9 เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับเขื่อนแม่วงก์
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 17 พฤษภาคม 2555
เรียบเรียง: ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์ @ siamensis.org
ข้อมูลจาก: มูลนิธิสืบนาคะเสถียร และ มูลนิธิโลกสีเขียว
1. ข้อมูลทั่วไป: เขื่อนแม่วงก์มีลักษณะเป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียวขนาดใหญ่ ความยาว 730 เมตร กว้าง 10 เมตร สูง 57 เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ 13,000 ไร่ อยู่ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.กำแพงเพชรและจ.นครสวรรค์ปริมาณกักเก็บน้ำ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร
2. ประมาณการค่าก่อสร้างของเขื่อนแม่วงก์เมื่อปี 2525 อยู่ที่ 3,761 ล้านบาท 2551 มีมูลค่า 7,000 ล้านบาท ในเว็บไซด์ของกรมชลประทานในวันที่ 31 สิงหาคม 2554 ระบุว่ามีมูลค่า 9,000 ล้านบาท แต่ เมื่อมีการอนุมัติงบประมาณ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 มีมูลค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 13,000 ล้านบาท (ตัวเลขการเพิ่มนี้ถ้าเทียบกับ ค่าเงินเฟ้อถือว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้)
3. ถึงแม้ว่าพื้นที่น้ำท่วมจะเป็นแค่ 2% ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ หรือ 0.12% ของป่าตะวันตกทั้งหมด แต่พื้นที่ตรงนี้เป็นป่าที่ราบต่ำริมน้ำซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการหากินและขยายพันธุ์ของสัตว์ป่าในฤดูแล้ง ในปัจจุบันประเทศไทยเหลือป่าในพื้นที่ราบอยู่น้อยมาก สัตว์ป่าบางชนิด เช่น นกยูง ไม่สามารถบินขึ้นไป อาศัยอยู่บนเขาได้อย่างที่นักการเมืองเข้าใจ แต่นกยูง ต้องการลานหิน ลานทราย ริมน้ำเพื่อการ ป้อตัวเมีย ไม่สามารถไปกางหางอวดในป่ารกทึบได้ จากการสอบถามเจ้าหน้าที่อุทยานฯพบว่าป่าที่นักการเมืองกล่าวอ้างว่าเป็นป่าใหม่มีอายุไม่ถึง 30 ปีมีอยู่เพียงไม่กี่พันไร่ แต่ป่าด้านใน เป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์มาก ในการสร้างเขื่อน ต้องทำการตัดไม้ออกจากพื้นที่ให้มากที่สุดเพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย น่าสนใจว่าไม้ขนาดใหญ่ (ซึ่งรวมถึงต้นสักด้วย) จะตกเป็นผลประโยชน์ของใคร
ภาพจาก: sky report
4. การก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จะทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ไม่น้อยกว่า 13,000 ไร่ เป็นไม้ใหญ่ประมาณ 500,000 ต้น ซึ่งในจำนวนนี้มีไม้สักประมาณ 50,000 ต้น กล้าไม้อีก 10,000 ต้น หรือเปรียบ เทียบได้ว่าพื้นที่ป่า 1 ไร่ ที่จะถูกน้ำท่วมจะมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ 80 ต้นเป็น ไม้สัก 13 ต้น ลูกไม้ 576 ต้น และกล้าไม้อีก 1,880 ต้น จากการคำนวณพื้นที่ป่าที่จะสูญเสียไป จากการสร้างเขื่อนแม่วงก์ เมื่อคำนวณเป็น ปริมาณคาร์บอนที่ต้นไม้สามารถดูดซับไว้ได้นั้น หากมีการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ประเทศไทยจะสูญเสียพื้นที่ที่ สามารถดูดซับคาร์บอนได้ประมาณ 10,400 ตันคาร์บอน ป่าแม่วงก์มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างน้อย 549 ชนิด และมีปลาอาศัยอยู่ในลำน้ำ 64 ชนิด (ใน EIA รายงานไว้ 61 แต่สำรวจเจอเพิ่มจากการลงพื้นที่อีก 3 ชนิด) ในจำนวนนี้มีเพียง 8 ชนิด หรือ 13% ที่สามารถผสมพันธุ์ในแหล่งน้ำนิ่งในอ่างเหนือเขื่อนได้นอกนั้นต้องอาศัยพื้นที่น้ำไหลหรือน้ำหลากซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
5. จากเว็บไซด์ของกรมชลประทาน ลุ่มน้ำแม่วงก์มีพื้นที่รับน้ำฝน (water shed) 1,113 ตารางกิโลเมตร มีน้ำท่า 569 ล้าน ลูกบาศก์เมตร หรือมีน้ำ 0.52 ล้าน ลบ.ม./1 ตร.กม. ของพื้นที่รับน้ำ เมื่อเปรียบเทียบกับลุ่มน้ำทับเสลาซึ่งมีเขื่อนทับเสลาอยู่แล้ว ซึ่งมีพื้นที่รับน้ำฝน 534 ตร.กม. แต่มีน้ำท่า 124 ล้าน ลบ.ม. หรือมีน้ำ 0.23 ล้าน ลบ.ม./1 ตร.กม. ข้อสังเกตคือ พื้นที่ใกล้ๆกัน เขื่อนทับเสลาอยู่ทางใต้ของแม่วงก์เพียง 40 กม.ทำไมพื้นที่รับน้ำของเขื่อนแม่วงก์(ต่อตร.กม.)จึงมีน้ำมากกว่าพื้นที่รับน้ำของเขื่อนทับเสลาสองเท่ากว่าทั้งๆที่อยู่ในแนวเขาเดียวกัน ปริมาณฝนตกไม่น่าจะแตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้ปีพ.ศ.2554 ซึ่งเป็นปีที่มีน้ำมาก เขื่อนทับเสลามีปริมาณน้ำในอ่างเพียง 49 ล้าน ลบ.ม. หรือ 31% ของความจุ และในปัจจุบัน ณ วันที่ 5 พค. 2555 ซึ่งเป็นปลายฤดูแล้งที่ควรจะมีการจัดส่งน้ำให้ทำการเกษตรในหน้าแล้ง ปรากฏว่ามีน้ำในอ่างที่ใช้การได้จริงเพียง 34 ล้าน ลบ.ม. หรือ 21% ของความจุเท่านั้น
ข้อมูลจาก: ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน (http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html)
เขื่อนทับเสลา พค. 2555 (ภาพ: มูลนิธิสืบฯ)
