กระรอกน้อยกลอยใจ
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 18 มกราคม 2554
เรื่อง/ภาพ: นณณ์ ผาณิตวงศ์
วันหยุดยาวปีใหม่ ผมมักจะอยู่บ้านที่กรุงเทพฯ ไม่ค่อยได้ออกต่างจังหวัดไปเบียดเสียดเยียดยัดตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ผมอาศัยจังหวะที่คนในกรุงเทพฯ น้อยๆแบบนี้ เที่ยวอยู่ในเมืองฟ้าอมร ที่ยุ่งเหยิงน้อยลงเยอะ ปีใหม่วันนี้ผม ตื่นแต่เช้าอาศัยจังหวะที่ลูกและภรรยายังไม่ตื่นแต่งตัวแอบแว่บไปสวนรถไฟ ธรรมชาติใกล้ตัวที่ผมพอจะหาได้ในเมืองใหญ่
วันนี้ผมมีเป้าหมายคือหาถ่ายภาพกระรอก ผมมาสวนรถไฟหลายครั้งแล้ว เห็นกระรอกหลายทีแต่ไม่เคยตั้งใจดูเสียทีว่าพวกมันเป็นชนิดไหน อย่างไรกันบ้าง โดยปกติแล้ว กระรอกที่พบในกรุงเทพฯ คงจะหนีไม่พ้นกระรอกหลากสี ซึ่งในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (หนังสือเก่าๆเรียกสัตว์ดูดนม จริงๆก็น่ารักดีนะครับ) ด้วยกันแล้ว ถือเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างพิเศษ เพราะในขณะที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ มักจะมีสีค่อนข้างนิ่งในแต่ละกลุ่มประชากร ยกตัวอย่างให้เห็นใหญ่ๆ เช่นช้าง จากแอฟริกาถึงเอเชียก็สีเทาตุ่นๆแบบนั้น เสือที่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ตะวันออกกลาง ไล่มาที่เอเชียใต้ จีน รัสเซีย และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีลายและสีที่ใกล้เคียงกันจนแทบจะแยกไม่ออก แต่กระรอกหลากสีไม่ใช่แบบนั้น ถ้าคุณตั้งหลักจากกรุงเทพฯ ขับรถออกไปทางไหนก็ได้ จะเป็น เหนือ ตะวันออก หรือ ตะวันตก แค่หนึ่งหรือสองชั่วโมง คุณจะเจอกระรอกหลากสีมากถึง 4-5 สี ไล่ตั้งแต่สี ขาว เทา น้ำตาล ดำ ไปจนถึงสีแดงเลือดหมู สีที่แตกต่างกันของแต่ละประชากรเหล่านี้ถูกแยกออกเป็นระดับชนิดย่อย (Subspecies) ซึ่งในกรณีของกระรอกหลากสีมีมากกว่า 10 ชนิดย่อย กระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ประเทศ พม่า ลาว เขมร เวียตนาม โดยมีประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลางที่มีชนิดย่อยอยู่มากที่สุดถึง 8 ชนิดย่อย และหลายชนิดย่อย จัดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของไทยที่มีการกระจายพันธุ์แคบมาก เช่น ชนิดย่อยที่พบบนเกาะไผ่ หรือ เกาะล้าน
