้วยวิธีหยาบๆแบบนี้แน่นอน คุณจะสร้างอีกกี่ร้อยเขื่อนก็ไม่มีทางชนะธรรมชาติได้ หากมองเรื่องเศรษฐกิจภาพรวม ถ้าธรรมชาติสมบูรณ์ส่งเสริมให้คนกลับถิ่นฐานไปอยู่อย่างพอเพียง มีความสุขกว่าหาเช้่ากินค่ำแน่นอน ไอ้เรื่องเศรษฐกิจภาพรวมมันคือ ภาพมายาของระบบทุนนิยมที่ผูกให้คุณเป็นทาสเงิน เป็นหนูถีบจักรให้กลุ่มทุนนิยมมั่งคังกันไม่รู้จบต่างหาก
ถ้าบอกว่าสร้างเพื่อประโยชน์ของเกษตรกร มีเขื่อนมากมายในประเทศแต่น้ำในเขื่อนก็ไม่เคยพอทุกปีข่าวก็ออกอยู่ ถ้าไม่มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ผนฟ้าไม่ตกคุณจะเอาน้ำมาจากไหนไม่ทราบ ข้อนี้คุณยิ่งต้องช่วยกันสร้างเสริมธรรมชาติแทนที่จะทำลายเพื่อประโยชน์ตรงหน้าเมื่อนั้นธรรมชาติจะตอบแทนคุณเหมือนเมื่อครั้่งโบราณกาลที่ประเทศเราอุดมสมบูรณ์
ที่บอกว่าชาวบ้านในพื้นที่เขาเห็นด้วย ผมไม่แน่ใจว่าพวกเขาได้ข้อมูลรอบด้านหรือไม่ หรือเป็นข้อมูลแค่ที่เน้นแต่ว่าเขาจะได้ประโยชน์จากเขื่อนอย่างไรบ้าง
ความเห็นที่ 17.1
ความเห็นที่ 18
ความเห็นที่ 18.1
ความเห็นที่ 18.2
ความเห็นที่ 18.3
ความเห็นที่ 19
ความเห็นที่ 20
ความเห็นที่ 21
จีน กฏหมายคอร์รัปชั่นเข้มงวด รัฐลงทุนอย่างคุ้มค่าในโครงการใหญ่
ผมมีเพื่อนคนจีนหลายคน ลูกหลานนักการเมืองจีนก็มีเค้าบอกว่ารัฐสนับสนุนโครงการเอกชนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ป้อนสู่ตลาดโลกย้ำตลาดโลก..
ช่วยทั้งเงินลงทุนและเทคโนโลยี.แล้วหันมามองไทยสิ SMEสู้ลำพังตลอด
จะโตได้ขึ้นอยู่กับพวกใครสายไหน...
สร้างเขื่อนยุคนี้แค่คิดก็ผิดแล้ว.
ความเห็นที่ 21.1
ความเห็นที่ 22
นั่นแหละครับ ที่มาของคำว่า "เห็นแก่ตัว"
ความเห็นที่ 23
ความเห็นที่ 24
ไม่มีความเห็น ขี้เกียจเถึยงครับ
แต่ต้องการการเปลี่ยนแปลง ครับ
คนลาดยาว ต้องออกไปหากิน ต่างประเทศ ต่างถิ่น เพื่อหาเงินมาใช้หนี้สิน เมื่อเจอ น้ำท่วม ภัยแล้ง
มาหลายสิบปี แล้ว
ความสูญเสีย ป่า ขอบอกว่า ช่างแม่ง ครับ
ที่อยาก ฟัง คือ โอกาส ในการจัดการ ชลประทาน จะได้ ทำมาหากินใช้หนี้ใช้สิน
โครงการณ์ จะขาดทุน ก็ แล้วแต่ จะคิด แล้วแต่มุมมอง
แค่ มันเป็นโอกาศ พัฒนา ของคนในพื้นที่
การเปลี่ยนแปลง ให้กะคนในพื้นที่ อะไรจะเกิดก็ เกิด ครับ
ความเห็นที่ 24.1
ความเห็นที่ 24.1.1
ความเห็นที่ 25
ความเห็นที่ 26
มิหนำซ้ำ ยังทำลาย ต้นไม้ซึ่งคอยดูดซับน้ำไปอีก .......... กลัวน้ำท่วม เลยต้องสร้างเขื่อนเพื่อเก็บน้ำไว้ แต่ปริมาณน้ำมันก็ยังไม่หายไปไหน แล้วไอ่ที่มันท่วมๆ ก็เพราะ เขื่อนต้องปล่อยน้ำออกเพราะน้ำมันล้นเขื่อน มันก็ไม่ต่างอะไรกับการเติมน้ำใส่ถัง เติมเรื่อยๆมันก็เต็ม มันก็ล้น... แต่ถ้ายังมีต้นไม้ ต้นไม้จะเป็นตัวทำลายน้ำ ดูดซับน้ำให้น้อยลง ต้นไม้ยิ่งมาก น้ำยิ่งเหลือน้อย .... เหมือนเราเอาฟองน้ำไป แช่ในถัง ฟองน้ำเยอะๆ มันก็ดูดน้ำไปจนหมด ได้ ............
เลิกหาวิธีเอาชนะธรรมชาติ ด้วยพลังของมุนษย์ .....เปลี่ยนมาใช้วิธีธรรมชาติ สู้กับ ธรรมชาติ ดีกว่า
ความเห็นที่ 27
- See more at: http://www.poramate.com/?p=724
ความเห็นที่ 28
ความเห็นที่ 29
ดีครับ เป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์มากครับ อาจจะแตกต่างมุมมองบ้างแต่ก็โดยรวมก็คุ้มไม่เท่าเสีย ประเทศเราต้องการความคิดเห็นและองค์ความรู้แบบนี้ครับ ส่วนอีกด้านทั้งกรมชลและรัฐบาลน่าจะเพิ่มเติมข้อมูลให้ชัดเจนกว่านี้ครับ ณ ความเข้าใจในรายละเอียดตอนนี้ ไม่ควรสร้างครับ ได้ไม่คุ้มเสีย
ความเห็นที่ 30
ดีครับ เป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์มากครับ อาจจะแตกต่างมุมมองบ้างแต่ก็โดยรวมก็คุ้มไม่เท่าเสีย ประเทศเราต้องการความคิดเห็นและองค์ความรู้แบบนี้ครับ ส่วนอีกด้านทั้งกรมชลและรัฐบาลน่าจะเพิ่มเติมข้อมูลให้ชัดเจนกว่านี้ครับ ณ ความเข้าใจในรายละเอียดตอนนี้ ไม่ควรสร้างครับ ได้ไม่คุ้มเสีย
ความเห็นที่ 31
#ความคิดเห็นจากเด็กๆอย่างหนูมีเท่านี้ หากท่านผู้ใหญ่คนไหนคิดว่าหนูมองส่วนไหนผิดไปก็ช่วยเตือนกลับมาด้วยนะค่ะ ขอบคุณมากคะ
ความเห็นที่ 32
ความเห็นที่ 33
ความเห็นที่ 34
ความเห็นที่ 35
ความเห็นที่ 36