6. การช่วยบรรเทาน้ำท่วม: เขื่อนแม่วงก็มีอัตราการเก็บน้ำสูงสุดที่ 250 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ปริมาณน้ำที่ท่วมภาคกลางเมื่อปลายปี 2554 มีถึง 16,000 ล้าน ลบ.ม. (ตัวเลขจาก ศปภ.) น้ำที่กักเก็บได้ทั้งหมดของเขื่อนแม่วงก์จึงคิดเป็นเพียงแค่ 2% ของปริมาณน้ำที่ท่วมที่ราบลุ่มภาคกลางในช่วงปลายปี 2554 หรือคิดเป็นปริมาณน้ำที่ไหลเข้าทุ่งเจ้าพระยาในช่วงที่น้ำไหลเข้ามากที่สุดเพียงแค่ ครึ่งวันกว่าเท่านั้น เช่นในวันที่ 21 ตค. 2554 ทีม กรุ๊ป ให้ข่าวว่าปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยามีมากถึงวันละ 419 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแม่วงก์จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคกลางได้น้อยมาก นอกจากนั้นแม้แต่พื้นที่ใกล้เคียง เช่น อ.ลาดยาว เขื่อนแม่วงก์ก็ช่วยเรื่องน้ำท่วมหลากได้เพียง 25% เนื่องจากน้ำที่ท่วมอ.ลาดยาวจริงๆแล้วมาจากหลายสาย และเป็นน้ำไหลบ่าจากทุ่ง ไม่ใช่จากน้ำแม่วงก์สายเดียว ทั้งนี้การบริหารจัดการเขื่อน ต้องคงเหลือน้ำไว้ในเขื่อนส่วนหนึ่ง จึงเป็นไปไม่ได้ที่เขื่อนแม่วงก์จะสามารถรับน้ำได้เต็ม 250 ล้าน ลบ.ม. ทุกปี
(ภาพ: มูลนิธิสืบฯ)
7. รายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(EIA) ทั้ง 4 ครั้งตั้งแต่ปี 2538, 2541, 2545 และ 2547 ไม่เคยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบุให้กรมชลประทานไปหาวิธีจัดการน้ำแบบบูรณาการมากกว่าสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนรายงานการศึกษาฉบับที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน มีมูลค่าวงเงินตามสัญญา ประมาณ 15 ล้านบาท ก็มีแนวโน้มไม่โปร่งใส เนื่องจากมีการลัดขั้นตอน ตัดลดจำนวนการลงพื้นที่สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพบางรายการ นอกจากนั้นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้มีหนังสือด่วนที่สุดเมื่อวันที่ 23 มีค. 2555 ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นว่าโครงการเขื่อนแม่วงก์ขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติและไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ ป่า และ พันธุ์พืช จะพิจารณาให้ดำเนินการได้
8. กรมชลประทานระบุว่าเขื่อนแม่วงก์จะสามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานในฤดูฝนได้ 291,900 ไร่ พื้นที่ในฤดูแล้ง 116,545 ไร่ จากการลงพื้นที่ ปรากฏว่าในฤดูฝน ชาวบ้านใช้น้ำฝนและน้ำหลากทุ่งในการทำการเกษตรอยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งน้ำจากเขื่อนแต่อย่างใด ประโยชน์ของน้ำชลประทานจากเขื่อนจึงเหลือแต่ในฤดูแล้ง ซึ่งจากการคำนวน โดยใช้สมมุติฐานว่า
8.1 ชาวบ้านปลูกข้าวได้ 0.75 ตัน/ไร่
8.2 ขายข้าวได้ราคาปกติ 8,000 บาท/ตัน
8.3 ขายข้าวได้ราคาจำนำ(เฉลี่ย) 14,000 บาท/ตัน
8.4 มีต้นทุนการเพาะปลูก 3,000 บาท/ไร่
8.5 ชาวบ้านจะมีกำไร/ไร่ (0.75*8,000)-3,000 = 3,000 บาท/ไร่ (ราคาปกติ)
8.6 ชาวบ้านจะมีกำไร/ไร่ (0.75*14,000)-3,000 = 7,500 บาท/ไร่ (ราคาจำนำ)
8.7 ชาวบ้านในพื้นที่ชลประทานจะมีรายได้เพิ่มขึ้น = 116,545 (ไร่) * 3,000 = 349.64 ล้านบาท (ราคาปกติ)
8.8 ชาวบ้านในพื้นที่ชลประทานจะมีรายได้เพิ่มขึ้น = 116,545 (ไร่) * 7,500 = 874.09 ล้านบาท (ราคาจำนำ)
8.9 ทำให้โครงการมูลค่า 13,000,000,000 บาทมีระยะเวลาคืนทุน 37 ปี และ 15 ปี ตามลำดับ โดยยังไม่คิดถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลและซ่อมบำรุงเขื่อนและระบบส่งน้ำ ทั้งนี้การลงทุนทั่วไปควรมีระยะคืนทุนอยู่ระหว่าง 4-7 ปี และ 7-10 ปีในโครงการขนาดใหญ่
8.10 เขื่อนแม่วงก์จะมีค่า IRR ในกรณีข้าวราคาปกติที่ -5% ในระยะเวลา 20 ปี และ 3% ในระยะ 20 ปีที่ราคาจำนำ ทั้งนี้ในปัจจุบัน การลงทุนส่วนใหญ่ควรมีค่า IRR ในช่วงระยะเวลา 10 ปีอยู่ระหว่าง 5-10% จึงจะถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า (การคำนวนยังไม่ได้นำค่าใช้จ่ายในการดูและและซ่อมบำรุงเขื่อนและระบบส่งน้ำเข้ามารวม)
หมายเหตุ: ตัวเลขจากกรมชลประทานระบุว่าจะเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ได้ประมาณ 720 ล้านบาท/ปี คิดเป็น ระยะเวลาคืนทุน 18 ปี IRR เมื่อ 20 ปี =1%
(ขยายความเรื่อง IRR: หมายถึง ผลตอบแทนการลงทุนของกระแสเงินชุดหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วเริ่มต้นด้วยงบลงทุน เป็นตัวเลขติดลบ ตามด้วยผลตอบแทนที่จะได้รับในแต่ละปี ในกรณีของเขื่อนแม่วงก์ ถ้าหากใช้ตัวเลขของกรมชลประทานว่าจะได้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นปีละ 720 ล้านบาท/ปี โดยลบเงินลงทุนที่ 13,000 ล้านในปีแรก พบว่าในระยะเวลา 18 ปี ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพียงปีละ 1% ทั้งนี้ในปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ประมาณ 2.5-3.5% จะเห็นว่าเงินลงทุนสร้างเขื่อนแม่วงก์ หากเอาไปฝากธนาคารไว้เฉยๆ ยังได้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าประมาณ 2.5-3.5 เท่า)