กระรอกตัวแรกที่ออกมาทักทายผมที่สวนรถไฟวันนี้เป็นชนิดย่อยที่ผมคุ้นหน้าที่สุด เพราะเป็นแบบตัวและหัวสีเทาท้องและปลายหางสีขาวหม่น กระรอกสีนี้วิ่งอยู่ที่บ้านผมซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสวนรถไฟนักตั้งแต่เด็กจนโต ผมถ่ายภาพมันไว้ ก่อนที่มันจะวิ่งหนีหายไปเพราะมีคนเดินผ่านเข้ามาใกล้ สักพักผมก็พบอีกตัว เป็นกระรอกชนิดย่อยเดียวกัน แต่ตัวนี้มีสีน้ำตาลไหม้ อีกหนึ่งความมหัศจรรย์ของกระรอกหลากสีซึ่งในชนิดย่อยก็ยังมีเฉดสีหลากหลาย ตัวนี้กำลังหากินดอกตูมๆของต้นชมพูพันทิพย์ ผมถ่ายภาพเจ้าตัวนี้ไว้อีก ก่อนที่จะเบี่ยงเบนความสนใจไปหาถ่ายภาพนกดูบ้าง นกหาง่ายๆ พวกนกเขาใหญ่ นกกิ้งโครง หรือแม้แต่กระติ๊ดขี้หมู ในอารมณ์ของเช้าตรู่ฤดูหนาว ถ่ายไว้ก็สวยดีเหมือนกัน
ใกล้ๆกับสวนผีเสื้อ กระรอกหลากสีอีกคู่กำลังวิ่งไล่กันอยู่บนต้นไม้ ผมมองขึ้นไป พบว่าคู่นี้มีสีน้ำตาลแดง ตั้งแต่หัวจรดปลายหาง ในขณะที่บริเวณท้องเป็นสีขาวหม่น ผมอาศัยจังหวะที่มันหยุดไล่กัน ถ่ายภาพมันไว้ พอกดมาดูในจอกล้องถึงเห็นว่า มันใส่แว่นตาสีขาว ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่ทำให้ผมรู้ว่าสวนรถไฟไม่ได้มีกระรอกหลากสีแค่ชนิดย่อยเดียวแต่มีถึงสอง เพราะคู่นี้เป็นอีกชนิดย่อย ที่ตามตำราระบุว่าพบในเขตภาคกลางเช่นกัน
แต่สวนรถไฟยังไม่จบแค่นั้น ระหว่างทางเดินกลับไปที่รถ กระรอกตัวหนึ่งก็แว่บเข้ามาในหางตา ผมหันไปมองมันแบบงงๆ เพราะตัวนี้เป็นตัวสีขาวล้วน กระรอกหลากสีแบบนี้จริงๆแล้วเป็นชนิดย่อยเดียวกับตัวสีน้ำตาลอ่อนที่ผมพบเป็นตัวแรก แต่ส่วนใหญ่แล้วจะพบสีขาวแบบนี้ ในป่ารอบๆเขาใหญ่ ตั้งแต่แนวเขาหินปูนแถว จ.สระบุรี รีสอร์ทเชิงเขาใหญ่ไปจนถึงป่าสะแกราช จ. นครราชสีมา ที่มันมาอยู่กลางกรุงเทพฯได้แบบนี้ก็น่าสนใจดี เพราะจริงๆแล้ว นักวิชาการเองก็ไม่ชัดเจน ว่าแต่ละสีของชนิดย่อยหรือแต่ละชนิดย่อย มีการผสมข้ามกันอย่างไรหรือไม่ เพราะในขอบการกระจายพันธุ์ของแต่ละกลุ่มก็พบฟอร์มกึ่งๆอยู่บ้างเหมือนกัน
อาทิตย์ถัดมา ด้วยความบ้ากระรอกยังอยู่ในสายเลือด ผมนัดเพื่อนฝูง (คราวนี้มีเจ้าพรุ กับไผ่พี่) ออกเดินทางสู่ภาคตะวันออก เป้าหมายอยู่ที่กระรอกหลากสีอีกสองชนิดย่อย ตัวแรกมีขนสีดำสนิท อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล แถวเขาเขียว บางละมุง พัทยา นี่เอง ชนิดย่อยนี้ผมเคยเห็นมาแล้วตั้งแต่สมัยมาเข้าค่ายที่บางละมุงตั้งแต่เด็ก แต่พอกลับไปแถวค่ายอีกทีเมื่อปลายปีที่ผ่านมาก็พบว่ากลายเป็นรีสอร์ทเป็นโรงแรมไปหมดแล้ว คราวนี้ได้ข่าวจากพี่ตุ้มเจ้าถิ่นว่าแถวเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำบางพระ ก็มีอยู่ฝูงใหญ่เลยนัดกับเจ้าถิ่นไปตามหากัน ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง เพราะกระรอกหลากสีดำ ฝูงใหญ่วิ่งกันให้ทั่วป่าไปหมด แต่กระรอกป่าพวกนี้ค่อนข้างจะระแวดระวังตัวกว่ากระรอกในเมืองเยอะ จึงเข้าใกล้ไม่ได้มากนัก ต้องซุ่มกันอยู่พักใหญ่ถึงจะได้ภาพมาบ้าง
