ดูนกในเมือง ตอน นกเอี้ยง นกกิ้งโครง Myna and Starling

เรื่อง: อุเทน ภุมรินทร์ ภาพ: กุลพัฒน์ ศรลัมภ์ 

คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก “นกเอี้ยง” ซึ่งเป็นนกที่พบได้ทั่วประเทศไทย แถมมีจำนวนมาก เราจะเห็นพวกมันเดินไปเดินมา จิกโน่นกินนี่ อยู่ตามสนามหญ้าหน้าบ้าน หรือในสวนสาธารณะ นกเอี้ยงที่เราเห็นจนชินตา แท้จริงแล้ว ไม่ได้มีเพียงชนิดเดียว! 


เริ่มต้นมาทำความรู้จักกับนกเอี้ยงที่พบได้บ่อยมากๆ คือ นกเอี้ยงสาริกา (Common myna) ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม หัวเป็นสีดำ มีแถบใต้ปีก และก้นสีขาว ขอบตาสีเหลือง เจ้าเอี้ยงตัวนี้ จำง่ายๆ กรีดอายไลเนอร์(Eye liner) รอบดวงตาสีเหลืองสดเช่นเดียวกับปาก ตัดกับส่วนหัวสีดำเด่นชัด ขาและนิ้วสีเหลือง

นกเอี้ยงชนิดที่สอง คือ นกเอี้ยงหงอน (White-vented Myna) คล้ายกับนกเอี้ยงสาลิกา แต่ขนลำตัว หัวจรดหางเป็นสีดำ ปากสีเหลืองสด แต่ไม่มีหนังรอบตา หรือกรีดอายไลเนอร์เหมือนนกเอี้ยงสาลิกา แถบใต้ปีกสีขาวเป็นวงใหญ่เห็นได้ชัดขณะบิน มีหงอนขนบนหน้าผากตั้งเห็นเด่นชัด ดูคล้ายทรงผมพั้งก์ของเด็กสุดแนว ชื่อภาษาอังกฤษของมัน ชี้จุดเด่นอีกที่ คือ ก้นสีขาว

นกเอี้ยงชนิดที่สาม คือ นกเอี้ยงด่าง (Asian pied starling) สีสันบนตัวของมันกระดำกระด่างสมชื่อ คือสีดำกับสีขาว หัว คอ อก ลำตัวด้านบนและหางสีดำ ตัดกันกับลำตัวส่วนล่างสีดำ แก้มและหน้าผากสีขาว ปากสีเหลืองสด โคนปากกับหนังรอบตาเป็นสีแดงแกมชมพู คล้ายสาวน้อย ทาลิบสติกสองเฉดสี

  

ชนิดสุดท้ายที่แนะนำให้รู้จัก คือ นกกิ้งโครงคอดำ (Black-collared Starling) ในบรรดานกกลุ่มนี้สี่ชนิดที่กล่าวมา เจ้านี้ เป็น 'พี่ใหญ่' คือมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อน มีสีสันตรงตามชื่อ คือ รอบคอและอกเป็นแถบสีดำ ลำตัวด้านบนสีดำแกมน้ำตาล บริเวณปีกมีแถบสีขาวแคบๆ ตะโพกและท้องสีขาว ส่วนหัวและคอส่วนบนสีเหลืองนวล หนังรอบตาสีเหลือง นิยมกรีดอายไลเนอร์เช่นเดียวกับนกเอี้ยงสาริกา แต่ไม่โดดเด่นเท่า เพราะส่วนหัวไม่เป็นสีดำตัดกัน

อาหารของพวกมันเป็นสัตว์ตัวเล็กๆ เช่น ไส้เดือน แมลง ตามสนามหญ้า และผลไม้ อย่างลูกตะขบ ไทรที่พอหาได้ตามเมือง

รู้เทคนิคและหน้าตาของนกเอี้ยงในเมืองกันแล้ว ลองจำแนกดูสิว่า นกเอี้ยงที่หน้าบ้านเรา มีกี่ชนิดกันแน่?

 

Comments

ความคิดเห็น

ความเห็นที่ 1

บรรยายภาพน่าจะสลับกันนะครับ ผมจับมันสลับกันแล้ว บทความแจ่มมากครับ

ความเห็นที่ 2

แจ่มเหมือนเคย หายไปนานเลยนะ ทอม

ความเห็นที่ 3

ขอบคุณครับ พี่นนณ์ ผมจับมันสลับไม่เป็นน่ะครับ ขอบคุณเช่นกันครับ พี่ดิวอิน จะพยายามเขียนให้บ่อยครับ

ความเห็นที่ 3.1

นกเอี้ยง สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งชมพูทวีป เป็นสัตว์ท่ีถูกกำหนดให้อภัย ไม่มีการล่า ชื่อว่า สาลิเก ตามคำประกาศบนเสาอโศกท่ีมียอดบนเป็นรูปสิงห์สี่ตัว คนไทยเราเรียกตามคำแขกว่า สาลิกา 
เวลาเกาะอยู่บนยอดไม้ อารมณ์ดีๆ จะพรำ่ภาษาของมันอย่างร่าเริงคล้ายอย่างกับคนคุยกัน เรายังคิดว่ามันอยู่กันสองตัวเสียอีก

ความเห็นที่ 4

นกเอี้ยงป่วยไม่กินอะไรเลยทั้งวันแม้แต่น้ำก็ยังไม่กิน ขี้ออกสีขาวข้นค่ะ อายุประมาณเจ็ดเดือนแล้วไม่รู้เป็นอะไรcrying