(หมายเหตุเพิ่มเติม: รัฐบาลบอกว่าโครงการนี้จะใช้เงินกู้ประมาณ 9,000 ล้านบาท ทั้งนี้ปัจจุบันอัตราพันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี ให้ผลตอบแทนประมาณ 5.5-6% ต่อปี ในขณะที่ผลตอบแทนของโครงการนี้ในระยะ 18 ปีอยูที่ 1% เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าโครงการนี้เป็นโครงการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์)
9. ผมโพล 7 สี ถามคนในจ.นครสวรรค์ว่าต้องการให้สร้างเขื่อนแม่วงก์หรือไม่ปรากฏว่ามี 22.7% ต้องการเขื่อน 32.5% ต้องการเขื่อนถ้าไม่มีผลกระทบโดยรวม และ 34.2% ไม่ต้องการเขื่อน ในขณะที่ 10% ไม่แน่ใจ แสดงให้เห็นว่า คนในพื้นที่เองส่วนใหญ่แล้วก็ยังไม่ต้องการเขื่อนเลยหรือไม่ต้องการถ้าส่งกระทบต่อส่วนรวม ทั้งนี้ป่าไม้ มิได้เป็นสมบัติของคนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่เป็นสมบัติของคนทั้งชาติ ที่มีการใช้ “บริการทางอ้อม” จากป่าไม้ร่วมกัน เช่นใช้เป็นแหล่งผลิตออกซิเจน แหล่งกักเก็บน้ำ แหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น การจะทำลายป่าไม้จึงต้องคำนึงถึง “คนนอกพื้นที่” ด้วยว่าเห็นด้วยหรือไม่
ข้อมูลจาก: มูลนิธิสืบนาคะเสถียร และ มูลนิธิโลกสีเขียว
1. ข้อมูลทั่วไป: เขื่อนแม่วงก์มีลักษณะเป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียวขนาดใหญ่ ความยาว 730 เมตร กว้าง 10 เมตร สูง 57 เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ 13,000 ไร่ อยู่ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.กำแพงเพชรและจ.นครสวรรค์ปริมาณกักเก็บน้ำ 250 ล้านลูกบาศก์เมตร
2. ประมาณการค่าก่อสร้างของเขื่อนแม่วงก์เมื่อปี 2525 อยู่ที่ 3,761 ล้านบาท 2551 มีมูลค่า 7,000 ล้านบาท ในเว็บไซด์ของกรมชลประทานในวันที่ 31 สิงหาคม 2554 ระบุว่ามีมูลค่า 9,000 ล้านบาท แต่ เมื่อมีการอนุมัติงบประมาณ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 มีมูลค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 13,000 ล้านบาท (ตัวเลขการเพิ่มนี้ถ้าเทียบกับ ค่าเงินเฟ้อถือว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้)
3. ถึงแม้ว่าพื้นที่น้ำท่วมจะเป็นแค่ 2% ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ หรือ 0.12% ของป่าตะวันตกทั้งหมด แต่พื้นที่ตรงนี้เป็นป่าที่ราบต่ำริมน้ำซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการหากินและขยายพันธุ์ของสัตว์ป่าในฤดูแล้ง ในปัจจุบันประเทศไทยเหลือป่าในพื้นที่ราบอยู่น้อยมาก สัตว์ป่าบางชนิด เช่น นกยูง ไม่สามารถบินขึ้นไป อาศัยอยู่บนเขาได้อย่างที่นักการเมืองเข้าใจ แต่นกยูง ต้องการลานหิน ลานทราย ริมน้ำเพื่อการ ป้อตัวเมีย ไม่สามารถไปกางหางอวดในป่ารกทึบได้ จากการสอบถามเจ้าหน้าที่อุทยานฯพบว่าป่าที่นักการเมืองกล่าวอ้างว่าเป็นป่าใหม่มีอายุไม่ถึง 30 ปีมีอยู่เพียงไม่กี่พันไร่ แต่ป่าด้านใน เป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์มาก ในการสร้างเขื่อน ต้องทำการตัดไม้ออกจากพื้นที่ให้มากที่สุดเพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย น่าสนใจว่าไม้ขนาดใหญ่ (ซึ่งรวมถึงต้นสักด้วย) จะตกเป็นผลประโยชน์ของใคร
ภาพจาก: sky report
4. การก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จะทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ไม่น้อยกว่า 13,000 ไร่ เป็นไม้ใหญ่ประมาณ 500,000 ต้น ซึ่งในจำนวนนี้มีไม้สักประมาณ 50,000 ต้น กล้าไม้อีก 10,000 ต้น หรือเปรียบ เทียบได้ว่าพื้นที่ป่า 1 ไร่ ที่จะถูกน้ำท่วมจะมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ 80 ต้นเป็น ไม้สัก 13 ต้น ลูกไม้ 576 ต้น และกล้าไม้อีก 1,880 ต้น จากการคำนวณพื้นที่ป่าที่จะสูญเสียไป จากการสร้างเขื่อนแม่วงก์ เมื่อคำนวณเป็น ปริมาณคาร์บอนที่ต้นไม้สามารถดูดซับไว้ได้นั้น หากมีการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ประเทศไทยจะสูญเสียพื้นที่ที่ สามารถดูดซับคาร์บอนได้ประมาณ 10,400 ตันคาร์บอน ป่าแม่วงก์มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างน้อย 549 ชนิด และมีปลาอาศัยอยู่ในลำน้ำ 64 ชนิด (ใน EIA รายงานไว้ 61 แต่สำรวจเจอเพิ่มจากการลงพื้นที่อีก 3 ชนิด) ในจำนวนนี้มีเพียง 8 ชนิด หรือ 13% ที่สามารถผสมพันธุ์ในแหล่งน้ำนิ่งในอ่างเหนือเขื่อนได้นอกนั้นต้องอาศัยพื้นที่น้ำไหลหรือน้ำหลากซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
