จดหมายเหตุ: กระเช้าภูกระดึง 2558
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 9 มกราคม 2558
ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์
ภูกระดึงเป็นอุทยานแห่งชาติ แห่งที่ 2 ของประเทศไทย (ใครทราบบ้างว่าแห่งแรกคือที่ไหน?) โดยได้รับการประกาศในปีพ.ศ. 2505 มีเนื้อที่สองแสนกว่าไร่ ลักษณะทั่วไปคือเป็นภูเขาหินยอดตัดทางขึ้นชันรอบด้าน เส้นทางปัจจุบันที่ใช้เดินขึ้นภูกระดึงจากตำบลศรีฐาน สู่หลังแปมีระยะทางประมาณ 6 กม. หลังจากนั้นต้องเดินไปที่ทำการอุทยานอีกประมาณ 3 กม. รวมใช้เวลาเดินทางเฉลี่ยประมาณ 5-6 ชม. ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆก็มีระยะทางไกลจากที่พักมากและต้องเดินเท้าเท่านั้น ความยากลำบากนี้ทำให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นรุ่นหนุ่มสาว และการท่องเที่ยวจะกระจุกตัวอยู่เฉพาะในช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์และวันหยุดยาว เนื่องจากต้องค้างอย่างน้อยหนึ่งคืน ด้วยเหตุนี้จึงมีความคิดที่จะสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึงมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2527 โดยในครั้งแรกนั้น มีม.เกษตรศาสตร์เป็นผู้จัดทำ EIA แต่คราวนั้นถูกนักอนุรักษ์และกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์คัดค้าน โครงการก็พับไป จนมีการรื้อขึ้นมาอีกในปีพ.ศ. 2541 คราวนี้มีบจ. ทีม คอนซัลแตนท์ เป็นผู้ทำ EIA ใช้เวลาสองปี สรุปออกมาได้ว่าให้สร้างกระเช้าตามแนวที่นักท่องเที่ยวใช้เดินอยู่เดิม เนื่องจากมีความเหมาะสมที่สุด น่าสนใจว่าจริงๆแล้วจากการศึกษาพบว่าเส้นทางนี้มีสภาพพื้นที่ป่าหลากหลายที่สุด มีจำนวนชนิดสัตว์ป่ามากที่สุด ซึ่งโครงการก็จะส่งผลกระทบต่อธรรมชาติมากที่สุดไปด้วย แต่มีดีกว่าเส้นทางเลือกอีกสองเส้นที่ชัดเจนคือสั้นกว่ามาก (เรื่องต้นทุนก่อสร้าง) และเหมาะสมในการจัดการท่องเที่ยวมากที่สุด (เรื่องผลประโยชน์โครงการ) ซึ่งได้คะแนนส่วนหลังนี้ไปเยอะจนชนะอีกสองทางเลือกไปได้ ทั้งๆที่ทางด้านชีวภาพนั้นเป็นทางเลือกที่ส่งผลกระทบมากที่สุดและได้คะแนนมารั้งท้าย ต่อมาในปีพ.ศ.2557 จึงมีการรื้อโครงการขึ้นมาอีกครั้งโดยให้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ศึกษา ซึ่งเป็นตัวเอกสารที่ผมใช้อ้างอิงในการเขียนครั้งนี้
สำหรับในส่วนของตัวกระเช้านั้น ข้อมูลคร่าวๆ คือจะมีความยาว 3,675 เมตร มีเสาทั้งหมด 16 ต้น รวมแล้วพื้นที่ฐานของเสาทั้งหมดจะตัดป่าเพียง 3.65 ไร่ โดยอุปกรณ์ก่อสร้างทั้งหมดจะใช้การหย่อนลงด้วยเฮลิคอปเตอร์ ไม่มีการตัดถนนเพื่อลำเลียงวัสดุ/อุปกรณ์ก่อสร้างและไม่มีการตัดป่าตามแนวกระเช้าเนื่องจากกระเช้าจะทำให้สูงพ้นแนวเรือนยอดไม้ให้ได้ชมวิวป่าไปด้วย ซึ่งจากข้อมูลนี้และตัวอย่างจากต่างประเทศทั้งในรายงานและที่ผมเคยไปเที่ยวมาคิดว่าลำพังการก่อสร้างและตัวกระเช้าไฟฟ้า ไม่น่าทรงผลกระทบอะไรต่อระบบนิเวศมากมายนักทั้งระหว่างก่อสร้างและดำเนินการ สิ่งที่น่าหวงคือ นักท่องเที่ยวที่ขึ้นไปกับกระเช้ามากกว่า