ที่บางพระนี่จะมีกระรอกอยู่สองชนิด ตัวสีดำเป็นกระรอกหลากสีตามที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่มีอีกแบบมีสีเทา/น้ำตาลท้องส้มๆแดงๆ เห็นทั้งสองสีที่เจอมันวิ่งไล่กันไปมา น้องที่ไปด้วยกันสงสัยว่าเป็นตัวผู้ตัวเมียหรือเปล่า แต่พอถ่ายภาพมาดูใกล้ๆ ถึงเห็นว่าเป็นกระรอกท้องแดง ซึ่งเป็นคนละชนิดกับกระรอกหลากสี เจ้าท้องแดงนี่ถ้าดูใกล้ๆจะเห็นว่าขนสั้นและแน่นกว่ากระรอกหลากสี ในขณะที่ขนของพวกหลากสีจะค่อนข้างยาวและลู่ไปข้างหลัง ขนสั้นๆของกระรอกท้องแดงจะชูขึ้นเบียดกันแน่นไปหมด
ถัดจากบางพระ เรามุ่งหน้าต่อกันไปที่อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวงจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นจุดที่ผมทำวิจัยอยู่ แถวนี้มีกระรอกชนิดย่อยอีกชนิด ที่ผมเห็นบ่อยแล้ว แต่เพื่อนร่วมทางที่ชวนมาด้วยกันไม่เคยเห็น ที่หน่วยเขาวงมีต้นขนุนปลูกอยู่แถวที่ทำการหลายต้น เจ้าหน้าที่กินกันไม่ทัน ก็จะมีกระรอกพวกนี้มาช่วยกันกินทั้งเช้าและเย็น เรานั่งเฝ้าดูอยู่ห่างๆ ในขณะที่เหล่ากระรอกตัวสีแดงเลือดนกแสนสวยเหล่านี้ ทยอยกันมาจากทุกสารทิศ รุมกินขนุนกันจนพุงกางแล้วก็แยกย้ายกันไป ก่อนจะหมดแสงของวัน
กระรอกหลากสีเป็นกระรอกที่ปรับตัวได้ดี ในประเทศไทยมันกระจายพันธุ์อยู่ในทุกภาคยกเว้นแค่ภาคใต้ มันอาศัยอยู่ได้ทั้งในเมือง ในป่า และตามเกาะต่างๆแต่ในหลายๆพื้นที่ ก็มีกระรอกชนิดอื่นๆ อาศัยร่วมอยู่กับมันเช่นที่บางพระมีกระรอกท้องแดง แต่ถ้าไปที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เราจะพบกระรอกอีกชนิดที่มีขนาดเท่าๆกับกระรอกหลากสี แต่หลังมีสีน้ำตาลแดงมีท้องและหางสีเทา กระรอกแบบนี้เป็นกระรอกท้องเทา ซึ่งเป็นชนิดแยกต่างหากจากกระรอกหลากสี การจำแนกชนิดของกระรอกท้องเทาออกจากกระรอกหลากสีใช้วิธีเดียวกับการแยกออกจากกระรอกท้องแดง คือดูที่ขนซึ่งกระรอกท้องเทาจะมีขนที่แน่นและสั้นกว่า กระรอกทั้งสามชนิดมีการกระจายพันธุ์ทับซ้อนกันในหลายพื้นที่ของประเทศไทย แต่ละชนิดก็มีชนิดย่อยของตัวเองที่มีสีสันต่างกัน ถึงแม้ว่าชนิดย่อยของกระรอกท้องเทาและท้องแดงจะมีสีสันไม่หลากหลายเท่า จะเป็นเรื่องของโทนสีเข้มบ้างอ่อนบ้าง ไม่ถึงกับเปลี่ยนสีเปลี่ยนลายกันสิ้นเชิงแบบกระรอกหลากสี การจำแนกชนิดจะยุ่งยากขึ้นเมื่อลงใต้ เพราะจะมีกระรอกอีกหลายชนิด ซึ่งขอใช้เวลารวบรวมภาพอีกสักพักคงจะได้กลับมาเขียนถึงกระรอกถิ่นใต้บ้างครับ