5. จากเว็บไซด์ของกรมชลประทาน ลุ่มน้ำแม่วงก์มีพื้นที่รับน้ำฝน (water shed) 1,113 ตารางกิโลเมตร มีน้ำท่า 569 ล้าน ลูกบาศก์เมตร หรือมีน้ำ 0.52 ล้าน ลบ.ม./1 ตร.กม. ของพื้นที่รับน้ำ เมื่อเปรียบเทียบกับลุ่มน้ำทับเสลาซึ่งมีเขื่อนทับเสลาอยู่แล้ว ซึ่งมีพื้นที่รับน้ำฝน 534 ตร.กม. แต่มีน้ำท่า 124 ล้าน ลบ.ม. หรือมีน้ำ 0.23 ล้าน ลบ.ม./1 ตร.กม. ข้อสังเกตคือ พื้นที่ใกล้ๆกัน เขื่อนทับเสลาอยู่ทางใต้ของแม่วงก์เพียง 40 กม.ทำไมพื้นที่รับน้ำของเขื่อนแม่วงก์(ต่อตร.กม.)จึงมีน้ำมากกว่าพื้นที่รับน้ำของเขื่อนทับเสลาสองเท่ากว่าทั้งๆที่อยู่ในแนวเขาเดียวกัน ปริมาณฝนตกไม่น่าจะแตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้ปีพ.ศ.2554 ซึ่งเป็นปีที่มีน้ำมาก เขื่อนทับเสลามีปริมาณน้ำในอ่างเพียง 49 ล้าน ลบ.ม. หรือ 31% ของความจุ และในปัจจุบัน ณ วันที่ 5 พค. 2555 ซึ่งเป็นปลายฤดูแล้งที่ควรจะมีการจัดส่งน้ำให้ทำการเกษตรในหน้าแล้ง ปรากฏว่ามีน้ำในอ่างที่ใช้การได้จริงเพียง 34 ล้าน ลบ.ม. หรือ 21% ของความจุเท่านั้น
ข้อมูลจาก: ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน (http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html)
เขื่อนทับเสลา พค. 2555 (ภาพ: มูลนิธิสืบฯ)
6. การช่วยบรรเทาน้ำท่วม: เขื่อนแม่วงก็มีอัตราการเก็บน้ำสูงสุดที่ 250 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ปริมาณน้ำที่ท่วมภาคกลางเมื่อปลายปี 2554 มีถึง 16,000 ล้าน ลบ.ม. (ตัวเลขจาก ศปภ.) น้ำที่กักเก็บได้ทั้งหมดของเขื่อนแม่วงก์จึงคิดเป็นเพียงแค่ 2% ของปริมาณน้ำที่ท่วมที่ราบลุ่มภาคกลางในช่วงปลายปี 2554 หรือคิดเป็นปริมาณน้ำที่ไหลเข้าทุ่งเจ้าพระยาในช่วงที่น้ำไหลเข้ามากที่สุดเพียงแค่ ครึ่งวันกว่าเท่านั้น เช่นในวันที่ 21 ตค. 2554 ทีม กรุ๊ป ให้ข่าวว่าปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่ทุ่งเจ้าพระยามีมากถึงวันละ 419 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแม่วงก์จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคกลางได้น้อยมาก นอกจากนั้นแม้แต่พื้นที่ใกล้เคียง เช่น อ.ลาดยาว เขื่อนแม่วงก์ก็ช่วยเรื่องน้ำท่วมหลากได้เพียง 25% เนื่องจากน้ำที่ท่วมอ.ลาดยาวจริงๆแล้วมาจากหลายสาย และเป็นน้ำไหลบ่าจากทุ่ง ไม่ใช่จากน้ำแม่วงก์สายเดียว ทั้งนี้การบริหารจัดการเขื่อน ต้องคงเหลือน้ำไว้ในเขื่อนส่วนหนึ่ง จึงเป็นไปไม่ได้ที่เขื่อนแม่วงก์จะสามารถรับน้ำได้เต็ม 250 ล้าน ลบ.ม. ทุกปี
(ภาพ: มูลนิธิสืบฯ)
7. รายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(EIA) ทั้ง 4 ครั้งตั้งแต่ปี 2538, 2541, 2545 และ 2547 ไม่เคยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบุให้กรมชลประทานไปหาวิธีจัดการน้ำแบบบูรณาการมากกว่าสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนรายงานการศึกษาฉบับที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน มีมูลค่าวงเงินตามสัญญา ประมาณ 15 ล้านบาท ก็มีแนวโน้มไม่โปร่งใส เนื่องจากมีการลัดขั้นตอน ตัดลดจำนวนการลงพื้นที่สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพบางรายการ นอกจากนั้นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้มีหนังสือด่วนที่สุดเมื่อวันที่ 23 มีค. 2555 ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นว่าโครงการเขื่อนแม่วงก์ขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติและไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ ป่า และ พันธุ์พืช จะพิจารณาให้ดำเนินการได้
8. กรมชลประทานระบุว่าเขื่อนแม่วงก์จะสามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานในฤดูฝนได้ 291,900 ไร่ พื้นที่ในฤดูแล้ง 116,545 ไร่ จากการลงพื้นที่ ปรากฏว่าในฤดูฝน ชาวบ้านใช้น้ำฝนและน้ำหลากทุ่งในการทำการเกษตรอยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งน้ำจากเขื่อนแต่อย่างใด ประโยชน์ของน้ำชลประทานจากเขื่อนจึงเหลือแต่ในฤดูแล้ง ซึ่งจากการคำนวน โดยใช้สมมุติฐานว่า
8.1 ชาวบ้านปลูกข้าวได้ 0.75 ตัน/ไร่
8.2 ขายข้าวได้ราคาปกติ 8,000 บาท/ตัน
8.3 ขายข้าวได้ราคาจำนำ(เฉลี่ย) 14,000 บาท/ตัน
8.4 มีต้นทุนการเพาะปลูก 3,000 บาท/ไร่
8.5 ชาวบ้านจะมีกำไร/ไร่ (0.75*8,000)-3,000 = 3,000 บาท/ไร่ (ราคาปกติ)
8.6 ชาวบ้านจะมีกำไร/ไร่ (0.75*14,000)-3,000 = 7,500 บาท/ไร่ (ราคาจำนำ)
8.7 ชาวบ้านในพื้นที่ชลประทานจะมีรายได้เพิ่มขึ้น = 116,545 (ไร่) * 3,000 = 349.64 ล้านบาท (ราคาปกติ)
8.8 ชาวบ้านในพื้นที่ชลประทานจะมีรายได้เพิ่มขึ้น = 116,545 (ไร่) * 7,500 = 874.09 ล้านบาท (ราคาจำนำ)
8.9 ทำให้โครงการมูลค่า 13,000,000,000 บาทมีระยะเวลาคืนทุน 37 ปี และ 15 ปี ตามลำดับ โดยยังไม่คิดถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลและซ่อมบำรุงเขื่อนและระบบส่งน้ำ ทั้งนี้การลงทุนทั่วไปควรมีระยะคืนทุนอยู่ระหว่าง 4-7 ปี และ 7-10 ปีในโครงการขนาดใหญ่
8.10 เขื่อนแม่วงก์จะมีค่า IRR ในกรณีข้าวราคาปกติที่ -5% ในระยะเวลา 20 ปี และ 3% ในระยะ 20 ปีที่ราคาจำนำ ทั้งนี้ในปัจจุบัน การลงทุนส่วนใหญ่ควรมีค่า IRR ในช่วงระยะเวลา 10 ปีอยู่ระหว่าง 5-10% จึงจะถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า (การคำนวนยังไม่ได้นำค่าใช้จ่ายในการดูและและซ่อมบำรุงเขื่อนและระบบส่งน้ำเข้ามารวม)