จึงต้องกลับมาพูดถึง ความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของภูกระดึง (Carrying Capacity) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะต้องเข้าใจกันก่อนว่า หน้าที่หลักของอุทยานแห่งชาติคือการอนุรักษ์ธรรมชาติให้คงอยู่ในสภาพเดิม โดยการใช้ประโยชน์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวนั้นเป็นหน้าที่รองลงมา ทั้งนี้ในปัจจุบันภูกระดึงเปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปได้เฉพาะช่วงเดือน ตุลาคม ถึง พฤษภาคม เท่านั้น โดยปิดในช่วงฤดูฝนเนื่องจากการขึ้นลงจะลำบากมาก และเพื่อเปิดโอกาสให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวไปภูกระดึงประมาณปีละ 62,000 คน ซึ่งจะไปเยอะในช่วงเสาร์อาทิตย์ (ประมาณ 1,000 คน) และช่วงหยุดยาว (ประมาณ 3,000 คน) ถ้านำตัวเลขมาเฉลี่ยก็คือประมาณ 172 คน/วัน ในขณะที่การศึกษาของบจ.ทีมฯ ระบุว่าภูกระดึงมีความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวได้วันละ 1,925 คนในกรณีที่ไม่มีกระเช้าและ 4,425 คนในกรณีที่มีกระเช้า ส่วนของม.มหิดลในปีพ.ศ.2537 ระบุว่ารองรับได้วันละ 1,500 คน ซึ่งในส่วนของโครงการปัจจุบันนั้นตั้งเป้าไว้เฉลี่ยประมาณวันละ 700 คน หรือประมาณ 253,500 คนต่อปี หรือให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 4 เท่านิดๆ (รวมนักท่องเที่ยวทั้งค้างคืนและไม่ค้างคืน)
ทั้งนี้สิ่งหนึ่งที่กระเช้าภูกระดึงจะแตกต่างไปจากกระเช้าที่ผมเคยไปเที่ยวมาคือ ส่วนใหญ่แล้วเค้าจะให้คนขึ้นไปแล้ว จัดให้อยู่ในพื้นที่แคบๆที่กำหนดไว้ ไม่ได้ปล่อยให้ออกไปเดินข้างนอกหรือค้างคืนเหมือนในกรณีของภูกระดึง ซึ่งจุดนี้เป็นอีกจุดที่มีข้อสงสัย เนื่องจากจุดท่องเที่ยวต่างๆบนภูกระดึงนั้นค่อนข้างไกล ยกตัวอย่างเช่นผาหล่มสักนั้นมีระยะทาง 9 กม.จากที่ทำการฯ ผู้สูงอายุที่ขึ้นไปถึงยอดด้วยกระเช้าแล้ว ก็ไม่สามารถเดินไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆได้อยู่ดี จึงเกิดคำถามจากหลายฝ่ายว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป? มีรถรับส่งตามจุดท่องเที่ยวไหม? มีร้านค้า ห้องน้ำ เพิ่มขึ้นไหม? สิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อระบบนิเวศบนยอดภูกระดึง ซึ่งการศึกษาในปัจจุบันก็ไม่ได้นับรวมสิ่งเหล่านี้เข้าไป