การศึกษาของเหล่ากระรอกในประเทศไทยดูเหมือนจะมีไม่มากนัก ทั้งๆที่มีชนิดย่อยที่เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของไทย และมีการกระจายพันธุ์ที่แคบมากอยู่หลายชนิดย่อย ในหลายๆพื้นที่ กระรอกถูกล่าเป็นอาหาร เป็นเกมส์ ทั้งๆที่มันมีสถานะเป็นสัตว์คุ้มครอง ในเมือง กระรอกมีอาหารกินน้อยลงเรื่อยๆ จากสภาพธรรมชาติที่หดหายไปอย่างต่อเนื่อง บางทีก็ถูกแมวบ้านล่าไปกิน ถูกไฟช๊อทตายคาสายไฟก็บ่อย วันนี้ผมอยากให้ทุกคนลองมองออกไปนอกหน้าต่าง หาดูกระรอกแถวบ้านของคุณ ดูหน่อยเถิดครับว่าช่วยเหลืออะไรพวกเขาได้บ้าง ถ้าบ้านพอจะมีที่เหลือ ลองปลูกพืชที่เป็นอาหารกระรอกได้ อย่างตะขบบ้าน หรือกล้วย ถ้าไม่มีก็ฝากหยิบยื่นอาหารให้เขาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ เช่น กล้วย มะละกอ หรือ เมล็ดพืช เพื่อให้เพื่อนหางฟู ได้มีชีวิตอยู่ร่วมโลกไปกับเรานานๆ
ข้อมูลเพิ่มเติมของเหล่ากระรอก สามารถดูได้ที่ Species Index ครับ
http://www.siamensis.org/species_index#2327--Genus: Collosciurus
วันหยุดยาวปีใหม่ ผมมักจะอยู่บ้านที่กรุงเทพฯ ไม่ค่อยได้ออกต่างจังหวัดไปเบียดเสียดเยียดยัดตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ผมอาศัยจังหวะที่คนในกรุงเทพฯ น้อยๆแบบนี้ เที่ยวอยู่ในเมืองฟ้าอมร ที่ยุ่งเหยิงน้อยลงเยอะ ปีใหม่วันนี้ผม ตื่นแต่เช้าอาศัยจังหวะที่ลูกและภรรยายังไม่ตื่นแต่งตัวแอบแว่บไปสวนรถไฟ ธรรมชาติใกล้ตัวที่ผมพอจะหาได้ในเมืองใหญ่
วันนี้ผมมีเป้าหมายคือหาถ่ายภาพกระรอก ผมมาสวนรถไฟหลายครั้งแล้ว เห็นกระรอกหลายทีแต่ไม่เคยตั้งใจดูเสียทีว่าพวกมันเป็นชนิดไหน อย่างไรกันบ้าง โดยปกติแล้ว กระรอกที่พบในกรุงเทพฯ คงจะหนีไม่พ้นกระรอกหลากสี ซึ่งในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (หนังสือเก่าๆเรียกสัตว์ดูดนม จริงๆก็น่ารักดีนะครับ) ด้วยกันแล้ว ถือเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างพิเศษ เพราะในขณะที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ มักจะมีสีค่อนข้างนิ่งในแต่ละกลุ่มประชากร ยกตัวอย่างให้เห็นใหญ่ๆ เช่นช้าง จากแอฟริกาถึงเอเชียก็สีเทาตุ่นๆแบบนั้น เสือที่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ตะวันออกกลาง ไล่มาที่เอเชียใต้ จีน รัสเซีย และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีลายและสีที่ใกล้เคียงกันจนแทบจะแยกไม่ออก แต่กระรอกหลากสีไม่ใช่แบบนั้น ถ้าคุณตั้งหลักจากกรุงเทพฯ ขับรถออกไปทางไหนก็ได้ จะเป็น เหนือ ตะวันออก หรือ ตะวันตก แค่หนึ่งหรือสองชั่วโมง คุณจะเจอกระรอกหลากสีมากถึง 4-5 สี ไล่ตั้งแต่สี ขาว เทา น้ำตาล ดำ ไปจนถึงสีแดงเลือดหมู สีที่แตกต่างกันของแต่ละประชากรเหล่านี้ถูกแยกออกเป็นระดับชนิดย่อย (Subspecies) ซึ่งในกรณีของกระรอกหลากสีมีมากกว่า 10 ชนิดย่อย กระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ประเทศ พม่า ลาว เขมร เวียตนาม โดยมีประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลางที่มีชนิดย่อยอยู่มากที่สุดถึง 8 ชนิดย่อย และหลายชนิดย่อย จัดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของไทยที่มีการกระจายพันธุ์แคบมาก เช่น ชนิดย่อยที่พบบนเกาะไผ่ หรือ เกาะล้าน
กระรอกตัวแรกที่ออกมาทักทายผมที่สวนรถไฟวันนี้เป็นชนิดย่อยที่ผมคุ้นหน้าที่สุด เพราะเป็นแบบตัวและหัวสีเทาท้องและปลายหางสีขาวหม่น กระรอกสีนี้วิ่งอยู่ที่บ้านผมซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสวนรถไฟนักตั้งแต่เด็กจนโต ผมถ่ายภาพมันไว้ ก่อนที่มันจะวิ่งหนีหายไปเพราะมีคนเดินผ่านเข้ามาใกล้ สักพักผมก็พบอีกตัว เป็นกระรอกชนิดย่อยเดียวกัน แต่ตัวนี้มีสีน้ำตาลไหม้ อีกหนึ่งความมหัศจรรย์ของกระรอกหลากสีซึ่งในชนิดย่อยก็ยังมีเฉดสีหลากหลาย ตัวนี้กำลังหากินดอกตูมๆของต้นชมพูพันทิพย์ ผมถ่ายภาพเจ้าตัวนี้ไว้อีก ก่อนที่จะเบี่ยงเบนความสนใจไปหาถ่ายภาพนกดูบ้าง นกหาง่ายๆ พวกนกเขาใหญ่ นกกิ้งโครง หรือแม้แต่กระติ๊ดขี้หมู ในอารมณ์ของเช้าตรู่ฤดูหนาว ถ่ายไว้ก็สวยดีเหมือนกัน
ใกล้ๆกับสวนผีเสื้อ กระรอกหลากสีอีกคู่กำลังวิ่งไล่กันอยู่บนต้นไม้ ผมมองขึ้นไป พบว่าคู่นี้มีสีน้ำตาลแดง ตั้งแต่หัวจรดปลายหาง ในขณะที่บริเวณท้องเป็นสีขาวหม่น ผมอาศัยจังหวะที่มันหยุดไล่กัน ถ่ายภาพมันไว้ พอกดมาดูในจอกล้องถึงเห็นว่า มันใส่แว่นตาสีขาว ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่ทำให้ผมรู้ว่าสวนรถไฟไม่ได้มีกระรอกหลากสีแค่ชนิดย่อยเดียวแต่มีถึงสอง เพราะคู่นี้เป็นอีกชนิดย่อย ที่ตามตำราระบุว่าพบในเขตภาคกลางเช่นกัน
แต่สวนรถไฟยังไม่จบแค่นั้น ระหว่างทางเดินกลับไปที่รถ กระรอกตัวหนึ่งก็แว่บเข้ามาในหางตา ผมหันไปมองมันแบบงงๆ เพราะตัวนี้เป็นตัวสีขาวล้วน กระรอกหลากสีแบบนี้จริงๆแล้วเป็นชนิดย่อยเดียวกับตัวสีน้ำตาลอ่อนที่ผมพบเป็นตัวแรก แต่ส่วนใหญ่แล้วจะพบสีขาวแบบนี้ ในป่ารอบๆเขาใหญ่ ตั้งแต่แนวเขาหินปูนแถว จ.สระบุรี รีสอร์ทเชิงเขาใหญ่ไปจนถึงป่าสะแกราช จ. นครราชสีมา ที่มันมาอยู่กลางกรุงเทพฯได้แบบนี้ก็น่าสนใจดี เพราะจริงๆแล้ว นักวิชาการเองก็ไม่ชัดเจน ว่าแต่ละสีของชนิดย่อยหรือแต่ละชนิดย่อย มีการผสมข้ามกันอย่างไรหรือไม่ เพราะในขอบการกระจายพันธุ์ของแต่ละกลุ่มก็พบฟอร์มกึ่งๆอยู่บ้างเหมือนกัน