หมายเหตุ: ตัวเลขจากกรมชลประทานระบุว่าจะเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ได้ประมาณ 720 ล้านบาท/ปี คิดเป็น ระยะเวลาคืนทุน 18 ปี IRR เมื่อ 20 ปี =1%
(ขยายความเรื่อง IRR: หมายถึง ผลตอบแทนการลงทุนของกระแสเงินชุดหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วเริ่มต้นด้วยงบลงทุน เป็นตัวเลขติดลบ ตามด้วยผลตอบแทนที่จะได้รับในแต่ละปี ในกรณีของเขื่อนแม่วงก์ ถ้าหากใช้ตัวเลขของกรมชลประทานว่าจะได้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นปีละ 720 ล้านบาท/ปี โดยลบเงินลงทุนที่ 13,000 ล้านในปีแรก พบว่าในระยะเวลา 18 ปี ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพียงปีละ 1% ทั้งนี้ในปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ประมาณ 2.5-3.5% จะเห็นว่าเงินลงทุนสร้างเขื่อนแม่วงก์ หากเอาไปฝากธนาคารไว้เฉยๆ ยังได้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าประมาณ 2.5-3.5 เท่า)
(หมายเหตุเพิ่มเติม: รัฐบาลบอกว่าโครงการนี้จะใช้เงินกู้ประมาณ 9,000 ล้านบาท ทั้งนี้ปัจจุบันอัตราพันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี ให้ผลตอบแทนประมาณ 5.5-6% ต่อปี ในขณะที่ผลตอบแทนของโครงการนี้ในระยะ 18 ปีอยูที่ 1% เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าโครงการนี้เป็นโครงการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์)
9. ผมโพล 7 สี ถามคนในจ.นครสวรรค์ว่าต้องการให้สร้างเขื่อนแม่วงก์หรือไม่ปรากฏว่ามี 22.7% ต้องการเขื่อน 32.5% ต้องการเขื่อนถ้าไม่มีผลกระทบโดยรวม และ 34.2% ไม่ต้องการเขื่อน ในขณะที่ 10% ไม่แน่ใจ แสดงให้เห็นว่า คนในพื้นที่เองส่วนใหญ่แล้วก็ยังไม่ต้องการเขื่อนเลยหรือไม่ต้องการถ้าส่งกระทบต่อส่วนรวม ทั้งนี้ป่าไม้ มิได้เป็นสมบัติของคนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่เป็นสมบัติของคนทั้งชาติ ที่มีการใช้ “บริการทางอ้อม” จากป่าไม้ร่วมกัน เช่นใช้เป็นแหล่งผลิตออกซิเจน แหล่งกักเก็บน้ำ แหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น การจะทำลายป่าไม้จึงต้องคำนึงถึง “คนนอกพื้นที่” ด้วยว่าเห็นด้วยหรือไม่
Comments
ความคิดเห็น
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 1.1
ความเห็นที่ 2
ผมคนกรุงเทพ เป็นกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์
อ่าน ข้อมูลทั้งหมดแล้ว เข้าใจถึงการสูญเสีย
แต่อยากให้พี่มองเป็นกลาง
ถ้าไม่สร้าง มันจะเกิดการสูญเสียอีกเท่าไหร่
หรือถ้าแย้งให้ไปสร้างที่อื่น มันก็จะมีตัวเลขแบบนี้ออกมาเหมือนกัน
ต้นไม้กี่ต้น
สัตว์กี่ตัว
พี่ลองเปิดใจ แล้วทำสำรวจมาดู
ขอ งบจาก รัฐก็ได้
สำรวจไปเลย 10 ที่ ที่เหมาะแก่การสร้างเขื่อนในด้าน ชลศาสตร์
แล้วมา weight กัน ว่าจุดไหน เสียน้อยสุด แล้วจะสร้างเลยมั้ย ?
พี่น่าจะหาทางออกให้คนที่เค้าเดือดร้อนบ้าง
ชวานา ชาวไร่ เค้าโดนน้ำท่วม ก็เดือดร้อน
ถ้าพี่ไม่ให้สร้างที่นี่ พี่ลองแนะนำมา ว่าควรสร้างที่ไหน
หรือไอ้ตัวเลขพวกนี้ เอาไว้เตะถ่วงเล่นๆ พอเค้าจะสร้างที่ใหม่ มันก็จะมีตัวเลขแบบนี้โผล่มาอีกครับ ?
ความเห็นที่ 2.1
ผมคนกรุงเทพ ผู้เสียภาษี บ้านน้ำไม่ท่วม แต่มีทรัพย์สินน้ำท่วมเสียหายหลายแสน อยากให้อ่านด้วยใจเป็นกลางเช่นกันครับ ถูกต้องว่าข้อมูลที่ผมเสนอตั้งธงจากฝั่งไม่อยากให้สร้าง แต่ผมอยากชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่รัฐบาลนำเสนอ เมื่อนำมาวิเคราะห์แล้ว พบว่าหลายอย่างอาจจะไม่สามารถสรุปง่ายๆว่าเขื่อนช่วยน้ำท่วมอย่างที่มีการนำเสนอ ในข้อ 6 ผมได้ให้ข้อมูลไปแล้วว่าเขื่อนแม่วงก์ช่วยน้ำท่วมได้น้อยมาก โดยเฉพาะถ้าจะให้ส่งผลถึงกทม.ยิ่งแทบจะไม่ได้ช่วยอะไรเลย ในกรณีที่ดีที่สุดก็ยังช่วยได้แค่ 2% เท่านั้นเอง และในข้อ 8 ก็ได้ชี้ให้เห็นว่าเขื่อนแม่วงก์ ถ้าบอกว่าจะช่วยเรื่องการเกษตร ก็เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าเลยในแย่เศรษฐศาสตร์มีทางเลือกอื่นอีกมาก เช่นการสร้างอ่างเก็บน้ำ หรือบ่อน้ำขนาดเล็กกระจายตามพื้นที่ต่างๆ การส่งเสริมให้ปลูกพืชที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ ซึ่งจะใช้งบประมาณน้อยกว่าด้วยซ้ำครับ
คำถามจึงอยู่ที่ว่า เราแต่ละคนตีค่าป่าไม้ที่จะเสียไปแค่ไหน เราคิดว่าเงินที่กู้มาลงทุนในครั้งนี้คุ้มค่าแค่ไหนครับ
ความเห็นที่ 2.1.1
" ผมให้ข้อมูลว่าเขื่อนแม่วงก์ช่วยน้ำท่วมได้น้อยมาก โดยเฉพาะถ้าจะให้ส่งผลถึงกทม.ยิ่งแทบจะไม่ได้ช่วยอะไรเลย"...(ตอบ) การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่วงก์และพัฒนาระบบชลประทานสามารถบรรเทาอุทกภัยท้ายเขื่อนแม่วงก์ในเขตลุ่มน้ำแม่วงก์ได้ 13-100 % (กรมชลประทานไม่ได้บอกว่าในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา(ที่ตั้ง กทม.) นะครับ ต้องแยกแยะเขตลุ่มน้ำให้ชัดเจนก่อนที่จะตีความ.