อย่างไรก็ดี คำถามเรื่องนักท่องเที่ยวขึ้นไปแล้วจะทำอะไร มีการตอบโจทย์อยู่บ้างในรูปแบบของ ศูนย์การศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติ ซึ่งจะถูกสร้างขึ้นที่บริเวณลานแป ใกล้ๆกับสถานีกระเช้า ตามแผนคือจะมีการจัดให้นักเรียนนักศึกษาและนักท่องเที่ยวทั่วไปมาเที่ยวศูนย์นี้โดยคิดค่าขึ้น/ลงกระเช้าและค่าเข้าชมศูนย์รวมทั้งหมด 500 บาท ซึ่งรายได้จากโครงการนี้จะกลายเป็นรายได้หลักของโครงการกระเช้าไปเลย เพราะจากการศึกษาจะได้มากกว่าค่ากระเช้าขึ้น/ลงบริการนักท่องเที่ยว ซึ่งจะคิดเที่ยวละ 200 บาทด้วยซ้ำไป ทั้งนี้ค่าก่อสร้างศูนย์แห่งนี้ยังไม่มีรวมอยู่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการกระเช้า ในขณะที่ผลประโยชน์ถูกนับรวมเข้ามาด้วย และที่น่าสนใจคือขนาดของศูนย์ฯดังกล่าวจะเป็นอย่างไร เพราะถ้าไม่รวมค่ากระเช้า ค่าเข้าชมศูนย์ที่ 100 บาทนับว่าค่อนข้างสูง เปรียบเทียบว่าเป็นราคาเดียวกับค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์ 3 แห่งขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติที่รังสิตคลอง 5 หรือค่าเข้าชมสวนสัตว์ดุสิต(ราคาผู้ใหญ่) ซึ่งถ้าเทียบแบบนี้แล้วศูนย์ดังกล่าวก็คงต้องมีขนาดใหญ่พอสมควรเพื่อให้คุ้มค่าเข้า จนอาจจะต้องมี EIA แยกต่างหากอีกด้วยซ้ำเพราะในที่สุดแล้วตั้งเป้าว่าจะรองรับนักท่องเที่ยวถึงปีละ 130,000 คน
คำถามข้อถัดไป คือความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการ ซึ่งต้องขอออกตัวก่อนว่าผมอ่านรายงานไม่เข้าใจทั้งหมด เนื่องจากสับสนตัวเลข ในหลายๆส่วนที่ไม่ตรงกัน (หรือผมอ่านไม่เป็นเองไม่รู้) เอาเป็นว่าค่าก่อสร้างกระเช้าน่าจะอยู่ที่ 596.8ล้านบาท ค่าดำเนินการและบำรุงรักษาปีละ 31.4ล้านบาท ค่าดูแลสิ่งแวดล้อมปีละ 3.5 ล้านบาท ค่าเสียโอกาสของลูกหาบปีละประมาณ 4 ล้านบาท ส่วนรายได้นั้น ทางตรงจะมีหลักๆอยู่ 3 ส่วน ซึ่งผมขอยกตัวอย่างประมาณการรายได้ของปี 2569 ซึ่งเป็นปีที่ 10 ของการดำเนินการโครงการมาเป็นตัวอย่าง โดยในปีนี้โครงการจะมีรายได้จากกระเช้า 28.76 ล้านบาท ร้านค้า11.94 ล้านบาท ส่วนรายได้จากศูนย์การศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติที่เอ่ยถึงไปในย่อหน้าที่แล้วนั้นปีแรกคิดว่าจะมีคนมาเยี่ยมชม 25,000 รายและเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี ในปี 2569 จะมีรายได้ปีละ 32.42 ล้านบาท ถ้าเป็นเอกชนรายได้โครงการจะมีแค่นี้ แต่เมื่อเป็นโครงการของรัฐก็จะนับรวมผลประโยชน์ทางอ้อมของโครงการ โดยเฉพาะการเติบโตของเศรษฐกิจรอบๆพื้นที่โครงการ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ร้านขายของ ไปด้วย รายได้ทางอ้อมของโครงการนี้มีมูลค่า 94.23 ล้านบาท มีรายได้จากส่วนเกินของผู้บริโภค 21.24 ล้านบาท รวมรายได้ปี 2569 มีมูลค่าถึง 188.59 ล้านบาท จากตัวเลขเหล่านี้จะเห็นว่าโครงการน่าจะมีความคุ้มค่าทางการลงทุนได้ไม่ยากนัก
