ปลาเอ๋ยปลาช่อน (รุ่นเด็กประถมต้น)

บททดสอบอ่านจับใจความ เรื่อง ปลาเอ๋ยปลาช่อน สำหรับเด็กชั้นประถม

ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดขนาดกลาง ลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก หัวมนกลม ปลาช่อนมีหางกลม และมีครีบกระโดงยาวเกือบตลอดด้านหลัง ในแต่ละภาคจะมีชื่อเรียกปลาช่อนแตกต่างกันไปเช่นในภาคเหนือจะเรียกว่าปลาหลิม ภาคอีสานเรียกว่าปลาค้อ ปลาช่อนชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง ที่มีพืชน้ำขึ้นปกคลุมมาก เช่น ตามหนอง บึง กุด และ บ่อน้ำต่างๆ และเป็นปลาที่สามารถหายใจอากาศได้โดยการใช้ปากหุบอากาศที่ผิวน้ำ ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่กินสัตว์ขนาดเล็กอื่นๆเป็นอาหาร จึงมีฟันที่แหลมคมขนาดเล็กๆมากมาย ตอนเป็นตัวเล็ก เราเรียกปลาช่อนว่าลูกครอก ลูกครอกจะมีลำตัวสีแดงส้มแล้วว่ายรวมกลุ่มกันโดยมีพ่อแม่คอยดูแลอยู่ตลอดเวลา ถ้ามีปลาตัวไหนจะมากินลูกปลาช่อนก็จะถูกพ่อแม่ขับไล่ไปทันที

เราสามารถจับปลาช่อนได้หลายวิธี เช่นการใช้เบ็ดตก แห หรือ การวางกับดักในรูปแบบต่างๆ และสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น เผา ทอด ตากแห้ง หรือ ต้มก็ได้ แต่การกินปลาช่อนต้องระวังเนื่องจากปลาช่อนมีก้างฝอยมาก จึงอาจจะติดคอได้ง่าย

ทดสอบความรู้เรื่องตั๊กแตน (มียากง่ายปนๆกันไปนะครับ)

ตั๊กแตน! ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คุณคิด

ทดสอบความรู้เรื่องแมลงขั้นพื้นฐาน.

มาดูกันว่าคุณรู้เกี่ยวกับแมลงมากน้อยเพียงใด.

คุณรู้จักแมลงปอดีแค่ไหน? (ระดับปกติ)

ทดสอบความรู้ปลาน้ำจืดไทย (ฉบับทั่วไป)

ปลาน้ำจืดไทยมีอยู่ประมาณ 700-800 ชนิดมาดูกันว่าคุณรู้จักพวกเขาดีแค่ไหน?

เขื่อนในมุมมองทางด้านสิ่งแวดล้อม

ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์
 
การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมใดๆก็ตาม มีผลดีก็ต้องมีผลเสีย ถึงแม้ว่าการสร้างเขื่อนจะช่วยมนุษย์ในหลายๆด้าน แต่ในอีกทางหนึ่งเขื่อนก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งย้อนกลับมาส่งผลกระทบต่อมนุษย์ในทางอ้อม ทั้งนี้ผลกระทบของเขื่อนต่อสิ่งแวดล้อมนั้นพอจะแบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลักๆ คือทางบก ทางน้ำ และ ทางอากาศ

รายงานแก้ไขปรับปรุงเว็บรุ่นใหม่

อ่านได้ทุกท่านครับ จะได้ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง โดยเฉพาะ Admin และ Advance User ทั้งหลายที่ดูแลหน้าปกและส่วนต่างๆของเว็บ มีของเล่นให้อีกเยอะครับ

 

ไฟล์: 

งานสัมมนาสัตว์ป่าเมืองไทย ครั้งที่ 34

ระหว่างวันที่ 19-20 ธค. 2556

รายละเอียดเพิ่มเติม

เชิญร่วมงาน Bangkok Wild Watch

วันเสาร์ที่ 14 ธค. ที่สวนรถไฟ
วันอาทิตย์ที่ 15 ธค. ที่สวนลุม

รายละเอียดเพิ่มเติม
 

ลาก่อน ดอนสะโฮง

เรื่อง : ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์