องค์๋กรต่างชาติปล่อยตัวแตนเบียนจากทวีปอเมริกาใต้ เพื่อควบคุมเพลี้ยแป้งในประเทศไทย

แตนเบียนที่ปล่อยเป็นชนิด Anagyrus lopezi  ตามข่าวบอกว่าเป็นชนิดที่มาจากอเมริกาใต้ ปล่อยไปแล้ว 10,000 ตัวที่ขอนแก่น เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ข่าวบอกว่าถ้าประสพผลสำเร็จ(ไม่รู้ใช้อะไรวัด) จะปล่อยอีก 250,000 ตัว ซี๊ดดดดดด พี่น้องมีความคิดเห็นอย่างไรครับ?  แปลกใจที่ข่าวนี้ไม่มีออกมาในวงกว้าง ว่าแต่ของพวกนี้นึกจะปล่อยก็ปล่อย ไม่มีกฏหมายอะไรควบคุมเลยเหรอ?

http://www.bangkokpost.com/news/local/186602/african-wasps-let-loose-to-save-cassava

http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/187277/it-always-about-income-never-ecology

Comments

ความเห็นที่ 1

เดี๋ยวตอน มันแพร่กระจายทำความเสียหาย แล้วค่อยออกมาแจ้งเตือน และกำจัด(หมดหรือเปล่า)

ความเห็นที่ 2

ต่อไปนำเข้าตัวอะไรจากที่ใหนมาปราบต่อจากอเมริกาใต้นี้ดี
 

ความเห็นที่ 3

มันไม่ใช่"ต่อ"นะพี่  แต่มันเป็นแตนเบียน (parasitic wasp)

ความเห็นที่ 4

เจ้าพวกนี้เป็นแตนเบียนค่ะ

เค้าเอามากำจัดเพลี้ยแป้งที่ระบาดทำลายมันสำปะหลังของเกษตรกร

แบบว่ามีเพลี้ยแป้งอยู่ชนิดหนึ่งที่มันมีต้นกำเนิดจากอเมริกาใต้แล้วไประบาดที่แอฟริกา  จากนั้นที่แอฟริกาได้มีการใช้แตนเบียนชนิดนี้ และอีกหลายชนิด มาใช้ในการควบคุมเพลี้ยแป้ง ซึ่งก็ได้ผล

ไทยเราก็คงเห็นว่ามันมีประสิทธิ์ภาพ เลยลองปล่อยกระมัง

 

ส่วนรายละเอียดมากกว่านั้น ขอไปทำการบ้านซักหน่อยนะคะ

ความเห็นที่ 5

แล้วถ้าเจ้าแตนเบียนนี่มันไปทำลายตัวอ่อนของแมลงที่มีประโยชน์ ที่จำเป็นต่อการขยายพันธุ์พืชล่ะ จะเป็นยังไงนี่

ความเห็นที่ 6

ขอบคุณค่ะ

องค์กร หรือเปล่าคะ
 

ความเห็นที่ 7

นั่นสิ หากมีผลไปกระทบกับอย่างอื่น

หากเป็นผลเสีย มากกว่าผลดี คราวนี้หละยุ่งกันแน่

ความเห็นที่ 8

In general, parasitic wasp is specific to a host or few hosts. That means it will lay eggs in eggs/larva of one or few hosts. These hosts are pest. So, it's safe for crops and natural enemies.

ความเห็นที่ 9

เพลี้ยแป้งที่ระบาดในบ้านเรานี่เป็นเพลี้ยท้องถิ่นหรือเปล่าครับ?

 

ความเห็นที่ 10

ตอบทุกกระทู้ครับ ตามหลักการควบคุมแมลงศัตรูมีดวยกันหลายวิธีการ วิธีการนี้ก็ถือเป็นวิธีการหนึ่งซึ่งถือเป็นการควบคุมโดยชีววิธีที่เราเรียกกันว่า Classical biological control ซึ่งเป็นการเอาศัตรูธรรมชาติเช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน จากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง ในกรณีนี้เราก็ต้องใช้แตนเบียนซึ่งมีความความเฉพาะเจาะจงกับเพลี้ยแป้ง อีกอย่างหนึ่งเพลี้ยแป้งเหล่ามีต้นกำเนิดจากอเมริกาใต้เหมือนแตนเบียนเลยครับ เราจึงนำแตนเบียนเข้ามาควบคุม มันก็ไม่ได้สร้างปัญหากับสิ่งมีชีวิตอื่นนะครับ คือถ้าจะผิดก็คงผิดตั้งแต่มีการเล็ดลอดของแมลงศัตรูพืชเข้ามาในอดีตนะครับ บ้านเรามีแมลงต่างถิ่นมาอยู่มากมาย เช่น ด้วง ผีเสื้อ หรือแม้แต่ยุงลายนะครับ การใช้วิธีการเหล่านี้ก็ต้องกระทำได้ เพราะจะได้ควบคุมให้แมลงเหล่านั้นไม่ระบาดมากจนเกินระดับเศรษฐกินหน่ะครับ