ในที่สุดแล้วความกังวลใจของข้าพเจ้าต่อโครงการนี้จึงกลับไปอยู่ที่ผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวกับสภาพพื้นที่ธรรมชาติของภูกระดึง เพราะหลายๆแห่งที่ได้สัมผัสมา เช่น ที่อช.ภูหินร่องกล้า เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ลานหินปุ่มนั้น ก็ทรุดโทรมลงมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เมื่อมีการเปิดให้เข้าชมอย่างไม่จำกัดและขาดการจัดการพื้นที่ๆดี หรืออย่างภูกระดึงเอง ผมลองทำโพลเล่นๆในเฟซบุค ถามเพื่อนๆที่เคยไปซ้ำว่าเป็นอย่างไร ก็พบว่าส่วนใหญ่จะตอบว่าภูกระดึงโทรมลงเรื่อยๆ แน่นอนว่าการพัฒนากระเช้ามีข้อดีหลายด้าน แต่ดูเหมือนว่าผลเสียทั้งหมดจะตกไปอยู่กับธรรมชาติ ซึ่งในที่สุดแล้วก็คือจุดขายที่ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นมาในตอนแรกผมอยากจะมองโลกในแง่ดีว่ามีกระเช้าแล้วเราจะใช้กระเช้าเป็นเครื่องมือในการจัดการๆท่องเที่ยวบนภูกระดึงให้ดีขึ้นได้ แต่ลึกๆในใจแล้ว ผมกลัว การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบไทยๆเหลือเกิน
Disclaimer: รายละเอียดทั้งหมดในบทความนี้อ้างอิงจากเอกสาร “โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง จังหวัดเลย” (รายงานขั้นกลาง ฉบับปรับปรุงแก้ไข 20 มิถุนายน 2557) จัดทำโดยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) เป็นผู้ว่าจ้าง
ภูกระดึงเป็นอุทยานแห่งชาติ แห่งที่ 2 ของประเทศไทย (ใครทราบบ้างว่าแห่งแรกคือที่ไหน?) โดยได้รับการประกาศในปีพ.ศ. 2505 มีเนื้อที่สองแสนกว่าไร่ ลักษณะทั่วไปคือเป็นภูเขาหินยอดตัดทางขึ้นชันรอบด้าน เส้นทางปัจจุบันที่ใช้เดินขึ้นภูกระดึงจากตำบลศรีฐาน สู่หลังแปมีระยะทางประมาณ 6 กม. หลังจากนั้นต้องเดินไปที่ทำการอุทยานอีกประมาณ 3 กม. รวมใช้เวลาเดินทางเฉลี่ยประมาณ 5-6 ชม. ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆก็มีระยะทางไกลจากที่พักมากและต้องเดินเท้าเท่านั้น ความยากลำบากนี้ทำให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นรุ่นหนุ่มสาว และการท่องเที่ยวจะกระจุกตัวอยู่เฉพาะในช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์และวันหยุดยาว เนื่องจากต้องค้างอย่างน้อยหนึ่งคืน ด้วยเหตุนี้จึงมีความคิดที่จะสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึงมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2527 โดยในครั้งแรกนั้น มีม.เกษตรศาสตร์เป็นผู้จัดทำ EIA แต่คราวนั้นถูกนักอนุรักษ์และกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์คัดค้าน โครงการก็พับไป จนมีการรื้อขึ้นมาอีกในปีพ.