เชิญชวนชาวเมืองร่วมงาน “Bangkok Wild Watch @ Lumpini 2014”ร่วมตรวจสุขภาพกรุงเทพฯ เชิญชวนพากันมา สำรวจชีวิตป่าในเมืองหลวงวันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม 2557 เวลา 07.00 น. – 12.00 น.ณ ศาลาแปดเหลี่ยม สวนลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯรายละเอียดเพิ่มเติมhttp://www.seub.or.th/index.php?view=details_decode_entities("", "amp", ...
เหลียวหลัง แลหน้า สัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าคุ้มครองวันที่ 18-19 ธันวาคม 2557รายละเอียดเพิ่มเติมhttp://bioff.forest.ku.ac.th/main/?page_id=1108
โดย ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์2 ธันวาคม 2557
เรื่อง ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์
เรียบเรียง: ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์ภาพ: Fengren
อ่านข้อความด้านล่างแล้วจงตอบคำถามในหน้าถัดไป
ปลาค้อ เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ลำตัวกลมยาวคล้ายแท่งดินสอ มักพบอาศัยอยู่ในลำธารบริเวณต้นน้ำ ซึ่งน้ำไหลแรง ปลาค้อจะอาศัยหากินอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำโดยปลาค้อแต่ละชนิดก็จะมีพื้นที่หากินแตกต่างกันออกไป บางชนิดอาจชอบหากินอยู่ตามซอกหินในบริเวณที่น้ำไหลแรง ในขณะที่บางชนิดอาจจะชอบหากินอยู่ตามหาดทรายบริเวณที่น้ำค่อนข้างนิ่ง โดยปลาค้อจะกินสัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นๆเป็นอาหาร โดยเฉพาะตัวอ่อนของแมลงต่างๆที่อาศัยอยู่ในน้ำ ปลาค้อจึงมีส่วนในการช่วยควบคุมปริมาณแมลงไม่ให้มีเยอะจนเกินไปด้วย
ตามธรรมชาติของปลาที่อาศัยอยู่ตามลำธาร ปลาค้อจะเริ่มผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงปลายฤดูฝนหรือต้นฤดูแล้ง ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำเริ่มไหลไม่แรงจนเกินไปนัก เราจะสามารถพบลูกปลาค้อตัวเล็กๆได้ในช่วงฤดูแล้ง เมื่อถึงฤดูฝนซึ่งน้ำไหลแรงอีกครั้งลูกปลาก็โตพอที่จะดูแลตัวเองได้แล้วปลาค้อเป็นปลาที่มีความสวยงามและมีลวดลายหลากหลายที่สุดกลุ่มหนึ่งของไทย มีทั้งลายปล้อง ลายขวาง ลายเสือ และ ลายคล้ายยีราฟ ก็มี เราสามารถชมความสวยงามของปลาค้อได้ด้วยการใส่หน้ากากดำน้ำลงไปดูปลาค้อตามลำธารหรือน้ำตกต่างๆในช่วงที่น้ำใสในฤดูแล้ง หรืออาจจะนำมาเลี้ยงในตู้ก็ได้ ปลาค้อเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย แต่ต้องการน้ำที่สะอาด ระบบกรองที่ดี ถ้าหากใส่หินก้นตู้ให้หนาหน่อยและไม่มีปลาชนิดอื่นรบกวน ปลาค้อก็สามารถที่จะออกลูกในตู้ได้เช่นกัน นอกจากดูสวยงามแล้วชาวบ้านบางพื้นที่จับปลาค้อมากินเป็นอาหารเหมือนกัน แต่ก็ต้องระวังมีเขตอนุรักษ์ให้ปลาค้อได้ขยายพันธุ์ด้วย ไม่เช่นนั้นก็อาจจะหมดได้เหมือนกัน