อาทิตย์ถัดมา ด้วยความบ้ากระรอกยังอยู่ในสายเลือด ผมนัดเพื่อนฝูง (คราวนี้มีเจ้าพรุ กับไผ่พี่) ออกเดินทางสู่ภาคตะวันออก เป้าหมายอยู่ที่กระรอกหลากสีอีกสองชนิดย่อย ตัวแรกมีขนสีดำสนิท อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล แถวเขาเขียว บางละมุง พัทยา นี่เอง ชนิดย่อยนี้ผมเคยเห็นมาแล้วตั้งแต่สมัยมาเข้าค่ายที่บางละมุงตั้งแต่เด็ก แต่พอกลับไปแถวค่ายอีกทีเมื่อปลายปีที่ผ่านมาก็พบว่ากลายเป็นรีสอร์ทเป็นโรงแรมไปหมดแล้ว คราวนี้ได้ข่าวจากพี่ตุ้มเจ้าถิ่นว่าแถวเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำบางพระ ก็มีอยู่ฝูงใหญ่เลยนัดกับเจ้าถิ่นไปตามหากัน ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง เพราะกระรอกหลากสีดำ ฝูงใหญ่วิ่งกันให้ทั่วป่าไปหมด แต่กระรอกป่าพวกนี้ค่อนข้างจะระแวดระวังตัวกว่ากระรอกในเมืองเยอะ จึงเข้าใกล้ไม่ได้มากนัก ต้องซุ่มกันอยู่พักใหญ่ถึงจะได้ภาพมาบ้าง
ที่บางพระนี่จะมีกระรอกอยู่สองชนิด ตัวสีดำเป็นกระรอกหลากสีตามที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่มีอีกแบบมีสีเทา/น้ำตาลท้องส้มๆแดงๆ เห็นทั้งสองสีที่เจอมันวิ่งไล่กันไปมา น้องที่ไปด้วยกันสงสัยว่าเป็นตัวผู้ตัวเมียหรือเปล่า แต่พอถ่ายภาพมาดูใกล้ๆ ถึงเห็นว่าเป็นกระรอกท้องแดง ซึ่งเป็นคนละชนิดกับกระรอกหลากสี เจ้าท้องแดงนี่ถ้าดูใกล้ๆจะเห็นว่าขนสั้นและแน่นกว่ากระรอกหลากสี ในขณะที่ขนของพวกหลากสีจะค่อนข้างยาวและลู่ไปข้างหลัง ขนสั้นๆของกระรอกท้องแดงจะชูขึ้นเบียดกันแน่นไปหมด
ถัดจากบางพระ เรามุ่งหน้าต่อกันไปที่อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวงจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นจุดที่ผมทำวิจัยอยู่ แถวนี้มีกระรอกชนิดย่อยอีกชนิด ที่ผมเห็นบ่อยแล้ว แต่เพื่อนร่วมทางที่ชวนมาด้วยกันไม่เคยเห็น ที่หน่วยเขาวงมีต้นขนุนปลูกอยู่แถวที่ทำการหลายต้น เจ้าหน้าที่กินกันไม่ทัน ก็จะมีกระรอกพวกนี้มาช่วยกันกินทั้งเช้าและเย็น เรานั่งเฝ้าดูอยู่ห่างๆ ในขณะที่เหล่ากระรอกตัวสีแดงเลือดนกแสนสวยเหล่านี้ ทยอยกันมาจากทุกสารทิศ รุมกินขนุนกันจนพุงกางแล้วก็แยกย้ายกันไป ก่อนจะหมดแสงของวัน
กระรอกหลากสีเป็นกระรอกที่ปรับตัวได้ดี ในประเทศไทยมันกระจายพันธุ์อยู่ในทุกภาคยกเว้นแค่ภาคใต้ มันอาศัยอยู่ได้ทั้งในเมือง ในป่า และตามเกาะต่างๆแต่ในหลายๆพื้นที่ ก็มีกระรอกชนิดอื่นๆ อาศัยร่วมอยู่กับมันเช่นที่บางพระมีกระรอกท้องแดง แต่ถ้าไปที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เราจะพบกระรอกอีกชนิดที่มีขนาดเท่าๆกับกระรอกหลากสี แต่หลังมีสีน้ำตาลแดงมีท้องและหางสีเทา กระรอกแบบนี้เป็นกระรอกท้องเทา ซึ่งเป็นชนิดแยกต่างหากจากกระรอกหลากสี การจำแนกชนิดของกระรอกท้องเทาออกจากกระรอกหลากสีใช้วิธีเดียวกับการแยกออกจากกระรอกท้องแดง คือดูที่ขนซึ่งกระรอกท้องเทาจะมีขนที่แน่นและสั้นกว่า