ศ. 2541 คราวนี้มีบจ. ทีม คอนซัลแตนท์ เป็นผู้ทำ EIA ใช้เวลาสองปี สรุปออกมาได้ว่าให้สร้างกระเช้าตามแนวที่นักท่องเที่ยวใช้เดินอยู่เดิม เนื่องจากมีความเหมาะสมที่สุด น่าสนใจว่าจริงๆแล้วจากการศึกษาพบว่าเส้นทางนี้มีสภาพพื้นที่ป่าหลากหลายที่สุด มีจำนวนชนิดสัตว์ป่ามากที่สุด ซึ่งโครงการก็จะส่งผลกระทบต่อธรรมชาติมากที่สุดไปด้วย แต่มีดีกว่าเส้นทางเลือกอีกสองเส้นที่ชัดเจนคือสั้นกว่ามาก (เรื่องต้นทุนก่อสร้าง) และเหมาะสมในการจัดการท่องเที่ยวมากที่สุด (เรื่องผลประโยชน์โครงการ) ซึ่งได้คะแนนส่วนหลังนี้ไปเยอะจนชนะอีกสองทางเลือกไปได้ ทั้งๆที่ทางด้านชีวภาพนั้นเป็นทางเลือกที่ส่งผลกระทบมากที่สุดและได้คะแนนมารั้งท้าย ต่อมาในปีพ.ศ.2557 จึงมีการรื้อโครงการขึ้นมาอีกครั้งโดยให้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ศึกษา ซึ่งเป็นตัวเอกสารที่ผมใช้อ้างอิงในการเขียนครั้งนี้
สำหรับในส่วนของตัวกระเช้านั้น ข้อมูลคร่าวๆ คือจะมีความยาว 3,675 เมตร มีเสาทั้งหมด 16 ต้น รวมแล้วพื้นที่ฐานของเสาทั้งหมดจะตัดป่าเพียง 3.65 ไร่ โดยอุปกรณ์ก่อสร้างทั้งหมดจะใช้การหย่อนลงด้วยเฮลิคอปเตอร์ ไม่มีการตัดถนนเพื่อลำเลียงวัสดุ/อุปกรณ์ก่อสร้างและไม่มีการตัดป่าตามแนวกระเช้าเนื่องจากกระเช้าจะทำให้สูงพ้นแนวเรือนยอดไม้ให้ได้ชมวิวป่าไปด้วย ซึ่งจากข้อมูลนี้และตัวอย่างจากต่างประเทศทั้งในรายงานและที่ผมเคยไปเที่ยวมาคิดว่าลำพังการก่อสร้างและตัวกระเช้าไฟฟ้า ไม่น่าทรงผลกระทบอะไรต่อระบบนิเวศมากมายนักทั้งระหว่างก่อสร้างและดำเนินการ สิ่งที่น่าหวงคือ นักท่องเที่ยวที่ขึ้นไปกับกระเช้ามากกว่า
จึงต้องกลับมาพูดถึง ความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของภูกระดึง (Carrying Capacity) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะต้องเข้าใจกันก่อนว่า หน้าที่หลักของอุทยานแห่งชาติคือการอนุรักษ์ธรรมชาติให้คงอยู่ในสภาพเดิม โดยการใช้ประโยชน์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวนั้นเป็นหน้าที่รองลงมา ทั้งนี้ในปัจจุบันภูกระดึงเปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปได้เฉพาะช่วงเดือน ตุลาคม ถึง พฤษภาคม เท่านั้น โดยปิดในช่วงฤดูฝนเนื่องจากการขึ้นลงจะลำบากมาก และเพื่อเปิดโอกาสให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวไปภูกระดึงประมาณปีละ 62,000 คน ซึ่งจะไปเยอะในช่วงเสาร์อาทิตย์ (ประมาณ 1,000 คน) และช่วงหยุดยาว (ประมาณ 3,000 คน) ถ้านำตัวเลขมาเฉลี่ยก็คือประมาณ 172 คน/วัน ในขณะที่การศึกษาของบจ.ทีมฯ ระบุว่าภูกระดึงมีความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวได้วันละ 1,925 คนในกรณีที่ไม่มีกระเช้าและ 4,425 คนในกรณีที่มีกระเช้า ส่วนของม.มหิดลในปีพ.ศ.2537 ระบุว่ารองรับได้วันละ 1,500 คน ซึ่งในส่วนของโครงการปัจจุบันนั้นตั้งเป้าไว้เฉลี่ยประมาณวันละ 700 คน หรือประมาณ 253,500 คนต่อปี หรือให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 4 เท่านิดๆ (รวมนักท่องเที่ยวทั้งค้างคืนและไม่ค้างคืน)