ความเห็นที่ 2.1.1.1
ความเห็นที่ 2.1.2
B/C ratio ในจัดการลุ่มน้ำแม่วงก์
ทางเลือกที่ 1 ไม่สร้างอะไรเลย(ใช้เท่าที่มี) B/C ratio = 0
ทางเลือกที่ 2 สร้างฝายตามลำน้ำ B/C ratio = 0.39
ทางเลือกที่ 3 สร้างฝายตามลำน้ำ+ขุดสระ B/C ratio = 0.49
ทางเลือกที่ 4 สร้างฝายตามลำน้ำ+น้ำบาดาล B/C ratio = 0.71
ทางเลือกที่ 5 สร้างอ่างเก็บน้ำแม่วงก์+ระบบชลประทาน B/C ratio = 1.18
ความเห็นที่ 2.1.2.1
ความเห็นที่ 2.1.2.2
แต่การสร้างเขื่อน ทำลายระบบนิเวศ ซึ่งมีค่ามหาศาลอันไม่อาจเรียกคืนได้ ต่อให้ทุบเขื่อนทิ้งในภายหลัง เทียบกับผลประโยชน์ที่อาจจะได้เพียงเล็กน้อยนั่น ถ้าคุณคิดว่าคุ้ม ผมก็หมดคำพูดแล้ว
ความเห็นที่ 2.1.2.3
ถ้าผมบอกว่า ratio A/C-B*D-Z = -999
เชื่อผมป่ะ
บ้าไปแล้ว :p
ความเห็นที่ 2.1.2.4
ความเห็นที่ 2.1.3
เป็นการจัดการน้ำที่ผิดพลาด ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์และผู้รับผิดชอบ
และทางสุพรรณมีการปิดประตูกั้นน้ำ ทำให้น้ำท่วมที่ชัยนาท
ดังนั้น การสร้างเขื่อนแม่วงค์คงไม่ได้ช่วยอะไรมากเลย
แต่
สิ่งที่สูญเสียที่ชัดเจนก่อนเลยคือประชาชน
1.เสียภาษีเพื่อให้นักการเมืองและผู้เกี่ยวข้องโกงกินดูจากการระบุในข้อที่2
[ 2. ประมาณการค่าก่อสร้างของเขื่อนแม่วงก์เมื่อปี 2525 อยู่ที่ 3,761 ล้านบาท 2551 มีมูลค่า 7,000 ล้านบาท ในเว็บไซด์ของกรมชลประทานในวันที่ 31 สิงหาคม 2554 ระบุว่ามีมูลค่า 9,000 ล้านบาท แต่ เมื่อมีการอนุมัติงบประมาณ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 มีมูลค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 13,000 ล้านบาท ]
2. ป่าไม้ที่สมบูรณ์ อันนี้คงไม่ต้องร่ายยาวก็น่าจะพอรู้ๆกันบ้างว่า ป่าสร้างฝนและชะลอน้ำ สิ่งสำคัญเป็นระบบนิเวศน์วิทยาเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาพันธุ์ และเป็นแหล่งสร้างออกซิเจนกับโลก
3. การสร้างเขื่อต้องตัดไม้ ถามว่าใครได้ประโยชน์จากการตัดไม้ ที่แน่นอนไม่ใช่ประชาชนตาดำๆอย่างเราๆแน่ๆ
และจากเหตุต่างๆ9ข้อ ก็เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถจัดสร้างขึ้นใหม่เพื่อทดแทนได้เลย
ความเห็นที่ 2.1.3.1
เป็นความผิดพลาดของทั้งสองรัฐบาลค่ะ เพราะเริ่มมาตั้งแต่ต้นปี ตั้งแต่สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ค่ะ
อย่าเข้าข้างใคร ตอนนี้เรากำลังพูดถึงผลประโยชน์ของประเทศโดยรวม และพูดถึงระยะเวลาในอนาคต ที่ลูกหลานของเราจะได้รับผลกระทบ
ดังนั้นไม่ว่ารัฐบาลไหนมา คุณจะชอบหรือจะเกลียดก็ตาม อย่าเอามาเป็นปัจจัยค่ะ
ถ้าจะสู้ ก็ต้องสู้แบบไม่อิงกลุุ่มก้อนค่ะ นึกถึงส่วนรวมเป็นหลักด้วยค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ความเห็นที่ 2.1.3.1.1
เราเองเห็นว่าน่าจะมีการผันน้ำไปทางอีสาน...อย่า อย่าเพิ่งบอกว่างั้นงี้ ฟังก่อน
1.เงินมากมายขนาดนี้ทำกังหันผันน้ำไปทางอีสานให้เกิดแนวน้ำไหลเป็นก้างปลา
ไม่ได้ใช้พลังงานมากมาย ใช้แรงน้ำนะแหละ
2.อย่าบอกว่าดินอีสานเป็นดินทรายเก็บน้ำไม่ได้ ถมไป มันต้องเต็ม อย่างน้อยมันลงไปใต้ดิน
นานวันเข้ามันต้องชุ่มขึ้นมาบนดิน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มระดับน้ำใต้ดินอีีกด้วย ทำไมต้องคิดว่าทำปุ๊บ ได้ปั๊บ เพิ่มงานด้วย ใช้ภูมิปัญญาที่มีนี่แหละ กับการที่จะเอาเงินไปทำฟลัดเวย์เพื่อทิ้งน้ำลงทะเล เพื่อ เพื่อ เพื่อ........ให้ภัยแล้งคงอยู่หรือ จะได้มีงบภัยแล้ง ไหนไหนจะทิ้งแล้ว เอาไปทิ้งที่อีสานสิ ...ใช่ไหม
สรุป เศร้าใจกับการไม่ยอมทำสิ่งที่มีคุณต่อชาติในอนาคต ไม่ใช่เขาไม่เห็นหรอก แต่เขาได้ในสิ่งที่เราไม่เห็นต่างหาก ประชาชน เลิกกัดกัน เปิดตาดูว่าความจริงคืออะไรเสียทีเถิด......
ความเห็นที่ 2.1.3.1.2
ความเห็นที่ 2.1.3.2
น้ำท่วมปี 54 ไม่ใช่การบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่มันเป็นการถูกวางยาจากรัฐบาลทราชย์ แต่ยิ่งลักษณ์เป็นคนเข้ามาแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือเยียวยาประชาชนตะหาก
ความเห็นที่ 2.1.3.2.1
ความเห็นที่ 2.1.4
ความเห็นที่ 2.1.5
ความเห็นที่ 2.2
เขาก็พยายามมองรอบด้านอยู่พอสมควรนะ
ไม่ใช่มองปัญหาแบบ "คนเมืองมองโลก" สักกะหน่อย
ความเห็นที่ 2.3
ความเห็นที่ 2.4
ใครกล้าการันตีว่าสร้างเขื่อนแล้วนำ้ไม่ท่วม ถ้าท่วมอีกจะทำอย่างไร ใครจะรับผิดชอบ เมื่อถึงตอนนั้นใครจะรับผิด นักการเมืองหรือครับ...ป่าไม้ในประเทศเหลือน้อยลงทุกที ช่วยกันรักษาให้ลูกหลานดีกว่า อย่าให้ลูกหลานได้เพียงดูแต่ภาพในอดีต
ความเห็นที่ 2.4.1
ความเห็นที่ 2.4.1.1
ความเห็นที่ 2.5
ความเห็นที่ 2.6
ผมอยากจะให้พิจารณาว่าคุณเป็นคนที่เห็นแก่ตัวหรือเปล่า คุณบอกว่าขอพูดเป็นกลาง คุณพูดแทนสัตว์หรือป่าไม้หรือเปล่า
ประโยชน์คือเก็บน้ำได้แค่2%จากน้ำท่วมปี2554ทั้งหมด แต่ความเสียหายกับผืนป่า สัตว์ป่านานาชนิดมากมายประเมินค่ามิได้
คุณเป็นคนที่พร้อมจะเสียสละหรือเปล่า
น้ำท่วมแค่นี้ไม่ทำให้คุณตายหรอก
ความเห็นที่ 2.6.1
ความเห็นที่ 2.7
ป่าแม่วงก์เป็นสมบัติของคนทั้งชาติ ไม่ใช่สมบัติของรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง ไม่ใช่สมบัติของรองนายกฯ ที่จะมาโมเมตัดสินใจทำลายป่าผืนนี้ ท่านไม่มีสิทธิค่ะ
ความเห็นที่ 2.7.1
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 5.1
ความเห็นที่ 5.1.1
(ตอบ...ผมพยายามจะอธิบายอย่างง่ายๆให้ทุกท่านเข้าใจครับ)
1. พื้นที่ 2 แห่ง (พื้นที่ A กับพื้นที่ B) อยู่ติดกัน มีเนื้อที่เท่ากัน ในระยะเวลาเท่ากัน ช่วงเดียวกัน มีระดับความสูง มีสภาพป่า สภาพดิน ปริมาณน้ำฝน เหมือนกันหมด ... น้ำท่าที่ได้จากพื้นที่ทั้ง 2 แห่งจะเท่ากัน
2. แต่ถ้า"พื้นที่ A" มีภูเขาสูงๆมากกว่า "พื้นที่ B" ... น้ำท่าที่ได้จากพื้นที่ A จะมากกว่าพื้นที่ B เพราะพื้นที่ A จะดึงความชุ่มชื้นในอากาศลงมาเป็นหยดน้ำได้มากกว่า ในที่สุดปริมาณน้ำท่าจึงมากกว่า (สังเกตง่ายๆ ... เวลาเรายืนอยู่ทีตีนเขาแล้วเดินขึ้นไปเรื่อยๆสู่ยอดเขา ความชุ่มชื้นจะมากขึ้นเรื่อยๆตามระดับความสูง)
ความเห็นที่ 6
(นณณ์ ผาณิตวงศ์) “เป็นไปไม่ได้ที่เขื่อนแม่วงก์จะสามารถรับน้ำได้เต็ม 250 ล้าน ลบ.ม. ทุกปี”...(ธนพล สาระนาค) “250 (แท้จริงคือ 258) ล้าน ลบ.ม. คือ ความจุอ่างเก็บน้ำ...หรือ maximum capacity ของอ่าง...ผมเห็นไม่เคยเอกสารของกรมชลประทานบอกว่าจะน้ำอ่างเต็ม 250 ทุกปี...ตัวเลข 250 หรือ 258 เป็นตัวเลขเฉลี่ยเพื่อออกแบบเขื่อน ... ในความเป็นจริง น้ำจะเต็มหรือไม่เต็มอ่าง หรือแค่ไหน เป็นไปตามสภาพน้ำท่าในแต่ละปี ซึ่งไม่เท่ากัน บางปีอาจล้น บางปีอาจพร่องครับ.”
