จดหมายเปิดผนึก ถึง สวนสัตว์ดุสิต
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 14 มิถุนายน 2555
13 มิถุนายน 2555
เรียน ผู้อำนวยการสวนสัตว์ดุสิต
เรื่อง กิจกรรมขายสัตว์ปล่อยในบริเวณสวนสัตว์ดุสิต
เนื่องจากข้าพเจ้า ได้เข้าไปเที่ยวที่สวนสัตว์ดุสิตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2555 พบว่ามีการขายสัตว์น้ำเพื่อปล่อยในบริเวณสวนสัตว์ดุสิต ซึ่งข้าพเจ้ามีความกังวลกับกิจกรรมดังกล่าว ดังนี้
1. ภาพปลาตะเพียนขาวที่นำไปใช้ประกอบการโฆษณาเพื่อการค้า เป็นภาพที่ข้าพเจ้าเป็นผู้ถ่าย ซึ่งการนำภาพดังกล่าวไปใช้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่ายของข้าพเจ้าตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 ซึ่งห้ามมิให้นำภาพถ่ายไปทำซ้ำ หรือเผยแพร่ โดยเฉพาะเพื่อแสวงหากำไร โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
2. สัตว์น้ำที่ปล่อยหลายชนิด คือ ปลานิล (ทวีปแอฟริกา) ปลาทับทิม (ทวีปแอฟริกา) ปลาจาระเม็ด (ทวีปอเมริกาใต้) ปลาไน (เอเชียตะวันออก) และตะพาบไต้หวัน (เอเชียตะวันออก) เป็นสัตว์ต่างถิ่น มิได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย โดยในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหากับชนิดพันธุ์ต่างถิ่นหลายชนิด เช่นการระบาดของหอยเชอรี่ และ ผักตบชวา ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก การที่ทางสวนสัตว์ดุสิต อนุญาตให้ค้าขายสัตว์ดังกล่าวเพื่อปล่อยลงในแหล่งน้ำ ถึงแม้ว่าจะเป็นแหล่งน้ำปิด จะเป็นการสร้างความเข้าใจที่ผิดให้กับประชาชนและเยาวชนที่ มาเที่ยวในสวนสัตว์ว่าสัตว์น้ำดังกล่าวสามารถปล่อยลงสู่แหล่งน้ำในประเทศไทยได้
3. การโฆษณาว่าปลาที่ปล่อยเป็นปลากินพืช ไม่ทำลายระบบนิเวศ นั้นไม่เป็นความจริงเสียทีเดียว กล่าวคือ ปลาที่ปล่อยมิได้เป็นปลากินพืชทั้งหมด เช่น ปลาสลิด ปลาหมอไทย และ ตะพาบ เป็นสัตวที่กินสัตว์น้ำชนิดอื่นๆเป็นอาหารหลัก ส่วนปลาตะเพียนขาว จาระเม็ด ปลานิล ปลาทับทิม และ ปลาแรด จัดเป็นปลาในกลุ่มที่สามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ มิได้กินแต่พืชอย่างเดียว นอกจากนั้นการที่บอกว่าการปล่อยสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารไม่เป็นการทำลายระบบนิเวศก็ไม่เป็นความจริง ยกตัวอย่างเช่น หอยเชอรี่ และ ปลาซัคเกอร์ ซึ่งเป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นหลักก็ก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศได้ และยังพบว่าสัตว์กินพืช หลายชนิดหากพืชขาดแคลนก็สามารถปรับตัวมากินสิ่งมีชีวิตอื่นๆได้ หรือในกรณีของปลาเฉา ซึ่งเป็นปลาที่กินแต่พืชเป็นอาหารหลักก็พบว่าเป็นสัตว์ต่าง ถิ่นที่ทำให้ระบบนิเวศเสียหายในหลายประเทศ เนื่องจากกินพืชในแหล่งน้ำจนหมด ทำให้แหล่งน้ำขาดพืชมาดูซับของเสียและทำให้น้ำในแหล่งน้ำเน่าเสียได้เช่นกัน หรือในกรณีของสัตว์บก เช่น แพะซึ่งเป็นสัตว์กินพืชที่ถูกปล่อยในหมู่เกาะฮาวาย ก็ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบนิเวศเช่นกัน
4. การอ้างสรรพคุณต่างๆในการปล่อยสัตว์น้ำแต่ละชนิด มิได้เป็นความเชื่อดั้งเดิมแต่โบราณของไทย หรือเป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด แต่เป็นการแอบอ้างอุปโลกขึ้นโดยผู้ค้าสัตว์ปล่อย ซึ่งเป็นการสร้างความงมงายและไม่ก่อให้เกิดความรู้ที่ถูกต้องต่อผู้ที่เข้ามาเที่ยวชมสวนสัตว์ซึ่งควรจะเป็นแหล่งให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์และสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องแก่ประชาชน