กระรอกทั้งสามชนิดมีการกระจายพันธุ์ทับซ้อนกันในหลายพื้นที่ของประเทศไทย แต่ละชนิดก็มีชนิดย่อยของตัวเองที่มีสีสันต่างกัน ถึงแม้ว่าชนิดย่อยของกระรอกท้องเทาและท้องแดงจะมีสีสันไม่หลากหลายเท่า จะเป็นเรื่องของโทนสีเข้มบ้างอ่อนบ้าง ไม่ถึงกับเปลี่ยนสีเปลี่ยนลายกันสิ้นเชิงแบบกระรอกหลากสี การจำแนกชนิดจะยุ่งยากขึ้นเมื่อลงใต้ เพราะจะมีกระรอกอีกหลายชนิด ซึ่งขอใช้เวลารวบรวมภาพอีกสักพักคงจะได้กลับมาเขียนถึงกระรอกถิ่นใต้บ้างครับ
การศึกษาของเหล่ากระรอกในประเทศไทยดูเหมือนจะมีไม่มากนัก ทั้งๆที่มีชนิดย่อยที่เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของไทย และมีการกระจายพันธุ์ที่แคบมากอยู่หลายชนิดย่อย ในหลายๆพื้นที่ กระรอกถูกล่าเป็นอาหาร เป็นเกมส์ ทั้งๆที่มันมีสถานะเป็นสัตว์คุ้มครอง ในเมือง กระรอกมีอาหารกินน้อยลงเรื่อยๆ จากสภาพธรรมชาติที่หดหายไปอย่างต่อเนื่อง บางทีก็ถูกแมวบ้านล่าไปกิน ถูกไฟช๊อทตายคาสายไฟก็บ่อย วันนี้ผมอยากให้ทุกคนลองมองออกไปนอกหน้าต่าง หาดูกระรอกแถวบ้านของคุณ ดูหน่อยเถิดครับว่าช่วยเหลืออะไรพวกเขาได้บ้าง ถ้าบ้านพอจะมีที่เหลือ ลองปลูกพืชที่เป็นอาหารกระรอกได้ อย่างตะขบบ้าน หรือกล้วย ถ้าไม่มีก็ฝากหยิบยื่นอาหารให้เขาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ เช่น กล้วย มะละกอ หรือ เมล็ดพืช เพื่อให้เพื่อนหางฟู ได้มีชีวิตอยู่ร่วมโลกไปกับเรานานๆ
ข้อมูลเพิ่มเติมของเหล่ากระรอก สามารถดูได้ที่ Species Index ครับ
http://www.siamensis.org/species_index#2327--Genus: Collosciurus
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
ปล. เขียนได้ดีเหมือนเดิม
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 4.1
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
สวัสดีครับ แถวบ้านผมยังโชคดีที่ยังมีอยู่เยอะพอสมควร (อ.นายายอาม จ.จันทบุรี) ซึ่งก็คงไม่ไกลจากเขาชะเมาเท่าไร ตอนผมบวชเห็นกระรอกแดงทุกวัน เพราะวัดติดกับเขา ชื่อว่าเขาทะลาย ลงมากินลูกไทร แต่ที่บ้านผมเองบริเวณบ้านมีแต่กระถิกกับกระเล็น คงหนีมาจากสวนพวกนี้ไปกัดกินผลไม้มั้ง เขาถึงไม่ค่อยรัก มาอยู่บริเวณบ้านผมไม่มีใครทำอะไร ก็อยู่จนออกลูกออกหลาน เคยเห็นนึกว่ารังหนูใต้หลังคากรงไก่พอเปิดดู(กลางคืน) เจอกระถิกทั้งแม่และลูกตัวแดงๆเลย ก็ปิดเหมือนเดิม เขาก็ไม่หนีไปไหน ส่วนกระเล็นเคยเสียใจครั้งนึง ตัดเครือกล้วยไม่ได้ดูเขาทำรังอยู่ในเครือกล้วยเลย มีลูกตัวแดง เลยเอาวางไว้ใกล้ๆ คิดว่าพ่อแม่คงมาคาบไป
ปล.ที่บ้านมีต้นปาล์มอยู่ 1 ต้น ออกลูกเยอะมาก กระถิกชอบกินมั้ง เลยมีเยอะเลย
ความเห็นที่ 7