ทั้งนี้สิ่งหนึ่งที่กระเช้าภูกระดึงจะแตกต่างไปจากกระเช้าที่ผมเคยไปเที่ยวมาคือ ส่วนใหญ่แล้วเค้าจะให้คนขึ้นไปแล้ว จัดให้อยู่ในพื้นที่แคบๆที่กำหนดไว้ ไม่ได้ปล่อยให้ออกไปเดินข้างนอกหรือค้างคืนเหมือนในกรณีของภูกระดึง ซึ่งจุดนี้เป็นอีกจุดที่มีข้อสงสัย เนื่องจากจุดท่องเที่ยวต่างๆบนภูกระดึงนั้นค่อนข้างไกล ยกตัวอย่างเช่นผาหล่มสักนั้นมีระยะทาง 9 กม.จากที่ทำการฯ ผู้สูงอายุที่ขึ้นไปถึงยอดด้วยกระเช้าแล้ว ก็ไม่สามารถเดินไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆได้อยู่ดี จึงเกิดคำถามจากหลายฝ่ายว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป? มีรถรับส่งตามจุดท่องเที่ยวไหม? มีร้านค้า ห้องน้ำ เพิ่มขึ้นไหม? สิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อระบบนิเวศบนยอดภูกระดึง ซึ่งการศึกษาในปัจจุบันก็ไม่ได้นับรวมสิ่งเหล่านี้เข้าไป
อย่างไรก็ดี คำถามเรื่องนักท่องเที่ยวขึ้นไปแล้วจะทำอะไร มีการตอบโจทย์อยู่บ้างในรูปแบบของ ศูนย์การศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติ ซึ่งจะถูกสร้างขึ้นที่บริเวณลานแป ใกล้ๆกับสถานีกระเช้า ตามแผนคือจะมีการจัดให้นักเรียนนักศึกษาและนักท่องเที่ยวทั่วไปมาเที่ยวศูนย์นี้โดยคิดค่าขึ้น/ลงกระเช้าและค่าเข้าชมศูนย์รวมทั้งหมด 500 บาท ซึ่งรายได้จากโครงการนี้จะกลายเป็นรายได้หลักของโครงการกระเช้าไปเลย เพราะจากการศึกษาจะได้มากกว่าค่ากระเช้าขึ้น/ลงบริการนักท่องเที่ยว ซึ่งจะคิดเที่ยวละ 200 บาทด้วยซ้ำไป ทั้งนี้ค่าก่อสร้างศูนย์แห่งนี้ยังไม่มีรวมอยู่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการกระเช้า ในขณะที่ผลประโยชน์ถูกนับรวมเข้ามาด้วย และที่น่าสนใจคือขนาดของศูนย์ฯดังกล่าวจะเป็นอย่างไร เพราะถ้าไม่รวมค่ากระเช้า ค่าเข้าชมศูนย์ที่ 100 บาทนับว่าค่อนข้างสูง เปรียบเทียบว่าเป็นราคาเดียวกับค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์ 3 แห่งขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติที่รังสิตคลอง 5 หรือค่าเข้าชมสวนสัตว์ดุสิต(ราคาผู้ใหญ่) ซึ่งถ้าเทียบแบบนี้แล้วศูนย์ดังกล่าวก็คงต้องมีขนาดใหญ่พอสมควรเพื่อให้คุ้มค่าเข้า จนอาจจะต้องมี EIA แยกต่างหากอีกด้วยซ้ำเพราะในที่สุดแล้วตั้งเป้าว่าจะรองรับนักท่องเที่ยวถึงปีละ 130,000 คน