5. สัตว์ที่ปล่อยบางชนิด เช่น ปลาสลิด ปลาหมอ และ ปลากระดี่ ตามธรรมชาติแล้วเป็นปลาที่ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ค่อนข้างตื้นและมีพืชน้ำหรือพืชชายน้ำมาก อาจจะไม่สามารถปรับ ตัวอาศัยอยู่ในบ่อน้ำขนาดใหญ่ที่มีความลึกมากได้ดีนัก ซึ่งการปล่อยลงไปจะเป็นการทรมานสัตว์
ด้วยเหตุผลที่กล่าวไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงใคร่ขอเรียนแนะนำให้ทางสวนสัตว์ดุสิต พิจารณายกเลิกหรือปรับปรุงกิจกรรมดังกล่าวให้ถูกต้องตามกฏหมาย ศีลธรรมอันดี และหลักวิชาการด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์
ประชาชน
ปล. ประชาชนท่านใดที่เห็นด้วยกับผม ขอความกรุณาลงชื่อไว้ในด้านล่างด้วยครับ และขอความกรุณาออกความคิดเห็นด้วยความสุภาพและเป็นประโยชน์ครับ
เรียน ผู้อำนวยการสวนสัตว์ดุสิต
เรื่อง กิจกรรมขายสัตว์ปล่อยในบริเวณสวนสัตว์ดุสิต
เนื่องจากข้าพเจ้า ได้เข้าไปเที่ยวที่สวนสัตว์ดุสิตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2555 พบว่ามีการขายสัตว์น้ำเพื่อปล่อยในบริเวณสวนสัตว์ดุสิต ซึ่งข้าพเจ้ามีความกังวลกับกิจกรรมดังกล่าว ดังนี้
1. ภาพปลาตะเพียนขาวที่นำไปใช้ประกอบการโฆษณาเพื่อการค้า เป็นภาพที่ข้าพเจ้าเป็นผู้ถ่าย ซึ่งการนำภาพดังกล่าวไปใช้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่ายของข้าพเจ้าตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 ซึ่งห้ามมิให้นำภาพถ่ายไปทำซ้ำ หรือเผยแพร่ โดยเฉพาะเพื่อแสวงหากำไร โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
2. สัตว์น้ำที่ปล่อยหลายชนิด คือ ปลานิล (ทวีปแอฟริกา) ปลาทับทิม (ทวีปแอฟริกา) ปลาจาระเม็ด (ทวีปอเมริกาใต้) ปลาไน (เอเชียตะวันออก) และตะพาบไต้หวัน (เอเชียตะวันออก) เป็นสัตว์ต่างถิ่น มิได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย โดยในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหากับชนิดพันธุ์ต่างถิ่นหลายชนิด เช่นการระบาดของหอยเชอรี่ และ ผักตบชวา ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก การที่ทางสวนสัตว์ดุสิต อนุญาตให้ค้าขายสัตว์ดังกล่าวเพื่อปล่อยลงในแหล่งน้ำ ถึงแม้ว่าจะเป็นแหล่งน้ำปิด จะเป็นการสร้างความเข้าใจที่ผิดให้กับประชาชนและเยาวชนที่ มาเที่ยวในสวนสัตว์ว่าสัตว์น้ำดังกล่าวสามารถปล่อยลงสู่แหล่งน้ำในประเทศไทยได้
3. การโฆษณาว่าปลาที่ปล่อยเป็นปลากินพืช ไม่ทำลายระบบนิเวศ นั้นไม่เป็นความจริงเสียทีเดียว กล่าวคือ ปลาที่ปล่อยมิได้เป็นปลากินพืชทั้งหมด เช่น ปลาสลิด ปลาหมอไทย และ ตะพาบ เป็นสัตวที่กินสัตว์น้ำชนิดอื่นๆเป็นอาหารหลัก ส่วนปลาตะเพียนขาว จาระเม็ด ปลานิล ปลาทับทิม และ ปลาแรด จัดเป็นปลาในกลุ่มที่สามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ มิได้กินแต่พืชอย่างเดียว นอกจากนั้นการที่บอกว่าการปล่อยสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารไม่เป็นการทำลายระบบนิเวศก็ไม่เป็นความจริง ยกตัวอย่างเช่น หอยเชอรี่ และ ปลาซัคเกอร์ ซึ่งเป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นหลักก็ก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศได้ และยังพบว่าสัตว์กินพืช หลายชนิดหากพืชขาดแคลนก็สามารถปรับตัวมากินสิ่งมีชีวิตอื่นๆได้ หรือในกรณีของปลาเฉา ซึ่งเป็นปลาที่กินแต่พืชเป็นอาหารหลักก็พบว่าเป็นสัตว์ต่าง ถิ่นที่ทำให้ระบบนิเวศเสียหายในหลายประเทศ เนื่องจากกินพืชในแหล่งน้ำจนหมด ทำให้แหล่งน้ำขาดพืชมาดูซับของเสียและทำให้น้ำในแหล่งน้ำเน่าเสียได้เช่นกัน หรือในกรณีของสัตว์บก เช่น แพะซึ่งเป็นสัตว์กินพืชที่ถูกปล่อยในหมู่เกาะฮาวาย ก็ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบนิเวศเช่นกัน