ความเห็นที่ 10.1

โอเคครับ เคลียร์แล้วคราวนี้
 

ความเห็นที่ 11

เมื่อวานดูรายการ...(จำไม่ได้ แฮ่ะ) ช่องทีวีไทยค่ะ เห็นกรมส่งเสริมเกษตรฯ แนะนำให้ผู้ปลูกมันสำปะหลังเลี้ยงแมลงช้างปีกใส เพื่อปล่อยลงในไร่มันสำปะหลังที่มีเพลี้ยแป้งระบาด ... อย่างนี้แมลงช้างปีกใสจะทำสงครามแย่งชิงอาหารกับแตนเบียนรึเปล่าคะ

ความเห็นที่ 12

อย่างนี้นี่เอง ความรู้ใหม่ครับ ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 13

ทางเลือกของแมลงช้างปีกใส(ตัวห้ำ)มันมีมากกว่าอยู่แล้วครับ มันไม่แย่งอาหารกันหรอกครับ อาหารของแมลงช้างมีเยอะมากมายไม่ว่าจะเป็น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย ไรแดง ตัวหนอนน้อยๆ หรือแม้แต่เพลี้ยแป้งเองก็ตาม แต่แตนเบียน(ตัวเบียน)มันเฉพาะเจาะจงกับเพลี้ยแป้ง ถ้ามองแล้วมันจะน่าสนสารมากกว่าแมลงช้างปีกใสซะอีก ซึ่งมันก็เหมือนร่วมมือกันกำจัดศัตรูพืชมากมากกว่า (ห้ำ+เบียน) แต่ในทางปฏิบัติ มันมีปัจจัยในธรรมชาติอีกมากมายที่เราคุมมันนไม่ได้ หรือแม้กระทั่งการเพิ่มปริมาณแมลงช้างปีกใสให้มากพอสำหรับการควบคุมก็อาจต้องใช้เวลา ในมุมของผมก็คิดว่า ถ้ามีแมลงช้างปีกใสเพียงพอก็ไม่ต้องใช้แตนเบียนมาร่วมให้สิ้นเปลืองงบประมาณ ในกรณีนี้อาจจะเกิดการระบาดที่มากโขจนเข้าสู่วิกฤต จึงต้องหาทางเลือกอื่นเพิ่มเติมหน่ะ ก็ต้องติดตามผลกันต่อไป.....  

ความเห็นที่ 13.1

ขอบคุณค่ะ ^^
 

ความเห็นที่ 14

น่าจะเป็นอย่างที่มีผู้กล่าวมาทั้งหมด ยุคนี้คงไม่มีใครอยากถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้นำเข้าสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่มาทำลายสิ่งมีชีวิตในบ้านเราให้เสียชื่อกันง่ายๆ เหมือนก่อนหน้านี้แล้วละครับ

ความเห็นที่ 15

ก็หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น.... แค่เป็นห่วงเพราะของพวกนี้ พลาดแล้วมัน "อุ๊ย!เอาใหม่" ไม่ได้อ่ะ...มันพลาดแล้วพลาดเลย และแก้ยากด้วย

ความเห็นที่ 16

เห็นด้วยครับ แต่คงต้องให้เกียรติและเชื่อมั่นในศักดิ์ศรีของนักวิชาการไทยไว้ก่อน แม้ว่าจะไม่ค่อยแน่ใจนักก็ตามที

ความเห็นที่ 17

เฮ้อ เห็นชื่อ "ไรแดง" แล้วปวดหัว

ปลูกถั่วฝักยาวไว้ที่บ้าน แต่สู้ไรแดงไม่ไหว
 

ความเห็นที่ 18

สนใจถั่วฝักยาวสายพันธุ์บ้านๆไหมครับ ปลูกอยู่เหมือนกัน ไม่ค่อยมีตัวอะไรมากิน มาเจาะ มาไชฝักเลย อย่างมากก็ต้องระดับหนอนผีเสื้อมาแทะฝักนั่นแหละ ไว้ไปบางกอกจะเอาเมล็ดไปฝากครับ

ความเห็นที่ 18.1

ขอบคุณมากครับพี่ เอาครับ

เจ้าถั่วที่ผมปลูกนี่ สูงได้คืบเดียว ไรแดงมาแ้ล้วครับ มาไวมาก

พยายามใช้ยาล้างจานฉีดล้าง ก็ไม่หมดไม่สิ้นซะที

เอาชีวภาพฉีด ก็ไ่ม่ตาย

เอาเคมี S85 ฉีด ก็ไม่ตาย

ตอนนี้หันมาใช้น้ำยาล้างจานอีกที (ปลูกไม่เยอะ ล้างไหว)

ตอนนี้ว่าจะเอาน้ำมันฉีดแล้วจุดไฟแล้ว 555 ตายกันไปข้าง

ความเห็นที่ 19

 

เราต้องพึ่งต่างชาติอยู่เนืองๆ แม้แต่แมลงต่างชาติก็ด้วย 55

ความเห็นที่ 20

แหม..ก็ตัวที่ต้องปราบดันเป็นชาวต่างชาติด้วยนี่นา

ความเห็นที่ 21

มันสำปะหลัง ก็มาจากต่างเทศ เพลี้ยก้มาจากต่างประเทศ ตัวเบียนก็มาจากต่างเทศอีก

มึนจริงๆ ของไทยไม่ได้มีเอี่ยวอะไรด้วยเลยรึนี่