ความเห็นที่ 7
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 9
อีกอย่าง ทำไมบ้านเราถึงเอาเรื่องวิชาการ มาใช้ตัดสินโดยโพล.....ถ้าเป็นอย่างนี้ ต่อไปก็ไม่ต้องศึกษาอะไรที่เป็นวิชาการหรอกครับ
ปีนี้ ก็ทำโพลเลย น้ำท่วมมั๊ย แผ่นดินไหวมั๊ย ถ้าโพลเชื่อว่าแผ่นดินไหว ก็ประกาศให้อพยพเลย...ใครไม่อพยพจะไม่รับผิบชอบ เป็นต้น
ความเห็นที่ 9.1
เห็นด้วยครับ แล้วขอเสนอเพิ่มเติมครับว่าถ้าอยากเก็บป่าไว้จริงๆ ต้องยกเลิกกรมป่าไม้และกรมอุทยานครับ จากนั้นต้องไม่ให้ใครเข้าไปในป่าปล่อยทิ้งไว้เลย สัตว์ป่าจะมีกี่ชนิดก็ชั่งมัน ต้นไม้จะมีอะไรบ้างก็ช่างมัน ไม่ว่าองค์กรอะไรก็ไม่ต้องเข้าไป เจ้าหน้าที่จะรักษาอยู่บริเวณรอบนอกเท่านั้น
ไฟป่าก็ใช้การดับไฟทางอากาศ ผมจะดูสิว่าใครจะทนไม่ได้กันแน่ ย้ำต้องไม่ให้เข้าไปทุกคนนะครับ
ถ้าเป็นเช่นนี้ได้รับรองว่าป่าจะสมบูรณ์กว่านี้ร้อยเท่าครับ อีกอย่างผมอยากให้คนที่เขาศึกษาโครงการนี้จริงๆ ได้มีโอกาสพูดบ้าง ไม่ใช่คนที่ไม่เป็นผู้ศึกษาพูดอย่างเดียว และตาสี ตาสา ที่เป็นชาวนา และเกษตรกรไม่มีโอกาสเข้ามาดูในเน็ตหรอกครับ มีแต่พวกเราๆท่าน ๆ เท่านั้นที่เข้ามาพูดคุยกัน ส่วนพวกชาวนา ชาวไร่ เขาก็ใช้เวทีของเขา และเขาเข้าใจอย่างที่เขาเข้าใจครับ
อย่างที่นักวิชาการพูดว่าเป็นแหล่งที่อยู่ของนกเงือกคอแดง ถามจริงเถอะนกเงือกโดยทั่วไปอาศัยอยู่ในป่าประเภทใด บางคนบอกว่าน้ำท่วมโมโกจู ท่วมช่องเย็น พูดกันไป ระดับสันเขื่อน +210 ม.รทก
โมโกจู และช่องเย็น อยู่ที่ + 1,000 ม.รทก ครับ อย่างนี้ท่วมมั๊ยครับ
แค่นี้ก่อนนะครับ อยากให้พูดความจริงมากกว่านี้ครับ
ความเห็นที่ 9.1.1
ปล.ชื่อด้านบนเป็นชื่อจริงผมครับ เซิตเน็ทดูได้ผมประกอบหลายอาชีพครับ ^^
ความเห็นที่ 9.2
ในเมื่อผู้เชี่ยวชาญ ยังไม่ได้เลย :p
ตรรกะป่วยแล้วนะครับ
เมื่อคนมันเห็นแก่ตัว ก็ต้องมีอีกพวกมาคอยกันไงครับ
ความเห็นที่ 9.3
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 10.1
ว่าแต่เขื่อนขุนด่าน ใช้ที่น้อยกว่าเขื่อนแม่วงก์ 4 เท่า แต่เก็บน้ำได้เกือบเท่ากันเลยเชียวครับ ซึ่งการสร้างเขื่อนขุนด่าน ก็แสดงให้เห็นว่า ngo ไม่ได้ค้านมันไปเสียทุกเขื่อน อันไหนที่มันพอรับได้ ก็ไม่ได้มีใครว่าอะไร แต่บางเขื่อนที่มันสร้างในพื้นที่ๆน่าเสียดาย และมีข้อน่าสงสัยหลายประการ ก็จึงมีการนำข้อมูลมาถกกัน ผมว่าเป็นเรื่องที่ดีครับ
บทความนี้ที่ออกมา จริงๆผมก็ไม่ได้ว่ารู้ไปเสียทั้งร้อย ได้ข้อมูลจากตรงไหนก็เอามาใส่ไว้ ลองคำนวน ค้นหาตัวเลขที่น่าสนใจดู บทความของ siamensis.org มีช่องให้แสดงความคิดเห็นได้ คุยกันได้ แย้งได้ ไม่เห็นด้วยก็นำข้อมูลมาแรกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ยินดีที่สังคมไทยเป็นแบบนี้ครับ
ความเห็นที่ 10.1.1
"เขื่อนขุนด่าน ใช้ที่น้อยกว่าเขื่อนแม่วงก์ 4 เท่า แต่เก็บน้ำได้เกือบเท่ากันเลยเชียวครับ "...(ตอบ) เขื่อนขุนด้านฯสันเขื่อนสูงกว่าแม่วงก์ครับ
ความเห็นที่ 10.1.2
ความเห็นที่ 10.1.3
(ตอบ)
1.เว็บผม www.interpretationthailand.org มันเว็บโหลครับ อย่างต้ำ 3,300 บาท/ปี (ไม่ได้ค่าโฆษณานะครับ) คนรุ่นลุงมีใครเขาเล่นเว็บแบบลุงบ้างล่ะครับ ได้แค่นี้ก็บุญแล้ว อีกอย่างลุงไม่มีความรู้เรื่องเว็บแว๊บอะไรหรอกครับ...ได้แค่จิ้ม ๆ แจ้ม ๆ ไม่มีจิ้มแพ่ด ๆ นะครับ เพราะไม่มีตัง และไม่ได้เป็นเศรษฐีไร่อ้อยหรือโรงงานน้ำตาลกับเขา...ที่ลุงมาเล่นเรื่องเขื่อนแม่วงก์ก็เพราะสงสารชาวนาจะไม่มีน้ำทำนา ทำอ้อยส่งโรงงานครับ
2.ถามที่นี่น่าจะสะดวกที่สุดครับ ยินดีตอบครับ.