4. การอ้างสรรพคุณต่างๆในการปล่อยสัตว์น้ำแต่ละชนิด มิได้เป็นความเชื่อดั้งเดิมแต่โบราณของไทย หรือเป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด แต่เป็นการแอบอ้างอุปโลกขึ้นโดยผู้ค้าสัตว์ปล่อย ซึ่งเป็นการสร้างความงมงายและไม่ก่อให้เกิดความรู้ที่ถูกต้องต่อผู้ที่เข้ามาเที่ยวชมสวนสัตว์ซึ่งควรจะเป็นแหล่งให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์และสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องแก่ประชาชน
5. สัตว์ที่ปล่อยบางชนิด เช่น ปลาสลิด ปลาหมอ และ ปลากระดี่ ตามธรรมชาติแล้วเป็นปลาที่ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ค่อนข้างตื้นและมีพืชน้ำหรือพืชชายน้ำมาก อาจจะไม่สามารถปรับ ตัวอาศัยอยู่ในบ่อน้ำขนาดใหญ่ที่มีความลึกมากได้ดีนัก ซึ่งการปล่อยลงไปจะเป็นการทรมานสัตว์
ด้วยเหตุผลที่กล่าวไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงใคร่ขอเรียนแนะนำให้ทางสวนสัตว์ดุสิต พิจารณายกเลิกหรือปรับปรุงกิจกรรมดังกล่าวให้ถูกต้องตามกฏหมาย ศีลธรรมอันดี และหลักวิชาการด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์
ประชาชน
ปล. ประชาชนท่านใดที่เห็นด้วยกับผม ขอความกรุณาลงชื่อไว้ในด้านล่างด้วยครับ และขอความกรุณาออกความคิดเห็นด้วยความสุภาพและเป็นประโยชน์ครับ
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
ร่วมลงชื่อด้วยครับ ภูเมธ พิชิตนิติกร
หยุดเถอะครับการกระทำผิดๆ ที่จะส่งผลเสียทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ก่อนจะไม่มีอะไรเหลือไว้ให้ลูกหลานครับ
ความเห็นที่ 4
และที่ลืมไม่ได้ ต้องยกเครดิตให้กับ ดร. นณณ์ ขอรับ
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7
ร่วมลงชื่อด้วยคนครับ ถ้าเป็นไปได้ งดกิจกรรมแบบนี้ไปเลยดีกว่า
ความเห็นที่ 8
เท่าที่ทราบปลาจาระเม็ดน้ำจืด มันกินทั้งสัตว์และพืชนะครับ เห็นเกษตรกรเลี้ยงหลายรายแล้ว หากพืชอาหารใรน้ำมีน้อย เหยื่อรายต่อไปก็คือปลาชนิดอื่นๆในบ่อ เลี้ยงไปเลี้ยงมาเหลือแต่ปลาจาระเม็ด นิสัยมันค่อนข้างดุร้าย เป็นพันธุ์ต่างถิ่นด้วย ด้วยการเจริญเติบโตง่าย กินทุกอย่าง ทำให้เกิดการแย่งอาหารและทำลายพันธุ์สัตว์น้ำของไทยด้วย ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงตัวยงเลยทีเดียว เหอๆ
ความเห็นที่ 9
เท่าที่ทราบปลาจาระเม็ดน้ำจืด มันกินทั้งสัตว์และพืชนะครับ เห็นเกษตรกรเลี้ยงหลายรายแล้ว หากพืชอาหารใรน้ำมีน้อย เหยื่อรายต่อไปก็คือปลาชนิดอื่นๆในบ่อ เลี้ยงไปเลี้ยงมาเหลือแต่ปลาจาระเม็ด นิสัยมันค่อนข้างดุร้าย เป็นพันธุ์ต่างถิ่นด้วย ด้วยการเจริญเติบโตง่าย กินทุกอย่าง ทำให้เกิดการแย่งอาหารและทำลายพันธุ์สัตว์น้ำของไทยด้วย ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงตัวยงเลยทีเดียว เหอๆ
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 11
ความเห็นที่ 12
ความเห็นที่ 13
ความเห็นที่ 14