คำถามข้อถัดไป คือความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการ ซึ่งต้องขอออกตัวก่อนว่าผมอ่านรายงานไม่เข้าใจทั้งหมด เนื่องจากสับสนตัวเลข ในหลายๆส่วนที่ไม่ตรงกัน (หรือผมอ่านไม่เป็นเองไม่รู้) เอาเป็นว่าค่าก่อสร้างกระเช้าน่าจะอยู่ที่ 596.8ล้านบาท ค่าดำเนินการและบำรุงรักษาปีละ 31.4ล้านบาท ค่าดูแลสิ่งแวดล้อมปีละ 3.5 ล้านบาท ค่าเสียโอกาสของลูกหาบปีละประมาณ 4 ล้านบาท ส่วนรายได้นั้น ทางตรงจะมีหลักๆอยู่ 3 ส่วน ซึ่งผมขอยกตัวอย่างประมาณการรายได้ของปี 2569 ซึ่งเป็นปีที่ 10 ของการดำเนินการโครงการมาเป็นตัวอย่าง โดยในปีนี้โครงการจะมีรายได้จากกระเช้า 28.76 ล้านบาท ร้านค้า11.94 ล้านบาท ส่วนรายได้จากศูนย์การศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติที่เอ่ยถึงไปในย่อหน้าที่แล้วนั้นปีแรกคิดว่าจะมีคนมาเยี่ยมชม 25,000 รายและเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี ในปี 2569 จะมีรายได้ปีละ 32.42 ล้านบาท ถ้าเป็นเอกชนรายได้โครงการจะมีแค่นี้ แต่เมื่อเป็นโครงการของรัฐก็จะนับรวมผลประโยชน์ทางอ้อมของโครงการ โดยเฉพาะการเติบโตของเศรษฐกิจรอบๆพื้นที่โครงการ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ร้านขายของ ไปด้วย รายได้ทางอ้อมของโครงการนี้มีมูลค่า 94.23 ล้านบาท มีรายได้จากส่วนเกินของผู้บริโภค 21.24 ล้านบาท รวมรายได้ปี 2569 มีมูลค่าถึง 188.59 ล้านบาท จากตัวเลขเหล่านี้จะเห็นว่าโครงการน่าจะมีความคุ้มค่าทางการลงทุนได้ไม่ยากนัก
ในที่สุดแล้วความกังวลใจของข้าพเจ้าต่อโครงการนี้จึงกลับไปอยู่ที่ผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวกับสภาพพื้นที่ธรรมชาติของภูกระดึง เพราะหลายๆแห่งที่ได้สัมผัสมา เช่น ที่อช.ภูหินร่องกล้า เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ลานหินปุ่มนั้น ก็ทรุดโทรมลงมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เมื่อมีการเปิดให้เข้าชมอย่างไม่จำกัดและขาดการจัดการพื้นที่ๆดี หรืออย่างภูกระดึงเอง ผมลองทำโพลเล่นๆในเฟซบุค ถามเพื่อนๆที่เคยไปซ้ำว่าเป็นอย่างไร ก็พบว่าส่วนใหญ่จะตอบว่าภูกระดึงโทรมลงเรื่อยๆ แน่นอนว่าการพัฒนากระเช้ามีข้อดีหลายด้าน แต่ดูเหมือนว่าผลเสียทั้งหมดจะตกไปอยู่กับธรรมชาติ ซึ่งในที่สุดแล้วก็คือจุดขายที่ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นมาในตอนแรกผมอยากจะมองโลกในแง่ดีว่ามีกระเช้าแล้วเราจะใช้กระเช้าเป็นเครื่องมือในการจัดการๆท่องเที่ยวบนภูกระดึงให้ดีขึ้นได้ แต่ลึกๆในใจแล้ว ผมกลัว การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบไทยๆเหลือเกิน
Disclaimer: รายละเอียดทั้งหมดในบทความนี้อ้างอิงจากเอกสาร “โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง จังหวัดเลย” (รายงานขั้นกลาง ฉบับปรับปรุงแก้ไข 20 มิถุนายน 2557) จัดทำโดยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) เป็นผู้ว่าจ้าง
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
https://baccarat.gclub18.com/
https://football.gclub18.com/
https://gclub18.com/