ความเห็นที่ 10.1.3.1
1. ในหน้าฝน สัตว์มีน้ำในป่ากินทั่วไปอยู่แล้วไม่ต้องลงมากินน้ำในเขื่อน
2. ในหน้าแล้ง น้ำในเขื่อนจะเป็นบ่อกระจุ๊กอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยพื้นที่โล่งๆ (ดูภาพเขื่อนทับเสลาในหน้าแล้งด้านบนประกอบ) ผมไม่เชื่อว่าสัตว์จะกล้าลงมากินน้ำ หรือลงมาแล้วจะปลอดภัยจากคนที่จะเข้าไปล่าได้ง่ายมากๆ
ส่วนเรื่องนกยูง ที่ผมถ่ายภาพมา เดินไปเดินมาอยู่แถวแก่งลานนกยูง เป็นนกยูงพันธุ์ไทยครับ ไม่ใช่พันธุ์อินเดีย หน้าสีเหลือง คอสีเขียว จุกบนหัวตั้งตรง ตัวเมียมีสีสันพอสมควร ชัดเจนมากว่าเป็นนกยูงไทย ถึงแม้ว่าจะเป็นนกยูงปล่อย แต่มันก็อยู่ได้แล้วในธรรมชาติ น่าจะสามารถแพร่พันธุ์ได้ในที่สุด และจะกลายเป็นแหล่งอาศัยของนกยูงไทยอีกแห่ง ที่จะเข้าถึงได้ง่ายมากครับ อีกข้อคือเจ้าหน้าที่บอกผมว่ามีนกยูงธรรมชาติมาร่วมอาศัยสมบทอยู่ด้วยครับ แสดงว่าพื้นที่ตรงนี้ยังเป็นแหล่งอาศัยของนกยูงธรรมชาติด้วย
ที่รับไม่ได้อีกอย่างคือ ลุงอย่ามองว่าคนต้านเขื่อน รักแต่สัตว์ แต่ป่า ไม่เห็นใจชาวบ้านสิครับ ผมเป็นคนไทย รักคนไทยอยู่แล้วครับ แต่ผมมองว่าโครงการนี้มันไม่ได้เป็นโครงการที่จะช่วยเหลือชาวบ้านได้จริงๆเลย และเป็นการใช้งบประมาณทั้งภาษีและเงินกู้สาธารณะอย่างไม่คุ้มค่าเอามากๆ มันน่าจะมีทางเลือกอื่นที่ทำให้คนก็มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยที่ป่าและสัตว์ป่าไม่ต้องเป็นผู้ "เสียสละ" ผมอาจจะด้อยปัญญาไม่สามารถที่จะร่ายออกมาได้ว่าเราจะต้องทำอย่างไรบ้าง แต่ผมเชื่อว่าบ้านนี้เมืองนี้มีคนเก่งมีความสามารถมากมาย
เรามีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งสอนให้มีการกักเก็บน้ำเป็นบ่อในที่ของตัวเองให้เพียงพอต่อการเพาะปลูก พื้นที่ตรงนั้นมีน้ำนะครับไม่ใช่ไม่มี ขุดบ่อเสียหน่อย หน้าน้ำ น้ำไหลมาลงเองเลยด้วยซ้ำ ในบ่อก็เลี้ยงปลาได้อีก
ความเห็นที่ 10.1.3.1.1
1. พื้นที่ชลประทานมี 299,000 ไร่ ชาวบ้านเฉลี่ยเป็นเจ้าของสักคนละ 10 ไร่ ก็จะมีแปลงเกษตรทั้งหมด 29,900 แปลงนะครับ
2. ค่าขุดดิน ย้ายถมในพื้นที่แถวนั้น ตกประมาณ 35 บาท/ลบ.ม. นะครับ งบประมาณ 13,000,000,000 ล้าน จะขุดดินได้ 371,428,571 ลบ.ม.
3. ซึ่งจะทำให้ (371,428,571/29,900) ได้บ่อน้ำที่มีความจุแปลงละ 12,422 ลบ.ม.
4. ข้าวใช้น้ำประมาณ 1,000 ลบ.ม./ไร่/ปี ถ้าชาวบ้านได้น้ำ 12,422 ลบ.ม. ต่อพื้นที่ 10 ไร่ ก็ทำนาข้าวได้สบายๆแล้ว ในบ่อยังเลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด มีรายได้เสริมอีก และข้อสำคัญคือไม่ต้องไปให้สัตว์ต้องมา "เสียสละ" พื้นที่ป่าให้คนเก็บน้ำด้วยครับ
ทั้งนี้ในปัจจุบันรัฐบาลก็มีโครงการให้เกษตรกรกู้ยืมเงินดอกเบี้ยต่ำมาพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ตัวเองอยู่แล้วนะครับ
ความเห็นที่ 10.1.3.1.1.1
อย่างผมทำไร่อ้อยกว่า 1000 ไร่/ปี ผมไม่เห็นต้องพึ่งพาน้ำจากเขื่อนเลย เพราะแถวที่ผมทำไม่มีเขื่อน ที่ดินบางแปลงจะมีลำน้ำธรรมชาติไหลผ่านก็ดีไป บางแปลงผมก็ขุดบ่อ น้ำก็ใช้ได้ทั้งปี
พวกผักผมก็ทำนะครับ อย่าง ต้นหอม ผักชี ที่ใช้น้ำเยอะๆ ผมก็ไม่เดือดร้อน แค่ยอมเสียพื้รที่สัก 2-3 ไร่ขุดสระน้ำ ก็มีน้ำใช้ตลอดทั้งปีแล้วครับ ไม่อยากอธิบายอะไรมาก ผมว่าเขื่อนไม่จำเป็นเท่าไรแค่นั้นจบ
ปล. ผมเกษตรกรจบ ปริญญาตรีนะครับ บอกไว้เผื่อบางคนจะหาว่าผมเป็นเกษตรกรโง่ไม่มีความรู้สะเออะ มาออกความเห็น ^^